การพัฒนาระบบการจองผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเพื่อวางแผนการผลิต
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบ, การจองเมล็ดพันธุ์, การวางแผนการผลิต, ระบบการจอง, เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และออกแบบระบบการจองผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด เพื่อวางแผนการผลิต 2) พัฒนาระบบการจองบนระบบออนไลน์ 3) ประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบ ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน และมีผู้ประเมินประสิทธิภาพ การทำงานของระบบ จำนวน 31 คน โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการใช้งานระบบ สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาระบบการจองผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเพื่อวางแผนการผลิต สามารถช่วยจัดการและวางแผนการผลิตได้เป็นอย่างดี ผู้ใช้งานสามารถบันทึกข้อมูลการจอง ค้นหาข้อมูลจากระบบ และสามารถนำข้อมูลมาวางแผนการผลิตได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว โดยเครื่องมือที่ใช้พัฒนาได้แก่ Microsoft Power Platform ซึ่งประกอบไปด้วย Microsoft SharePoint, Power Apps และ Power BI โดยผู้ใช้งานมีความคิดเห็นต่อการใช้งานระบบในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.98, S.D.=0.69) ซึ่งมีความพึงพอใจในระดับมากเช่นกัน ซึ่งระบบนี้ช่วยให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตทราบข้อมูลการจองและนำไปวางแผนกิจกรรมของแปลงผลิตได้อย่างถูกต้อง ลดปัญหาความล่าช้า ลดความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูล ทำให้บริษัทมีการวางแผนการผลิตที่ดี สามารถช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงาน และช่วยผู้บริหารตัดสินใจวางแผนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
คมสันติ มหาสุข, สุภาภรณ์ เขียวงาม และจินดา คำจริง. (2565). การพัฒนาระบบเว็บไซต์ร้านซื้อ-ขายอาหารสัตว์ออนไลน์. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 4(1), 18-31.
ไชยยศ ไพวิทยาศิริธรรม. (2562). เทคโนโลยีสำหรับการวิจัยในยุคสารสนเทศ: เครื่องมือสำหรับงานวิจัย (รายงานการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ถกลวรรณ อุดมศรี. (2559). ข่าวกรองธุรกิจอัจฉริยะผ่านอุปกรณ์โมบายบนระบบคลาวด์กรณีศึกษาไมโครซอฟท์พาวเวอร์บีไอ (รายงานการวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธนพจน์ ตันติสุขุมาลย์. (2563). การพัฒนาระบบคืนสินค้าของลูกค้าโดยใช้โปรแกรม Power App (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
นันท์สินี มุ่นเชย, สุนันท์ ธาติ และศุภเชษฐ์ กันทะณีย์. (2563). การออกแบบและพัฒนาส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งานสำหรับแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่แนะนำการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวภายใต้โครงการเรารักเชียงใหม่ (We love Chiang Mai). วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2(2), 1-12.
หทัยพร หวังเชย และณัฐพร นันทจิระพงศ์. (2561). ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการรายงานการดำเนินงานของโรงแรมด้วย Power BI (รายงานการวิจัย). สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
เอกชัย เนาวนิช และณมน จีรังสุวรรณ. (2560). การพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารในการก้าวสู่อาชีพอย่างสากลของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (รายงานการวิจัย). กรุพเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Arit. (2565). ทำไมคนส่วนใหญ่เลือกใช้งานโปรแกรม Power BI. สืบค้น 23 มกราคม 2565, จาก https://www.arit.co.th/topic/power-bi
Macaw. (2565). องค์ประกอบของ Microsoft Power Platform. สืบค้น 23 มกราคม 2565, จาก https://www.macaw.net/eng/trending/blogs/the-power-of-the-microsoft-power-platform
Ravera, C. (2021). Digitalization of KPI evaluation with the Microsoft Power Platforms: case study in Tetra Pak (Master’s thesis). Italy: School of Industrial and Information Engineering.
Rosenblatt, H. J. (2014). System Analysis and Design (10th ed.). International Edition. Course Technology, Cengage Learning.
Salgueiro, R. U. B. (2021). The impact of Microsoft Power Platform in streamlining end-to-end business solutions-Internship Report at Microsoft Portugal, Specialist Team Unit (Master’s thesis). Portuguese: Universidade Nova de Lisboa.
Expert Training. (2565). Microsoft Power Platform คืออะไร. สืบค้น 23 มกราคม 2565, จากhttps://www.9experttraining.com/articles/microsoft-power-platform
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง