อิทธิพลของการรับรู้คุณภาพบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ ความไว้วางใจทางเล็กทรอนิกส์ และการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจในการบริจาคเงินให้วัดของประชาชน ผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • พระศุภกร มหาวีโร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • บุญฑวรรณ วิงวอน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

การรับรู้คุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์ , ความไว้วางใจอิเล็กทรอนิกส์ , การยอมรับเทคโนโลยี, การตัดสินใจของประชาชน , ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสำคัญของการรับรู้คุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์
ความไว้วางใจทางอิเล็กทรอนิกส์ การยอมรับเทคโนโลยีและการตัดสินใจในการบริจาคเงิน และ 2) ศึกษาอิทธิพลของการรับรู้คุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์ ความไว้วางใจทางอิเล็กทรอนิกส์และการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจในการบริจาคเงินให้วัดของประชาชนผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ อำเภอเมืองลำปาง
จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่เคยบริจาคเงินและอาศัยอยู่ในจังหวัดลำปาง จำนวน 384 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนาเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์และการถดถอยพหุคูณ ด้วยเทคนิคการนำเข้าทั้งหมดผลวิจัยพบว่าทุกปัจจัยมีความสำคัญระดับมาก ปัจจัยที่สำคัญอันดับแรก คือ  การยอมรับเทคโนโลยี รองลงมา คือ การรับรู้คุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์ ความไว้วางใจทางอิเล็กทรอนิกส์ และการตัดสินใจ และ ความไว้วางใจทางอิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมากที่สุด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณเท่ากับ 0.457 รองลงมา คือ การยอมรับเทคโนโลยีทางอิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณเท่ากับ 0.426 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนการรับรู้คุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์ไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการบริจาคเงินให้วัดของประชาชนผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์

Author Biographies

พระศุภกร มหาวีโร, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

 

 

 

บุญฑวรรณ วิงวอน, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

 

 

References

กรมสรรพากร. (2564). คู่มือระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) เวอร์ชั่น 2. สืบค้น 29 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.chula.ac.th/wp-content/uploads/2019/10/ManualeDonationV2.pdf

ณัทฐาพร ภู่ระหงษ์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการการเงินส่วนบุคคลด้วยแอปพลิเคชันธนาคารในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 4(3), 116-130

พิชชาภา ใบศรี. (2562). การตัดสินใจใช้งานระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ e-Money (Electronic Money) ในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้น 29 กรกฎาคม 2565, จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/vlt15-2/6114993299.pdf

ภวัต นิธิโชติภาคิน. (ม.ป.ป.). ปัจจัยและนโยบายที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริจาคเงินผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation). สืบค้น 10 สิงหาคม 2565, จาก https://econ.nida.ac.th/wp-content/uploads/2021/05/4-10-Abstract-6210323028.pdf

ภานุพงศ์ ลือฤทธิ์. (2560). คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ในการสร้างความพึงพอใจของผู้ใช้งาน: กรณีตัวอย่างของแอปพลิเคชันกระเป๋าเงินบนโทรศัพท์มือถือ (การค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มัณฑนา โพธิ์แก้ว. (2550). ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

มานัส ตัญญาภักดิ์ และชฎาพร ฑีฆาอุตมากร. (2561). การเปรียบเทียบระบบการบริจาคในรูปแบบกระดาษกับ e-Donation เพื่อใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเงินได้ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2565). Digital Disruption และมาตรการรับมือด้าน HR ของภาครัฐ. สืบค้น 29 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/digital_disruption-article-ocsc-feb2020.pdf

Ajzen, I. (1985). From intention to actions: A theory of planned behavior. Action control: From cognition to behavior. Berlin: Springer-Verlag.

Ajzen, I., & Fishbein, M. (1980). Understanding Attitudes and Predicting Social Behavior. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Barnard, C. I. (1938). The functions of the executive. Cambridge, MA: Harvard University Press.

Best, J. W. (1977). Research in Education (3rd ed). New Jersey: Prentice-Hall.

Corbitt, B. J., Thanasankit, T., & Yi, H. (2003). Trust and e-commerce: a study of consumer perceptions. Electronic Commerce Research Applications, 2(3), 203-215.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 319-340.

Davis, F. D., Bagozzi, R. P., & Warshaw, P. R. (1989). User Acceptance of Computer Technology: A Comparison of Two Theoretical Models. Management Science, 35(8), 982-1003.

Gefen, D., Karahanna, E., & Straub, D. W. (2003). Trust and TAM in online shopping: An integrated model. MIS Quarterly, 27(1), 51-90.

Gefen, D., & Straub, D. W. (2004). Consumer trust in B2C e-Commerce and the importance of social presence: experiments in e-Products and e-Services. Omega, 32(6), 407-424.

Johnston, E. (2013). 5 Steps to Understanding Your Customer’s Buying Process. Retrieved July 29, 2022, from https://www.b2bmarketing.net/en-gb/resources/blogs

Kim, J., & Lee, J. (2006). Critical design factors for successful e-commerce systems. Behavior & Information Technology, 21(3), 185-199.

Kotler, P. (2000). Marketing Management (10th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Li, Y., Tan, K. C., & Xie, M. (2002). Measuring web-based service quality. Total quality management, 13(5), 685-700.

Maslow, A. H. (1987). Motivation and personality (3rd ed.). Harper & Row Publishers.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. (2005). ES-QUAL: A multiple-item scale for assessing electronic service quality. Journal of Service Research, 7(3), 213-233.

Rovinelli, R.J. & Hambleton, R.K. (1976) On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-Referenced Test Item Validity. Washington: Educational Resources Information Center.

Simon, H. A. (1960). The New Science of Management Decision. Harper & Brothers. Retrieved 07 29, 2022, from https://doi.org/10.1037/13978-000

Simon, H. A. (1966). Administrative Behavior: A Study of Decision Making Process in Administrative Organization. Toronto: The Free Press.

Stewart. (1999). Empowering People. London: Pitman publishing.

Venkatesh, V., Morris, M.G., Davis, G.B., & Davis, F.D (2003). User acceptance of information technology: Toward a unified view. MIS Quarterly, 27(3), 425-478.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-10

How to Cite

มหาวีโร พ., & วิงวอน บ. . (2023). อิทธิพลของการรับรู้คุณภาพบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ ความไว้วางใจทางเล็กทรอนิกส์ และการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจในการบริจาคเงินให้วัดของประชาชน ผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 5(1), 114–128. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/264683