การศึกษาความต้องการของลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับช่องทางการตลาด ในตราสินค้าพิบูลมาร์เก็ต: กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • พัสกร ลี้วิศิษฏ์พัฒนา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • นภาภรณ์ อุ่นปรีชาวณิชย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ยรรยงวรกร ทองแย้ม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • สิขรินทร์ คงสง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

ความต้องการของลูกค้า , ช่องทางการตลาด , พิบูลมาร์เก็ต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะด้านพฤติกรรมและความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนภายใต้โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามภายในพื้นที่พิษณุโลกและสุโขทัย เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,500 ชุด ผลการวิจัยพบว่า ส่วนมากเป็นกลุ่มผู้หญิง ช่วงอายุ 20–29 ปี และซื้อสินค้าประเภทอาหารมากที่สุด ร้อยละ 53.50 โดยให้ความสำคัญด้านคุณภาพมากที่สุด ร้อยละ 42.30 นอกจากนี้สินค้าที่กลุ่มตัวอย่างสนใจซื้อเป็นอันดับที่ 1 คือ ผลิตภัณฑ์หมี่กรอบ และส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อมากที่สุด คือด้านสิ่งที่ปรากฎทางกายภาพ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 อยู่ในระดับมาก โดยประเด็นที่ให้ความสำคัญคือมีเจ้าหน้าที่แก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว รองลงมาคือ ด้านกระบวนการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 โดยประเด็นที่ให้ความสำคัญคือมีสิ่งอำนวยความในการค้นหาผลิตภัณฑ์ที่สนใจซื้อ เช่น เว็บไซต์ เพจเฟซบุ๊ก เป็นต้น และอันดับที่สามคือ ด้านบุคลากร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 อยู่ในระดับมาก โดยประเด็นที่ให้ความสำคัญคือพนักงานควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ และจากการสำรวจเกี่ยวกับการสนับสนุนในการซื้อสินค้าผ่านระบบจำหน่ายสินค้าออนไลน์ตราสินค้าพิบูลมาร์เก็ตส่วนใหญ่สนใจซื้อร้อยละ 97.7 โดยผลการศึกษาสามารถช่วยเป็นแนวทางในการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจำหน่ายสินค้าชุมชนต่อไป

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. สืบค้น 30 ธันวาคม 2565, จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf

กฤษณะ หลักคงคา. (2564). ช่องทางการตลาดสำหรับธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ในยุคโควิด-19. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(3), 318-336.

เกวลิณ อังคณานนท์ และถนอม ห่อวงศ์สกุล. (2564). แนวทางการทำการตลาดออนไลน์สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 8(2), 171-202.

กิรพัฒน์ เขียนทองกุล, วรัญญู เสนาสุ และจักรกฤษ กมุทมาศ. (2564). นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย: บทวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสถาบันระหว่างหน่วยงานของรัฐ. วารสารปาริชาต, 34(1), 192-205.

ชญาดา สมศักดิ์. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้ายี่ห้ออิเกียของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล (ค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นัทธมน เดชประภัสสร. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางอินเทอร์เน็ต (ค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประพล เปรมทองสุข. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อโฟมล้างหน้าแบบโคลนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(3), 1027-1039.

ปิยมาภรณ์ ช่วยชูหนู. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์ (ค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปุญญิสา สมฟองทอง. (2558). ปัจจัยส่วนประสมการตลาด การคำนึงต่อการดูแลสุภาพด้านความงามและการรับรู้ความความแตกต่างที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อครีมบำรุงผิวหน้า (ค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พัสกร ลี้วิศิษฏ์พัฒนา. (2561). ผลกระทบของการตลาดโดยใช้สาเหตุของปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาของนักศึกษาคณะ วิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 8 (ฉบับพิเศษ), 120-131.

ภาคภูมิ ภัควิภาส และรัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร. (2559). กระบวนการตัดสินใจซื้อและความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เชิงหัตถกรรมประเภทไม้แกะสลัก กรณีศึกษา บ้านถวาย ตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. ใน โครงการการประชุมวิชาการทางบริหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์ ระดับชาติ ครั้งที่ 2 (น.36-47). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

ธารนันท์ สุโนภักดิ์ และมนตรี วิบูลยรัตน์. (2557). ปัจจัยด้านการตลาดบริการและพฤติกรรมที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้านำเข้าภายในซุปเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(2), 74–84.

ธันยาภรณ์ ครองยุติ. (2559). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของประชาชนในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีย์รัตน์, องอาจ ปทะวานิช และปริญ ลักษิตานนท์. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีย์รัตน์, องอาจ ปทะวานิช และปริญ ลักษิตานนท์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2550). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สลิตตา สารีบุตร. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์-ออฟไลน์ เพื่อซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนของลูกค้าเจนเนอเรชั่นวาย. RMUTT Global Business and Economics Review, 16(2), 65-87.

สุชาดา พุทธรักษา. (2560). ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในโครงการดิจิทัลชุมชนด้าน e-Commerce. สืบค้น 30 ธันวาคม 2565, จาก http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2560-2561/PDF/8567e/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1.pdf

สุธาวัลย์ สัจจสมบูรณ์ และภูษณิศา เตชเถกิง. (2559). กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ผ้าไหมยกดอก OTOP 5 ดาวของผู้ประกอบการในจังหวัดลำพูน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 10(3), 41-54.

อรดา รัชตานนท์. (2563). ผลกระทบจากธุรกิจ e-commerce ต่อผู้ประกอบการท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย

อารยา เสือเดช. (2559). กระบวนการส่งเสริมการขายสินค้าชุมชนผ่านช่องทางระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กรณีศึกษา: วิสาหกิจชุมชนสายบัว (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Almehairi, M., & Bhatti, T. (2014). Adoption of virtual shopping: Using smart phones and QR Codes. Journal of Management and Marketing Research, 17(1), 1-12.

Etzel, M. J., Walker, B. J., & Stanton, W. J. (2001). Marketing Management. Boston: McGraw-Hill.

Hair, J., Black, W., Babin, B., Anderson, R., & Tatham, R. (2006) Multivariate Data Analysis (6th ed.). New Jersey: Pearson Prentice.

Kotler, P. & Armstrong, G. (2003). Marketing: an introduction. Mexico: Pearson Educación.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25

How to Cite