สมรรถนะในการใช้แพคเกจซอฟต์แวร์บัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานการเงินและบัญชีสำนักงานศาลยุติธรรม

ผู้แต่ง

  • ธัญพร อินเตชะ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • ภาศิริ เขตปิยรัตน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • เฉวียง วงค์จินดา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, แพคเกจซอฟต์แวร์บัญชี, ประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะในการใช้แพคเกจซอฟต์แวร์บัญชีของสำนักงานศาลยุติธรรมและระดับประสิทธิภาพ และ 2) เพื่อศึกษาสมรรถนะการใช้แพคเกจซอฟต์แวร์บัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานการเงินและบัญชีสำนักงานศาลยุติธรรม  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือนักบัญชีสำนักงานศาลยุติธรรม จำนวน 293 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือ ที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า 1)  ผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะด้านการใช้แพคเกจซอฟต์แวร์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.44, S.D. = 0.625) และด้านประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานการเงินและบัญชีสำนักงานศาลยุติธรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.32, S.D. = 0.613)  2) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 2 ตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  คือ ด้านทักษะความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีและด้านทัศนคติที่มีต่อการทำงานส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานการเงินและบัญชีสำนักงานศาลยุติธรรม ส่วนด้านความรู้มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อธิบายค่าความผันแปรของสมรรถนะในการใช้แพคเกจซอฟต์แวร์บัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานการเงินและบัญชี ได้ร้อยละ 38.00 (R2 = 0.380)

References

กรมบัญชีกลาง. (2561). พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561, สืบค้น 14 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.mof.go.th/th/view/attachment/file/3134393632

กัลป์ยกร สัญญะ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

จารุวรรณ ชาวกล้า (2564). โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสําเร็จในงานจัดทําเงินเดือนของนักบัญชี สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตภาคตะวันออก. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 3(3), 15-32

ชลมาศ เทียบคุณ. (2562). สมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการโปรแกรม สำเร็จรูปทางการบัญชีของนักบัญชีในเขตภาคใต้ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ณัฐวัตร เป็งวันปลูก. (2560). ปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ของข้าราชการทหารประจำสังกัดกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 7 (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

บุญชม ศรีสะอาด. (2552). การวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วริษฐา อัตโถปกร. (2561). สมรรถนะประจําสายงานต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรทาง การศึกษาโรงเรียนห้วยยอด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

ศตวรรษ กล่ำดิษฐ. (2560). สมรรถนะที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตใน อุตสาหกรรมการผลิตสายไฟฟ้า กรณีศึกษาบริษัท สายไฟฟ้าไทย-ยาซากิ จำกัด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

Boyatizis, R. E. (1991). The Competent Manager. New York : McGraw-Hill.

David C. McClelland. (1975). Test for Competence, Rather than Intelligence.American Psychologists. v. 17(7) (p. 57-58).

David, D. Dubois and William, J. Rothwell. (2004.). Competency-Based Human Resource Management. California: Davies-Black Publishing.

de Nadaillac, Arnauld. (2003). Competency System. London: McGraw-Hill.

Millet, J. D. (1954). Management in the Public Service. New York : McGraw-Hill.

Peterson, E & Plowman, E.G. (1989). Business Organization and Management. Homewood, Illinois: Richard D. Irwin.

Gilgeous, V., & Parveen, K. (2001). Core competency requirements for manufacturing effectiveness. Integrated Manufacturing Systems.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31

How to Cite