การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจำหน่ายอาหารสัตว์เลี้ยง : กรณีศึกษาร้าน Petshop
คำสำคัญ:
การพัฒนา, เว็บไซต์, อาหารสัตว์เลี้ยง, ร้าน Petshopบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อลดต้นทุนค่าเช่าพื้นที่ในการจำหน่ายอาหารสัตว์เลี้ยง และเพิ่มช่องทางการจำหน่าย 2) เพื่อพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจำหน่ายอาหารสัตว์เลี้ยง : กรณีศึกษาร้าน Petshop 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อเว็บไซต์เพื่อจำหน่ายอาหารสัตว์เลี้ยง : กรณีศึกษาร้าน Petshop โดยออกแบบเว็บไซต์ในรูปแบบการออกแบบเว็บไซต์ด้วยแนวคิดใหม่ (Responsive Web Design) ประกอบด้วยส่วนของการสมัครสมาชิก การค้นหารายละเอียดของสินค้าการสั่งซื้อสินค้าและการชำระเงิน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เว็บไซต์เพื่อจำหน่ายอาหารสัตว์เลี้ยง : กรณีศึกษาร้าน Petshop และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคที่ซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงจากร้าน Petshop มีความพึงพอใจด้านการใช้งานเว็บไซต์ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย = 4.44 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.53 และความพึงพอใจที่มีต่อผลิตภัณฑ์ในภาพรวมอยู่ในระดับ ดีมาก มีค่าเฉลี่ย = 4.21 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.70 และมีผลกำไรจากการจำหน่ายอาหารสัตว์เลี้ยงผ่านเว็บไซต์เพิ่มสูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 161
References
กัณฑมาศ แสงจันทร์ และชลดา เฉลิมพุฒิ. (2561). การพัฒนาเว็บไซต์ขายกระเป๋าออนไลน์ (สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ชัยวัฒน์ ตรีปักษ์, ฐิติชัยรักบำรุง และนคร ละลอกน้ำ. (2564). การพัฒนาเว็บไซต์แบบเรซสปอนต์ซีฟเพื่อการให้บริการ ด้านงานโสตทัศนศึกษาสำหรับศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 4(2),หน้า 23-34.
ฐิติภา พันรังสี และชัยฤกษ์ แก้วพรหมมาลย์. (2560). การตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อเล็กทรอนิกส์ Thairade.com. วารสารวิทยาการเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 4(1), หน้า 7-16.
ณัฐสพันธ์ เผ่าพันธุ์. (2551). ปัจจัยที่สร้างแรงจูงใจต่อผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางเว็บไซต์. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
นภสร อยู่เจริญ. (2560). การพัฒนาบริการซอฟต์แวร์คลาวด์สำหรับการบริหารจัดการ ร้านขายอาหารสัตว์ : กรณีศึกษาร้านอู๊ดดี้เพ็ทช็อป (สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วริศรา สู้สกุลสิงห์ และวราวุธ ฤกษ์วรารักษ์. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตอำเภอเมืองจังหวัด พิษณุโลก. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยทักษิณ, 12(1), หน้า 99-118.
สุนันท์สินี มุ่นเชย สุนันท์ ธาติ และศุภเชษฐ์ กันทะณีย์. (2563). การออกแบบและพัฒนาส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งานสำหรับแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่แนะนำการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยวภายใต้โครงการเรารักเชียงใหม่ (We love Chaing Mai). วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2(2), 1-12.
สุบิน พุทโสม และจิระภา จันทร์บัว. (2564). อิทธิพลของความเสี่ยงในการซื้อสินค้าออนไลน์ ความพึงพอใจในการซื้อสินค้าออนไลน์ และความภักดีในการซื้อสินค้าออนไลน์ที่ส่งผลต่อการซื้อสินค้าออนไลน์ซ้ำ. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 27(2), 57-73.
อัมพิกา จงเจริญสุข และ ดร.ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 14(65), หน้า 163-172.
Anchana S. (2021). เช็คกันสักนิด..หากคิดจะเปิดร้านขายอาหารสัตว์. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2565 จาก https://pnstoretailer.com/pet-food-shop-check-list/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง