พฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารของบิวตี้บล็อกเกอร์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทความงามในสื่อสังคมออนไลน์
คำสำคัญ:
บิวตี้บล็อกเกอร์ , สื่อสังคมออนไลน์ , พฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารของบิวตี้บล็อกเกอร์ 2. ศึกษาการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทความงามจากบิวตี้บล็อกเกอร์ในสื่อสังคมออนไลน์ 3. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารของบิวตี้บล็อกเกอร์และการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทความงามผ่านสื่อสังคมออนไลน์
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาในรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรระดับปริญญาตรี โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 392 คน แบ่งเป็น 1.กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ 107 คน 2.กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 125 คน 3.กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 160 คน ทำการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) 1. ค่าความถี่ (Frequency) 2.ค่าร้อยละ (Percentage) 3. ค่าเฉลี่ย (Mean: ) 4. ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) 5. ค่าสหสัมพันธ์ (Pearson Correlation)
ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมเปิดรับข้อมูลข่าวสารของบิวตี้บล็อกเกอร์ ผู้ตอบแบบสอบถามเคยอ่านหรือรับชมรีวิวบ่อยที่สุด อันดับที่ 1 คือ แพร Peary pie วิธีการนำเสนอสินค้าของบิวตี้บล็อกเกอร์ที่ผู้ตอบแบบสอบถามเปิดรับมากที่สุดคือ คลิปวิดีโอ และช่องทางที่ผู้ตอบแบบสอบถามเปิดรับการนำเสนอสินค้าของบิวตี้บล็อกเกอร์มากที่สุด คือ Facebook ซึ่งสอดคล้องกับในส่วนของการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทความงามจากบิวตี้บล็อกเกอร์ในสื่อสังคมออนไลน์ เนื่องจากผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เคยซื้อสินค้าประเภทความงามผ่านการแนะนำของบิวตี้บล็อกเกอร์
References
กติกา สายเสนีย์. (2554). สานสัมพันธ์กับ Influencer. กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. สืบค้น 28 ธันวาคม 2554, จาก http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceoblogs/katika/20110615/Influencer.htm
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การวิเคราะห์สถิติ สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กองบริการการศึกษา. (2560). สถิติข้อมูลการดำเนินงานตามพันธกิจของกองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร 5 ปีย้อนหลัง ระหว่างปีการศึกษา 2559 – 2563 / ปีงบประมาณ 2558 – 2562 (รายงานการวิเคราะห์). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร
ขนิษฐา สุขสบาย. (2555). รูปแบบการสื่อสารการตลาดของบิวตี้ บล็อกเกอร์บนสังคมออนไลน์ (วิทยานิพนธ์การจัดการการสื่อสาร). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จิดาภา สดสี. (2557). สื่อสังคมออนไลน์ ความรับผิดชอบต่อสังคมของลูกค้า และคุณภาพบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการคาเฟ่สำหรับคนรักแมวในเขตกรุงเทพมหานคร (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ธิดารัตน์ ชวนชม. (2559). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจ และการ บอกต่อผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตลาดพร้าวกรุงเทพมหานคร (จุลนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นฤมล รอดเนียม. (2557). ศึกษาวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทความงามผ่านการแนะนำของบล็อกเกอร์ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิตนา ฐานิตธนกร และปรัศนียากรณ์ สายปิมแปง. (2555). Beauty Blogger: ผู้ทรงอิทธิพลด้านความงามบนโลกออนไลน์. วารสารสุทธิปริทัศน์, 27(81), 109-124
ปณิศา มีจินดา. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร. ปิยะชาติ อิศรภักดี. (2559). Branding 4.0 (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง
แพร ไกรฤกษ์. (2558). อิทธิพลของบิวตี้บล็อกเกอร์กับการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมความงามของสตรีไทยในยุคสื่อสังคมออนไลน์ (วิทยานิพนธ์ินิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พรรณพิลาส กุลดิลก. (2557). ความน่าเชื่อถือของแหล่งสารในสื่อออฟไลน์และสื่อออนไลน์ของวัยรุ่นไทย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 22(38), 73-91.
รัฐญา มหาสมุทร. (2559). กลยุทธ์การสื่อสารของผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดในโลกออนไลน์ที่มีผลต่อทัศนคติของกลุ่มผู้ติดตาม. วารสารการสื่อสารและการจัดการนิด้า, 2(1), 81-83.
วรวิสุทธิ์ ภิญโญยาง. (2556). Marketing Ideas ไอเดียการตลาดพลิกโลก. กรุงเทพฯ: กรุงเทพธุรกิจมีเดีย.
วาสิฏภรณ์ เกลียวสัมพันธ์. (2557). อิทธิพลของบิ้วตี้บล็อกเกอร์ (Beauty blogger) ที่มีต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมความงามของผู้บริโภค (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศศิประภา ชัยประสิทธิ์ และ พัทธ์ธีรา สุดยอด. (2554). อิทธิพลของกลุ่มอ้างอิงที่มีต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางของผู้ชายในเขตกรุงเทพมหานคร. BU Academic Review, 10(2), 104-111.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2553). คลินิกรักษาสิวและเสริมความงาม. สืบค้น 4 พฤจิกายน 2560, จาก http://www.kasikornresearch.com/
สุจิตรา แสงจันดา. (2556). สื่อสังคมออนไลน์และกระบวนการตดัสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคออนไลน์ใน ประเทศ (ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
แอนนา เจียรวงศ์วาณิช. (2554). การเปิดรับการสื่อสารการตลาดและพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับผู้ชายในเขตกรุงเทพมหานคร (นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Aaker, D.A., Kumar, V. & Day, G.S. (2001). Marketing Research. New York: John Wiley and Sons.
Khazanie, R. (1996). Statistics in a world of Applications (4th ed.). New York: HarperCollins College Publishers.
Klapper, J. T. (1960). The effects of mass communication. New York: The Free Press.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row. Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง