คุณลักษณะเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ ของนักท่องเที่ยวต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
คุณลักษณะเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ , ความพึงพอใจ , แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 6 ประการ และ 2) ศึกษาคุณลักษณะเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดเชียงราย โดยการเก็บข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักท่องเที่ยวที่มีประสบการณ์ท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดเชียงราย จำนวน 227 คน โดยใช้โปรแกรม G*Power3.1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษา พบว่า 1) ความคิดเห็นของ ด้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรเน้นเอกลักษณ์เฉพาะตัว อยู่ในระดับมาก (=4.40, S.D.=0.549) รองลงมาคือด้านนักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในกิจกรรมระดับมาก (=4.39, S.D.=0.608) ถัดมาคือด้านสินค้าหลักของแหล่งท่องเที่ยวระดับมาก (=4.38, S.D.=0.550) ด้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรเน้นวัฒนธรรมประจำวันระดับมาก (=4.29, S.D.=0.641) และด้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรเน้นทรัพยากรการท่องเที่ยวที่จับต้องไม่ได้ระดับมาก (=4.21, S.D.=0.701) แต่ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวภายในแหล่งท่องเที่ยวระดับปานกลาง (=3.47, S.D.=0.825) 2) ตัวแปรอิสระที่ส่งผลต่อความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ระดับมาก (=4.27, S.D.=0.589) คือด้านสินค้าหลักของแหล่งท่องเที่ยว ด้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรเน้นทรัพยากรการท่องเที่ยวที่จับต้องไม่ได้ ด้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรเน้นวัฒนธรรมประจำวัน และด้านด้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรเน้นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของท้องถิ่นที่นัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 และยังสามารถพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของจังหวัดเชียงรายให้สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวได้
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). สถิติด้านการท่องเที่ยวปี2564. สืบค้น 29 มีนาคม 2566, จาก https://www.mots.go.th/news/category/628
ขวัญลดา ธีร์ธนังกูร คะนึงรัตน์ คำมณี จิรัฐินาฏ ถังเงิน และพันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง. (2564). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรไผ่ขตองตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม.วารสารวิทยาศาตร์เกษตรและการจัดการ, 3(3), 38-45
เพียงใจ คงพันธ์ และภัทราวรรณ วังบุญคง. (2564). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวเขาศูนย์จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 12(1), 15-29.
วันวิสาข์ พลอย อินสว่าง ดุสิตพร ฮกทา และอัญชิษฐา กิ้มภู่. (2564). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ ในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดตรังอย่างมีส่วนร่วม. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่13 (น.2394). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
วุฒิชัย อารักษ์โพชฌงค์ และประสพชัย พสุนนท์. (2556). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความสุขในการทำงานที่มีต่อการดำเนินงานด้านนวัตกรรมของบุคลากร คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย, 10(1), 90-105.
สุจิตรา หนูมี (2562). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษาอำเภอ เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2561). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. สืบค้น 6 พฤศจิกายน 2565, จากhttps://www.dasta.or.th/uploads/article/202107/ 1626097803_fa2ff35eb41a4fcc3ac2.pdf
Binkhorst, E. (2006). The co-creation tourism experience. In XV International Tourism & Leisure Symposium 2006. Barcelona: Persona Ciencia Empresa Universitat Ramon Llull.
Buhalis, D. (2000). Marketing the competitive destination of the future. Tourism management, 21, 97-116.
Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G. (2009). Statistical power analyses using G* Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior research methods, 41(4), 1149-1160.
Hair, J. F., Ortinau, D. J., & Harrison, D. E. (2010). Essentials of marketing research (Vol. 2). New York: McGraw-Hill
Hung-Che Wu, Chi-Han Ai, & Ya-Yuan Chang. (2021). RETRACTED ARTICLE: What drives experiential persistence intentions: The case of gay tourism. Journal of China Tourism Research, 18(4), DOI: 10.1080/19388160.2021.1904078
Richards, G. (2010). Creative Tourism and Local Development. In Creative tourism: A global conversation. United States: Sunstone Press.
Richards, M. D., Fetter, R. B., Flippo, E. B., Roman, C., & Stockton, R. S. (1961). Report of Membership Committee. Academy of Management Proceedings, 1961(1), https://doi.org/10.5465/ambpp.1961.27709474
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง