การสื่อสารเพื่อการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนักศึกษาต่างชาติ กลุ่มมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในเขตภาคเหนือ

ผู้แต่ง

  • เอกรงค์ ปั้นพงษ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • พิชญาพร ประครองใจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การสื่อสาร , การปรับตัวทางวัฒนธรรม , นักศึกษาต่างชาติ , มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสามารถทางการสื่อสารของนักศึกษาต่างชาติกลุ่มมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเขตภาคเหนือ 2) เพื่อศึกษาการปรับตัวของนักศึกษาต่างชาติกลุ่มมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในเขตภาคเหนือ และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางการสื่อสารกับการปรับตัวของนักศึกษาต่างชาติกลุ่มมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเขตภาคเหนือ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาต่างชาติในกลุ่มมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเขตภาคเหนือทั้งหมด 400 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และมีการทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)  และใช้วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Coefficient) ผลการวิจัย พบว่า 1)ความสามารถในการสื่อสารของนักศึกษาชาวต่างชาติ มีพื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษดี แต่มีปัญหาในเรื่องของการใช้ภาษาไทยและการปรับตัวให้เข้ากับชีวิตในท้องถิ่น 2) แนวทางการปรับตัวของนักศึกษาชาวต่างชาติ คือ การพยายามเรียนรู้ภาษา วัฒนธรรม ประเพณีของประเทศไทย เปิดใจ คิดเชิงบวกและสร้างการยอมรับในความแตกต่างระหว่างชาติพันธุ์ เชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารทั้งอินเทอร์เน็ต สื่อสังคมออนไลน์ โทรศัพท์สมาร์ทโฟนเข้ามาช่วยในการปรับตัว และ3) ความสามารถทางการสื่อสารมีความสัมพันธ์กับการปรับตัวของกลุ่มนักศึกษาต่างชาติ อย่างมีนัยสำคัญที่สถิติที่ .05

References

โกเมศ สุพลภัค. (2555). การรับรู้และการสื่อสารเพื่อการจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมของบริษัทข้ามชาติในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรพะเยาว์ ก๋งเม่ง. (2556). ความสามารถทางการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมและการปรับตัวของนักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยรังสิต (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

พัชนี เชยจรรยา. (2558). การวิจัยเชิงปริมาณทางนิเทศศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: สำนักพิมพ์สุโขทัยธรรมาธิราช.

พีระ จิรโสภณ. (2557). เอกสารประกอบการสอนระดับบัณฑิตศึกษาชุดวิชาปรัชญานิเทศาสตร์ และทฤษฎีการสื่อสาร. มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

เมตตา วิวัฒนานุกูล. (2559). การสื่อสารต่างวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วราภรณ์ อวิรุทธ์วรกุล. (2558). กระบวนการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของนักศึกษาไทยในประเทศจีนตอนใต้(วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สมสุดา ศรีวัฒนานนท์. (2547). การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมในการทำงานของพนักงานชาวไทยและชาวตะวันตก (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิน พันธุ์พินิจ. (2549). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จูนพับบลิชชิ่ง.

โอฬาริก ขุนสิทธิ์. (2555). การสื่อสารและการปรับตัวทางวัฒนธรรมของบุคลากรไทยในบริษัทข้ามชาติ(วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Gudykunst, W. (2005). Theories of intercultural communication. China Media Research, 1(1), 61–75.

Gudykunst, W. & Kim, Y. (1992). Communicating with Strangers: An Approach to Intercultural Communication. McGraw – Hill.

Hall, E. (1981). Beyond culture. N.Y: Anchor Books.

Munby. J. (1978). A communicative syllabus design. Cambridge: Cambridge University Press.

Thaiquote. (2019). 5 ทางออก อุดมศึกษาไทย ก่อนเป็น “มหา’ลัย ร้าง”. สืบคืน 23 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.thaiquote.org/content/240214

Ting-toomey, S. (1999). Communication Across Cultures. New York: The Guildford Press.

Williams, E. (1979). Element of Communicative Competence. English Language Teaching Journal, 34(1), 18–21.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite

ปั้นพงษ์ เ., & ประครองใจ พ. (2024). การสื่อสารเพื่อการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนักศึกษาต่างชาติ กลุ่มมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในเขตภาคเหนือ. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 6(1), 1–20. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/262096