การรับรู้คุณค่าและความพึงพอใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อคอนกรีตผสมเสร็จของ บริษัท ส.อรุณคอนกรีต จำกัด

ผู้แต่ง

  • ภษร ฌานรานนท์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • ภาศิริ เขตปิยรัตน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • อิราวัฒน์ ชมระกา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

การรับรู้คุณค่า , ความพึงพอใจ , การตัดสินใจซื้อคอนกรีตผสมเสร็จ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของการรับรู้คุณค่า ความพึงพอใจและการตัดสินใจซื้อคอนกรีตผสมเสร็จของ บริษัท ส.อรุณคอนกรีต จำกัด เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าที่เคยซื้อคอนกรีตผสมเสร็จของ บริษัท ส.อรุณคอนกรีต จำกัด ตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป จำนวน 90 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

            ผลการวิจัย พบว่า ระดับความสำคัญการรับรู้คุณค่าอยู่ระดับปานกลาง ( = 3.30, S.D. = 0.68)  โดย ด้านคุณภาพอยู่ระดับมากที่สุด รองลงมาด้านราคา ความพึงพอใจอยู่ระดับปานกลาง ( = 3.15, S.D. = 0.73) โดยด้านการให้บริการอย่างเสมอภาคอยู่ระดับมากที่สุด รองลงมาด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่อง และการตัดสินใจซื้ออยู่ระดับปานกลาง ( = 3.16, S.D. = 0.72) และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การรับรู้คุณค่าด้านคุณภาพส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อธิบายค่าความผันแปรของการตัดสินใจซื้อ ได้ร้อยละ 36.20 ความพึงพอใจด้านการให้บริการอย่างเสมอภาค และด้านการให้บริการอย่างก้าวหน้าส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อคอนกรีตผสมเสร็จของ บริษัท ส.อรุณคอนกรีต จำกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อธิบายค่าความผันแปรของการรับรู้คุณค่าและความพึงพอใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อคอนกรีตผสมเสร็จของ บริษัท ส.อรุณคอนกรีต จำกัด ได้ร้อยละ 61.80 (R2=0.618)

References

เฉลิมวัชช์ คงศรีศักดิ์. (2553). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมเสร็จของผู้รับเหมาก่อสร้างในอำเภอเมือง จังหวัดน่าน (การศึกษาค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, บัณฑิตวิทยาลัย).

ชลวิทย์ วรรณโชติผาเวช. (2560 ). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการซื้อคอนกรีต (การศึกษาค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย).

โชคชัย สีนิลแท้. (2562). วิศวกรรมสู่ยุค 4.0 ดันเศรษฐกิจไทยรุ่ง. สืบค้น 29 มกราคม 2563. จาก https://www.posttoday.com/property/576485

สุภัตรา แปงการิยา และสุมาลี สว่าง. (2561). ปัจจัยการรับรู้คุณค่าที่ลูกค้าได้รับและปัจจัยคุณภาพที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้าร้านขายยายในประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์, 14(1), 14-36.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). เจาะทิศทางก่อสร้างไทยปี 62. สืบค้น 29 มกราคม 2563 จาก https://kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalsis/Documents/Thai-Construction-Direction_2019.pdf

อัมรัตน์ บุตรโสภา. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าเกษตรผ่านเครือข่ายออนไลน์ด้วยเทคนิคการวัดพฤติกรรมเชิงเส้นแบบหลายกลุ่มของกลุ่มผู้บริโภคเจอเนอร์เรชั่น บี เอ็กซ์ และวาย. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, บัณฑิตวิทยาลัย).

Asgarpur; et al. (2015) A Review on Customer Perceived Value and its Main Components with a Tourism and Hospitality Approach. Journal of Advanced Review on Scientific Research. 9(1) : 27-40

Li. (2017). Effect of Brand Image Perceived Price Perceived Quality and Perceived Value on the Purchase Intention towards Sports and Tourism Products of the 2016 Taichung International Travel Fair The Journal of International Management Studies, 12(2), 97-107.

Millet, J.D. (2012). Management in the publics service: The quest for effective performance. New York: McGraw-Hill Book Company.

Pawan. (2562). แนวโน้มธุรกิจคอนกรีตผสมเสร็จ และกระบวนการผลิต. สืบค้น 29 มกราคม 2563. จาก https://knowaboutsteelrebars.blogspot.com/2019/09/blog-post.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-26

How to Cite