กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดกำแพงเพชร
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ , วิสาหกิจขนาดกลาง , วิสาหกิจขนาดย่อมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้ประกอบการและผลการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การดำเนินธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 4) เพื่อประเมินกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดกำแพงเพชร เป็นการวิจัยและพัฒนา แหล่งข้อมูลประกอบด้วย ผู้ประกอบการและผลการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า วัตถุประสงค์ 1 และ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก วัตถุประสงค์ 3 กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 7 กลยุทธ์ และวัตถุประสงค์ 4 ผลการประเมินกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดกำแพงเพชร พบว่า วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ มาตรการ และตัวชี้วัด มีความสอดคล้องกันในระดับมากถึงมากที่สุด
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณิศร อุ่นเเสงจันทร์. (2564). คุณลักษณะของผู้ประกอบการและกลยุทธ์ที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 7(1), 618-629.
ชัยนาท ชัยมะลิ และสืบชาติ อันทะไชย. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 14-28.
ชาญศักดิ์ เกิดสุข. (2565). รูปแบบกลยุทธ์ในการบริหารจัดการของส่วนประสมทางการตลาดในการดำเนินธุรกิจของ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคไทยแลนด์ 4.0 ในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 8(1), 366-379.
ธนาคารทหารไทยธนชาติ. (2566). ttb analytics ประเมินปี 2566 ถึงเวลาผู้ประกอบการไทย...ต้องลงทุน. สืบค้น 7 มีนาคม 2566, จากhttps://www.ttbbank.com/th/newsroom/detail/economic-expansion-2566
ธีทัต ตรีศิริโชติ. (2564). การศึกษาคุณลักษณะของผู้ประกอบการด้านการพัฒนาระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ต่อการดำเนินธุรกิจ (รายงานวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ไพฑูรย์ อินต๊ะขัน, อนุรักษ์ อาทิตย์กวิน, อารยา อริยา, กรรณิการ์ สายเทพ, จีราภรณ์ พงศ์พันพัฒนะ, จารุวรรณ ลิมป์ไพบูลย์ และณัฏฐ์ดนัย ประเทืองบริบูรณ์. (2565). การพัฒนาข้อกำหนดเฉพาะการจัดการธุรกิจในอุตสาหกรรมเซรามิกจังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 4(2), 108-123.
ลินดา ทําดี และฉัตรรัชดา วิโรจน์รัตน์. (2564). กลยุทธ์การบริหารสมัยใหม่ที่มีต่อความสําเร็จในการดําเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนกลาง. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 14(2), 77-88.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2564). ผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่. สืบค้น 7 มีนาคม 2566, จาก http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2022/02/14_NS-08_140265.pdf
เสาวลักษณ์ จิตติมงคล. (2563). แนวทางการพัฒนาความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SME กลุ่มบริการ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(1), 207-221.
Boone, L. E., Kurtz, D. L., & Berston, S. (2019). Contemporary Business (18th ed). New York: John Wiley & Sons.Coulter, M. (2012). Strategic Management in Action. New Jersey: Pearson.
Frese, M. (2000). Success and Failure of Microbusiness Owners in Africa: A Psychological Approach. United States of America: Praeger
Hashim, M. K. (2000). A Propose Strategic Framework for SMEs Success. Malaysian Management Review, 35(2), 22-43.
Kotler, P. & Keller, L.K. (2014). Marketing Management (15th ed). New Jersey: Pearson Education.
Kuratko, D. F., & Hodgetts, R. M. (1989). Entrepreneurship: A Contemporary Approach. Chicago: Dryden Press
Papanek, G. G. (1991). The development of entrepreneurship, entrepreneurship and economic Development. New York: The Free Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง