การพัฒนาผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์ทางการตลาด วิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานผักตบชวา อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ทัตพงศ์ นามวัฒน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ธนพร จนาพิระกนิฎฐ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ , กลยุทธ์ทางการตลาด , วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการดำเนินงาน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตราผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ และจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการตลาดของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานผักตบชวา อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เป็นกลุ่มกับคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานผักตบชวา 10 รายเพื่อศึกษาศักยภาพการดำเนินงาน และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตราผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ จากนั้นประเมินผลการพัฒนาโดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวและประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีแบบบังเอิญ จำนวน 385 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผลิตภัณฑ์กระเป๋าผักตบชวารูปแบบใหม่ที่มีการผสมผสานลายผ้าปักสามารถสร้างเอกลักษณ์โดดเด่นได้ และผู้บริโภคเห็นด้วยกับผลิตภัณฑ์ ตราผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นใหม่ในระดับมาก และการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการตลาดของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานผักตบชวา โดยใช้เทคนิค TOWS Matrix และกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จด้วย Balanced Scorecard ประกอบด้วยกลยุทธ์ 4 ด้าน ซึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญคือกลยุทธ์เชิงรุก อาทิ การพัฒนาสินค้าใหม่และการเพิ่มช่องทางจำหน่ายออนไลน์เพื่อขยายกลุ่มลูกค้า ซึ่งเมื่อวิสาหกิจชุมชนเพิ่มช่องทางจำหน่ายออนไลน์ 2 ช่องทาง ทำให้มีรายได้ต่อเดือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับการจำหน่ายแบบออฟไลน์เพียงช่องทางเดียว

References

กฤษณะ ดาราเรือง. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์ทางการตลาดวิสาหกิจชุมชนบ้านเขาแหลม จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสุทธิปริทัศน์, 31(100), 130-143.

จักรพันธ์ จันทร์หอม และภัทรธิรา ผลงาม. (2562). การวิจัยและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนในกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านสว่างธรรมวิเศษ ตำบลบ้านน้ำอ้อม อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(1), 276-288.

ชุติมันต์ สะสอง. (2560). การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและบทบาทของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP ในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจชุมชนด้วยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 6(1), 24-36.

ณกฤติกา ทรัพย์พ่วง, วิจิตรา ศรีสอน และศิโรตม์ ภาคสุวรรณ. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อ การอนุรักษ์งานจักสานผักตบชวา กรณีศึกษา ตำบลสรรพยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(3), 874-890.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565). มองเศรษฐกิจปี 65 ฟ้าหลังฝนโควิด 19?. สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_7Dec2021.aspx

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565). ผลกระทบจากธุรกิจ e-commerce ต่อผู้ประกอบการท้องถิ่น. สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/AAA/ECommerce_paper.pdf

เบญจรงค์ สวัสดิ์พาณิชย์. (2565). บทบาทของรัฐในการส่งเสริมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม พ.ศ. 2540-2563. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 5(1), 97–110.

พิบูล ทีปะปาล. (2551). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

รัชนิกร กุสลานนท์, ชฎาพัศฐ์ สุขกาย และอนันต์ แก้วตาติ๊บ. (2564). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นถิ่นเพื่อยกระดับอัตลักษณ์และเพิ่มมูลค่าสินค้าทางวัฒนธรรมชุมชนเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 13(1), 16-30.

วันดี ตันติ๊บ. (2565, 19 กุมภาพันธ์). ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานผักตบชวา. สัมภาษณ์.

วัลลภา วิชะยะวงศ์. (2564). แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การแข่งขันของธุรกิจส่งออกผักและผลไม้ในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 8(2), 81-97.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย. (2565). บทบาทหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://chiangrai.cdd.go.th/about-us/vision-mission-province

อุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์ และณภัทชา ปานเจริญ. (2563). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดด้วยเทคโนโลยีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมไทยแลนด์ 4.0 สำหรับวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุรินทร์. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 15(1), 94-108.

Aslan, I., Cınar, O., & Kumpikaite, V. (2012). Creating strategies from tows matrix for strategic sustainable development of Kipas Group. Journal of Business Economics and Management, 13(1), 95-110.

Bennis, W., & Nanus, B. (1985). The Strategies for Taking Change. New York: Harper and Row.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wilay & Sons.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (1996). Strategic Learning & The Balanced Scorecard. Strategy & Leadership, 24(5), 18-24.

Kotler, P. (1998). Marketing Management: Analysis, Planning and Control. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Kotler, P. (2001). Marketing Management, Millenium Edition (10th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Kotler, P. (2003). Marketing Management (11th ed.). New Jersey: Pearson Education.

Likert, R. (1967). The Human Organization: Its Management and Value. New York: McGraw-Hill Book.

McCarthy, E. J., Shapiro, S. J., & Perreault, W. D. (1979). Basic marketing. Georgetown, Canada: Irwin-Dorsey.

Porter, M. E. (1991). Towards a Dynamic Theory of Strategy. Strategic Management Journal, 12(S2), 95-117.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Saridvanich, S. (2010). Strategic management: Concept and Theory. Bangkok: Thammasat University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-23

How to Cite