การพัฒนาเนื้อหาของสื่อเฟซบุ๊กแฟนเพจเพื่อสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ไข่เค็มสมุนไพร ป้าจี ตำบลดอนทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
สื่อเฟซบุ๊ก, ไข่เค็ม, การสื่อสารการตลาดบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดการสื่อสารการตลาดบนเฟซบุ๊กแฟนเพจผลิตภัณฑ์ไข่เค็ม 2. เพื่อพัฒนาเนื้อหาของสื่อเฟซบุ๊กแฟนเพจเพื่อสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ไข่เค็มสมุนไพร ป้าจี ตำบลดอนทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ผลิตไข่เค็มสมุนไพร ป้าจี ที่มีต่อเนื้อหาของสื่อเฟซบุ๊กแฟนเพจผลิตภัณฑ์ไข่เค็มสมุนไพร ป้าจี โดยใช้กระบวนการวิจัยอย่างมีส่วนร่วม มีตัวแทน จากกลุ่มผู้ผลิตไข่เค็มสมุนไพร ป้าจี ร่วมเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก ตลอดจนร่วมออกแบบเนื้อหาและพัฒนาสื่อ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม การสังเกต และสนทนากลุ่ม โดยวิเคราะห์รูปแบบและเนื้อหาของสื่อเฟซบุ๊กแฟนเพจ ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาด้วยวิธีวิทยาเชิงคุณภาพ และประมวลผลข้อมูลความพึงพอใจต่อสื่อเฟซบุ๊กแฟนเพจ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทาง คอมพิวเตอร์ หาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าเฉลี่ย (Mean)
ผลการวิจัย พบว่า 1. แนวคิดการสื่อสารการตลาดบนเฟซบุ๊กแฟนเพจผลิตภัณฑ์ไข่เค็ม ป้าจี ควรมีเนื้อหาเนื้อหาที่สั้น กระชับ เข้าใจง่าย เป็นเนื้อหาที่กลุ่มเป้าหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้ เนื้อหามีความตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและแก้ปัญหา ให้กับกลุ่มเป้าหมายได้ เนื้อหาควรสอดคล้องกับกระแสสังคมในสถานการณ์ปัจจุบัน 2. การพัฒนาเนื้อหาของสื่อเฟซบุ๊กแฟนเพจเพื่อสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ไข่เค็มสมุนไพร ป้าจี มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นตอนก่อนการพัฒนาสื่อเฟซบุ๊กแฟนเพจ โดยเป็นการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เพื่อนํามาวางแผนรูปแบบของเนื้อหาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ ได้แก่ การกําหนดวัตถุประสงค์ของสื่อเฟซบุ๊กแฟนเพจ การกําหนดภาพลักษณ์/อัตลักษณ์ของสื่อเฟซบุ๊กแฟนเพจ และการจัดทํา/การแบ่งเนื้อหาที่นําเสนอลงบนสื่อเฟซบุ๊กแฟนเพจ (2) ขั้นตอนการผลิต คือ การออกแบบและผลิตเนื้อหาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจตามแนวทางที่วางไว้ในขั้นตอนก่อนการผลิต (3) ขั้นตอนการประเมินผลคือ การวัดและประเมินผลของเนื้อหาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ 3. ความพึงพอใจของผู้ผลิตไข่เค็มสมุนไพร ป้าจี ที่มีต่อเนื้อหาของสื่อเฟซบุ๊กแฟนเพจผลิตภัณฑ์ไข่เค็มสมุนไพร ป้าจี มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.75 ระดับความพึงพอใจมากที่สุด
References
การตลาดวันตะลอน. (2564). รายงานสถิติ Thailand Digital Stat 2021 จาก We Are Social. สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.everydaymarketing.co/knowledge/thailand-digital-stat-2021-we-are-social/
ณัฐพัชญ์ วงศ์เหรียญทอง. (2557). Content Marketingเล่าให้ คลิกพลิกแบรนด์ให้ดัง. กรุงเทพฯ: เนชั่นอินเตอร์ เนชั่นแนล เอ็ดดูเทนเมนท์
ณัฐพัชญ์ วงศ์เหรียญทอง. (2560). 3 ประเภทของ CONTENT MARKETING ที่มักใช้ กันบ่อยๆ ในปัจจุบัน. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2564, จาก https://goo.gl/bjrRnX
ธนัยนันท์ เศรษฐศิรักษ์. อาจารย์พิเศษ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. (9 ตุลาคม 2564). สัมภาษณ์.
ธัญลักษณ์ กานต์ศิริกุล และลักษณา คล้ายแก้ว. (2561). การวิจัยและการสร้างสรรค์สื่อเฟซบุ๊กแฟนเพจเพื่องานสื่อสารการตลาดของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. ในการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.
บุษบา หินเธาว์. (2563). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสื่อเพจเฟซบุ๊ก เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนบ้านนาเมือง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 1(1), 66-82.
บุษบา หินเธาว์. (2564, พฤษภาคม-สิงหาคม). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และแผ่นพับประชาสัมพันธ์ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ ของกลุ่มสหกรณ์สตรีผ้าทอบ้านนาเมือง ตำบลป่าแดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 3(2), 59-75.
ประทีป สุวรรณรักษ์. (2542). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. บุรีรัมย์: ครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์.
ภัสวลี นิติเกษการสุนทร. (2546). หลักสําคัญของการสื่อสาร. นนทบุรี: สํานักพิมพ์ Imprint.
ภูรดา ประเสริฐศรี. อาจารย์สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เจ้าของเพจขายเสื้อผ้าออนไลน์ และเจ้าของโรงเรียนสอนภาษายีราฟ. (9 ตุลาคม 2564). สัมภาษณ์.
วรัชญ์ ครุจิต. (2555). คู่มือการประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัลของสมาคมการจัดการแห่งสหรัฐอเมริกา/โรเบิรติ์ แอล ดีแลนเนลเดอร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วิษณุ สุวรรณเพิ่ม. (2540). การตกแต่งต้นฉบับ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
สุภารักษ์ จูตระกุล. (2559). ครอบครัวกับการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล (Digital Literacy) ของดิจิทัลเนทีฟ (Digital Natives) Digital Literacy, Digital Natives and Family. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(1), 99-118.
สุรัตน์ชัย ยืนยาว. (2559). The Power of Facebook. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์เอ็ดดูเคชันไมน์ด ไลน์มัลติมีเดีย
อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี. (2555). พฤติกรรมการสื่อสารในองค์กร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรุณรัตน์ ชินวรณ์. (2553). สื่อประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เเห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอกรงค์ ปั้นพงษ์. ประธานหลักสูตรสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และเจ้าของเพจบ้านขนมใหม่เอี่ยม. (5 สิงหาคม 2564). สัมภาษณ์.
Klapper, J. T. (1960). The Effects of Mass Communication. Glencoe, Ill.: Free Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง