การพัฒนาเว็บเซอร์วิสระบบแจ้งซ่อมปรับปรุงหอพักวินัย
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบ , เว็บเซอร์วิส , แจ้งซ่อม , หอพักบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาเว็บเซอร์วิสระบบแจ้งซ่อมปรับปรุงหอพักวินัย 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพระบบแจ้งซ่อมภายในหอพัก และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ระบบแจ้งซ่อมภายในหอพัก ด้วยแนวทางการพัฒนาระบบผู้วิจัยเลือกใช้ภาษา HTML ร่วมกับฐานข้อมูล Google Sheets และส่วนติดต่อผู้ใช้งานใช้ภาษา HTML, CSS, Bootstrap และ Google App Script เพื่อรองรับการทำงานเว็บเซอร์วิส เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินประสิทธิภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน และแบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้พักอาศัย แม่บ้านประจำหอพัก ธรุการ และช่างซ่อมบำรุงหอพัก จำนวน 33 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบแจ้งซ่อมภายในหอพักหอพักวินัยผ่านเว็บเซอร์วิส ลดขั้นตอนในการประสานงาน ลดการสัมผัสใกล้ชิดของผู้ใช้งาน และมีระบบแจ้งเตือนไปยังช่างประจำหอพักได้ในทันที 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบของผู้เชี่ยวชาญโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.88, S.D.=0.214) และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.70, S.D.=0.156) มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจสมัยใหม่ด้วยเทคโนโลยี
เว็บเซอร์วิส
References
เกียรติศักดิ์ ลุยทอง. (2561). การพัฒนาระบบเฝ้าระวังภัยคุกคาม ตรวจหาการบุกรุกและแจ้งเตือนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก (สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์. (2552). ข้อคำนึงในการสร้างเครื่องมือประเภทมาตรประมาณค่า (Rating Scale) เพื่องานวิจัย. สืบค้น 25 กันยายน 2565, จาก http://krupee.blogspot.com/2009/09/rating-scale.html
เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (2559). ระเบียบวิธีวิจัย. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ธนกฤต ผงผ่าน และประยงค์ ฐิติธนานนท์. (2561). การพัฒนาระบบบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครือข่ายออนไลน์ ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 15(2), 75-83.
นันธิรัตน์ หอมจันทร์จีรัง. (2565). ประสิทธิภาพการใช้โปรแกรม Google Sheet ของกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ สำหรับผู้ปฏิบัติงาน. สืบค้น 25 กันยายน 2565, จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/vlt15-1/6114993692.pdf
ประทีป เทพยศ และอภิรมย์ อังสุรัต. (2564). การพัฒนาและประเมินระบบแจ้งซ่อมบำรุงครุภัณฑ์ออนไลน์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย, 8(2), 1-12.
รัตยากร ไทยพันธ์, วลัยภรณ์ ศรเกลี้ยง, ชวัลรัตน์ ศรีนวลปาน, วีระยุทธ สุดสมบูรณ์, ฉัตรชัย แก้วดี และธิดารัตน์ ทองเทียบ. (2564). การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันสำหรับการแจ้งซ่อมภายในหอพักนักศึกษา. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์สาขาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี, 16(1), 71-85.
วิศณุสิทธิชัย สุนัยนา, ไชยพา อรบุษป์รัตนกาญจน และวรรัตน จงไกรจักร. (2564). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับร้านเลิฟบอลลูนภูเก็ต. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ม.อ.ตรัง. วิจัย ครั้งที่ 10 (น. 453 – 462). ตรัง: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง.
วชิระ เจนวิทยาอมรเวช. (2564). การพัฒนาระบบสารสนเทศผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ระดับบัณฑิตศึกษา กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สาวิตรี วงษ์นุ่น. (2563). การประยุกต์รูปแบบ ICT แจ้งเตือนสารสนเทศด้วยเทคนิค Line Notify API ในสถานการณ์ COVID-19. วารสารวิชาการ ปขมท, 9(3), 178 – 187.
อภิวัฒน์ วงศ์กัณหา. (2564). มือใหม่เริ่มต้นเรียนรู้ Google App Script สืบค้น 27 มกราคม 2565, จาก https://digilearn-academy.com/wp-content/uploads/2021/08/พื้นฐานการเขียนคำสั่ง-App-Script.pdf
Expert Training. (2565). Web Service คืออะไร. สืบค้น 27 มกราคม 2565, จาก https://www.9experttraining.com/articles/web-service-คืออะไร
Mindphp. (2565). Bootstrap คืออะไร. สืบค้น 27 มกราคม 2565, จาก https://www.mindphp.com/คู่มือ/73-คืออะไร/3963-bootstrap.html
Mindphp. (2565). Google Sheets (กูเกิล ชีต) คืออะไร. สืบค้น 27 มกราคม 2565, จาก https://www.mindphp.com/บทความ/google-sheet/4980-googlesheets.html
Stair, R. M. (1996). Principles of information systems - A Managerial Approach (2nd ed.).USA: International Thomson.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง