ศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาชุมชนมีนบุรีอุปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ศักยภาพการท่องเที่ยว, ชุมชนมีนบุรีอุปถัมภ์, การท่องเที่ยวชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวของชุมชนมีนบุรีอุปถัมภ์ 2) เพื่อสำรวจความคิดเห็นและความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการพัฒนาการ งานวิจัยเป็นแบบเชิงปริมาณและ เชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชนมีนบุรีอุปถัมภ์ และเก็บแบบสอบถามจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชน การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพการท่องเที่ยวในชุมชนมีนบุรีอุปถัมภ์เรียงลำดับ ดังนี้ สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ความสามารถในการเข้าถึง การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ด้านข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ ความคิดเห็นและความต้องการผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการท่องเที่ยวเห็นว่า ชุมชนมีนบุรีอุปถัมภ์มีความโดดเด่น ด้านสถาปัตยกรรมของกลุ่มอาคารบ้านเรือน มากที่สุด และควรได้รับการขึ้นทะเบียนกับกรมศิลปากร สามารถเข้าถึงชุมชนได้ทั้งทางบกและทางน้ำ ในชุมชนมีสิ่งอำนวยความสะดวกสามารถรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในชุมชน มีคณะกรรมการบริหารชุมชน ด้านข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ ในชุมชนเคยใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์และละครหลายเรื่องทำให้ชุมชนเป็นที่รู้จักมากขึ้น คนในชุมชนมีความเห็นว่า ควรพัฒนาให้ชุมชนเป็นตลาดสร้างสรรค์และแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์
References
กิตติศักดิ์ กลิ่นหมื่นไวย. (2554). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดลำปาง. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 9(2), 1-11.
ณัฐภัทร แก้วรัตนภัทร์. (2562). การกำหนดการใช้เกณฑ์ร้อยละ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
พยอม ธรรมบุตร. (2549). เอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่องหลักการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มัลลิกา ยุวนะเตมีย์. (2528). การเปรียบเทียบความเที่ยงของแบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่าที่มีรูปแบบคำตอบแตกต่างกัน (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรสุดา สุขารมณ์. (2554). ความร่วมมือระหว่างองค์การในการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย. กรุงเทพฯ: สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก. แหล่งท่องเที่ยวชุมชน. สืบค้น 2 ธันวาคม 2562, จาก https://thaipublica.org/tag/.
สำนักงานเขตมีนบุรี. (2562). เขตมีนบุรี. สืบค้น 2 ธันวาคม 2562, จาก http://www.bangkok.go.th/
นันท์สินี มุ่นเชย, สุนันท์ ธาติ, ศุภเชษฐ์ กันทะณีย์. (2563). การออกแบบและพัฒนาส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งานสําหรับแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่แนะนําการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวภายใต้โครงการเรารักเชียงใหม่ (We love Chiang Mai). วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2(2), 1-12.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง