พฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลและความพึงพอใจต่อโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) (U2T) ของประชาชนในเขตตำบลนาดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
พฤติกรรม, การเปิดรับข่าวสาร , ความพึงพอใจ , โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการนาดีบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารของประชาชนในเขตตำบลนาดีที่มีต่อโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 2) ศึกษาความพึงพอใจของประชาชนในเขตตำบลนาดีที่มีต่อโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ประชากรในการวิจัยได้แก่ประชาชนในตำบลนาดี กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในตำบลนาดี จำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งประชากรตามหมู่บ้านที่ศึกษาทั้ง 7 หมู่บ้าน ในแต่ละหมู่บ้านจะสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 3 ตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (U2T) ของประชาชนในเขตตำบลนาดี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 99 เคยได้รับข่าวสารเกี่ยวกับโครงการ U2T ด้านการมีส่วนร่วมร้อยละ 88.75 เคยได้รับข่าวสารจากเจ้าหน้าที่ U2T รองลงมาคือมีส่วนร่วมในการบันทึกบัญชีครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 67 ด้านการรับข่าวสารจากสื่อร้อยละ 95.25 ได้รับสื่อจากเจ้าหน้าที่ U2T รองลงมาคือได้รับข่าวสารจาก อสม. หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขคิดเป็นร้อยละ 52.25
การศึกษาความพึงพอใจของประชาชนในเขตตำบลนาดีที่มีต่อโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (U2T) พบว่า ประชาชนในตำบลนาดีมีความพึงพอต่อโครงการ U2T ในภาพรวม อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกข้อ ได้แก่ การดำเนินโครงการ U2T ทำให้มีภาพลักษณ์ที่ดีต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีมากที่สุด รองลงมาคือพึงพอใจต่อการเปิดเทศกาลกินผักปลอดภัย ณ ศูนย์ OUTLT และพึงพอใจต่อการถ่ายทอดองค์ความรู้จากทางมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
References
กวี ศิริโภคาภิรมย์. (2542). ความพึงพอใจในการทำงานของอาจารย์สถาบันราชภัฏเทพสตรี. ลพบุรี: สถาบันราชภัฏเทพสตรี.
กัตติกา แก้วมณี (2560). การเปิดรับสื่อสังคม การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
กาญจนา อรุณสุขรุจี. (2546). ความพึงพอใจของสมาชิกสหกรณ์ต่อการดําเนินงานของสหกรณ์การเกษตรไชยปราการ จำกัด อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กระทรวงการอุดมศึกษา. (2564). โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ. สืบค้น 15 เมษายน 2564, จาก https://www.mhesi.go.th/index.php/flagship-project/2690-u2tambon.html
จักรพงษ์ เกษสุวรรณ. (2560). การรับรู้ของประชาชนที่มีต่อความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อําเภอแม่เมาะ จังหวัดลําปาง (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
บุษบา หินเธาว์. (2564). การพัฒนาเนื้อหาของสื่อเฟซบุ๊กแฟนเพจเพื่อสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ไข่เค็มสมุนไพร ป้าจีตําบลดอนทอง อําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 3(3), 65 - 81.
วารุณี กิตติสุทธ์. (2563). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ เรื่องอัตลักษณ์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร (วิทยานิพนธ์นิเทศศสตรมหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สิริลักษณ์ อุบลรัศมี. (2560). การเปิดรับสื่อ การแบ่งปันข้อมูลและการรู้เท่าทันข้อมูลด้านสุขภาพในสื่อสังคมออนไลน์ (วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สัญญา เคณาภูมิ และคณะ. (2563). การสำรวจความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลเดิด อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร (รายงานการวิจัย). มหาสารคาม: สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สุธาสินี อรุณ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาพลักษณ์กับความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการ ของลูกค้าร้านกาแฟในเขตอำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลก วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 1(1), 30 - 34.
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2564). ข้อมูลพื้นฐานตำบลนาดี อ.เมือง จ.อุดรธานี. สืบค้น 30 มีนาคม 2564, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/sumyear.php
เสกสรร สายสีสด. (2564) พฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารและความตระหนักรู้ ของนักเรียนนักศึกษา จังหวัดอุดรธานีในช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาด. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 11(1), 13 - 25.
อภิญญา แก้วเปรมกุศล. (2562). การเปิดรับสื่อ การรับรู้ ทัศนคติ และการใช้ประโยชน์ จากหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสาร Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University, 6(2), 20 - 35.
อรุณ ไชยนิตย์. (2564) การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของเทศบาลเมืองบางคูรัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(6), 147 – 163.
McCombs, M. E. & Becker, L. B. (1979). Using mass communication theory. New York: Prentice-Hall.
Klapper, J. T. (1960). The effects of mass communication. New York: The Free Press.
Shelly, Maynard W. (1975). Responding to Social Chang. Pensylvania: Dowder, Hutchison Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง