ระบบเว็บไซต์สั่งซื้อเบเกอรี่ออนไลน์ กรณีศึกษา: ร้านน้ำฝนเบเกอรี่

ผู้แต่ง

  • ยุพา เพ็งโอ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • อมราวดี เนียมศรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ชญาน์นันท์ รูปหุ่น ผู้ประกอบการ
  • ไพฑูรย์ งิ้วทั่ง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

ระบบสั่งซื้อ , เบเกอรี่ , เว็บไซต์, Black Box Testing , ความสัมพันธ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อพัฒนาระบบเว็บไซต์สั่งซื้อเบเกอรี่ออนไลน์ กรณีศึกษา:ร้านน้ำฝนเบเกอรี่  2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อระบบเว็บไซต์สั่งซื้อเบเกอรี่ออนไลน์ กรณีศึกษา: ร้านน้ำฝนเบเกอรี่  และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินการรับรู้ประโยชน์และความง่ายในการใช้งานกับความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อระบบเว็บไซต์สั่งซื้อเบเกอรี่ออนไลน์ กรณีศึกษา: ร้านน้ำฝนเบเกอรี่ โดยใช้โปรแกรมวิชวลสตูดิโอโค้ดเพื่อการเขียนโค้ดคำสั่ง เขียนด้วยภาษา HTML PHP JavaScript CSS      เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ระบบเว็บไซต์สั่งซื้อเบเกอรี่ออนไลน์ กรณีศึกษา: ร้านน้ำฝนเบเกอรี่ และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานระบบเว็บไซต์สั่งซื้อเบเกอรี่ออนไลน์  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า เว็บไซต์ที่พัฒนาตรงตามต้องการของผู้บริโภค โดยมีการทดลองการใช้งานเว็บไซต์ผ่านการทดลองแบบ Black Box Testing  และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบจำนวน 421 คน พบว่า  มีความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบเว็บไซต์สั่งซื้อเบเกอรี่ออนไลน์ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก  และการรับรู้ในประโยชน์ต่อการใช้งานและการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจที่มีต่อระบบเว็บไซต์สั่งซื้อเบเกอรี่ออนไลน์ในระดับสูง โดยมีค่าเท่ากับ 0.644 และมีค่า P-value เท่ากับ 0.000

References

ดารุวรรณ์ พลาชัย. (2561). พฤติกรรมในการเข้าชมและติดตามเว็บไซต์ 3 แบรนด์: Lazada TH, Shopee TH และ 11Street TH ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(1), 61-68.

ณิชนันทน์ จงใจสิทธิ์ และวัชรีภรณ์ ดีสุทธิ. (2564). การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ OTOP อำเภอ ผาขาวจังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 16(57), 100-109.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ฟ้า วิไลขำ, สมชาย วรัญญานุไกร และพวา พันธุ์เมฆา. (2556). การพัฒนาเว็บไซต์พิพิธภัณฑ์เมืองพิษณุโลกแบบมีส่วนร่วม. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 6(2), 104-117.

สุนันท์สินี มุ่นเชย สุนันท์ ธาติ และศุภเชษฐ์ กันทะณีย์. (2563). การออกแบบและพัฒนาส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งานสำหรับแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่แนะนำการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยวภายใต้โครงการเรารักเชียงใหม่ (We love Chaing Mai). วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2(2), 1-12.

สุบินพุทโสม และ จิระภา จันทร์บัว. (2564). อิทธิพลของความเสี่ยงในการซื้อสินค้าออนไลน์ความพึงพอใจ ในการซื้อสินค้าออนไลน์และความภักดีในการซื้อสินค้าออนไลน์ที่ส่งผลต่อการซื้อสินค้าออนไลน์ซ้ำ. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 27(2), 57-73.

สุพิชฌา วัฒนะ และประกายกาวิล ศรีจินดา (2562). กลยุทธ์การตลาดของร้านแก้วเจ้าจอมเบเกอรี่. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร. พระนคร, 4(1), 50-59.9

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-23

How to Cite

เพ็งโอ ย., เนียมศรี อ., รูปหุ่น ช. ., & งิ้วทั่ง ไ. . (2022). ระบบเว็บไซต์สั่งซื้อเบเกอรี่ออนไลน์ กรณีศึกษา: ร้านน้ำฝนเบเกอรี่. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 4(1), 32–46. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/258230