การใช้เรื่องเล่าเพื่อสร้างอัตลักษณ์ในการประชาสัมพันธ์ นครไตรตรึงษ์ จังหวัดกำแพงเพชร
คำสำคัญ:
เรื่องเล่า, อัตลักษณ์, การประชาสัมพันธ์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์เรื่องเล่าท้าวแสนปมของนครไตรตรึงษ์ จังหวัด กำแพงเพชร 2) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์จากเรื่องท้าวแสนปมของนครไตรตรึงษ์ จังหวัดกำแพงเพชร และ 3) เพื่อศึกษาการใช้สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์นครไตรตรึงษ์ จังหวัดกำแพงเพชร เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกประกอบกับการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการประชาสัมพันธ์นครไตรตรึงษ์ จำนวน 3 คนและนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสำรวจ สถิติที่ใช้คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ตำนานท้าวแสนปมมี 2 ลักษณะใหญ่ คือ เป็นเรื่องเล่าโดยชาวบ้านที่แฝงไว้ด้วยเรื่องราวปาฏิหาริย์ต่างๆ ประกอบกับเรื่องราวความรักระหว่างท้าวแสนปมและนางอุษาที่จบลงอย่างมีความสุข และเป็นเรื่องราวที่อิงประวัติศาสตร์การถือกำเนิดของอาณาจักรอยุธยาโดยสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง และยังแฝงไว้ด้วยอุดมการณ์การรักชาติและส่งเสริมสถาบันพระมหากษัตริย์ 2) การศึกษาอัตลักษณ์จากเรื่องท้าวแสนปมของนครไตรตรึงษ์ประกอบด้วย 2 ประเด็น ได้แก่ เป็นเรื่องเล่าของชาวบ้านและเป็นเรื่องราวที่อิงประวัติศาสตร์ เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ พ.ศ. 2562 ประเภทวรรณกรรมพื้นบ้านและภาษาและมีสถานที่ต่าง ๆ ในจังหวัดกำแพงเพชรที่อิงมาจากตำนานท้าวแสนปม และลักษณะเฉพาะตัวของเรื่องเล่าท้าวแสนปมที่นำมาใช้ในการประชาสัมพันธ์นครไตรตรึงษ์ ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ในประเด็นตำนานที่อิงจากประวัติศาสตร์ การประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวของตำบลไตรตรึงษ์ และการประชาสัมพันธ์ในสถานศึกษา และ3) การใช้สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์นครไตรตรึงษ์ จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า มีการใช้
สื่อประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย ได้แก่ สื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ สื่อบุคคล สื่อกิจกรรม และสื่อออนไลน์
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2549). ทฤษฎีการสร้างสาร. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการสร้างสารในงานนิเทศศาสตร์. หน่วยที่ 3. นนทบุรี: สาขาวิชานิเทศศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
กาญจนา แก้วเทพ. (2553). แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชีริว. (2555). นครไตรตรึงษ์เมืองโบราณที่ถูกทิ้งร้างซ้ำแล้วซ้ำอีก. สืบค้น 19 ตุลาคม 2561, จาก https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=shiryu&month=11-2012&date=06&group=7&gblog=16
ฐิตาภา บำรุงศิลป์, ณัฐมน บุญโห้, สุพิตา ระลึกธรรม, ณัฐณิชา มังคลาด, ณัฐณิชา แก้วด้วง, ชนิตา ชยันต์ลาโภค,
ษุรุตา พุ่มเพ็ชร, ปฐมพงษ์ หลงเดียว,ต้นอ้อ เพียรทำการ. (2564). ศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาชุมชนมีนบุรีอุปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 3(2), 78-94
นุชนาฎ เชียงชัย. (2558). การใช้อัตลักษณ์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดลําปาง (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุษบา สุธีธร. (2564). อกสารการสอนชุดวิชาการสื่อสารกับการพัฒนา (พิมพ์ครั้ง 1). นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เบญจวรรณ สุพันอ่างทอง. (2555). การใช้อัตลักษณ์ในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดอุดรธานี. สืบค้น 20 ตุลาคม 2561, จาก https://shorturl.asia/Z5Jt4
ปองปรารถน์ สุนทรเภสัช, กิติวัฒน์ กิติบุตร และกนกพร เอกกะสินสกุล. (2561). การเล่าเรื่องอาหารท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษาน้ำปูแจ้ห่ม. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 11(1), 192-213.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2550). อัตลักษณ์. สืบค้น 20 ตุลาคม 2561, จาก http://www.royin.go.th/ ?knowledges=อัตลักษณ์-๑๖-มิถุนายน-๒๕
สุรพล มโนวงศ์, เพ็ญศรี จุลกาญจน์, เกษตร แก้วภักดี และสิริกานต์ มีธัญญากร. (2561). การออกแบบอัตลักษณ์และการผลิตสื่อสำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วม ตำบลกึ๊ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่. วารสารแก้วปัญญา, 5(3), 12-13.
เสริมศักดิ์ ขุนพล. (2558). การศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมความเชื่อของชุมชนเกาะยอ. วารสารปาริชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 28(3), 82-103.
อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์ identity การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ.
อินทิรา พงษ์นาค และศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์. (2558). อัตลักษณ์ชุมชนเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี.Veridian e-journal Slipakorn University, 8(3), 511-523.
Ashmore, R.D., Kay Deaux, K., & McLaughlin-Volpe, T. (2004). An Organizing Framework for Collective Identity: Articulation and Significance of Multidimensionality. Psychological Bulletin, 130(1), 80-114.
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. John Wiley & Sons.
Littlejohn, S. W., & Foss, K. A. (2008). Theories of human communication. Belmont. CA: Thomson/Wadsworth.
Ritzer, G. (2007). Structuration Theory. Contemporary Sociology: A Journal of Reviews. Retrieved October 18, 2018, from https://doi.org/10.1177/009430610703600154
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง