ประสิทธิภาพของต้นทุนตัวแทนกับความสามารถประมาณการกำไร ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพ, ต้นทุนตัวแทน, ประมาณการกำไรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของต้นทุนตัวแทนกับความสามารถประมาณการกำไรของกิจการ ซึ่งต้นทุนตัวแทนประกอบด้วยค่าตรวจสอบบัญชี ค่าใช้จ่ายของคณะกรรมการตรวจสอบ และค่าใช้จ่ายของประธานฝ่ายบริหารและคณะกรรมการบริหาร เก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 332 กิจการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบง่าย และการวิเคราะห์การถดถอยของข้อมูลสำหรับ Panel data
ผลการวิจัยพบว่า ค่าใช้จ่ายของประธานฝ่ายบริหารและคณะกรรมการบริหารมีจำนวนมากที่สุดคือเฉลี่ย 33.04 ล้านบาท ส่วนความสัมพันธ์ด้านค่าใช้จ่ายของต้นทุนตัวแทนกับความสามารถประมาณการกำไรพบว่า ค่าตรวจสอบบัญชี ค่าใช้จ่ายของคณะกรรมการตรวจสอบ และค่าใช้จ่ายของประธานฝ่ายบริหารและคณะกรรมการบริหาร มีนัยสำคัญทางสถิติและมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับความสามารถประมาณการกำไร
References
สุภานี นวกุล. (2553). การกำกับดูแลกิจการกับความสามารถในการแข่งขันของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์.
Abubakar, A.H., Lawal, A.M. and Mohamed, M.I. (2020). Ownership structure and real earnings management: evidence from Nigeria. Journal of Management Theory and Practice, 1 (3), 43-50.
Baxter, P. J. (2007). Audit committees and financial reporting quality. (Doctoral dissertation). Queensland, University of Southern Queensland.
Boonlert-U-Thai, K., Meek, G. K. and Nabar, S. (2006). Earnings attributes and protection: International evidence. The International Journal of Accounting, 41(4), 327-357.
Intakhan, P. and Ussahawanitchakit, P.(2009). Earnings management in Thailand: Effects on financial reporting reliability, stakeholder acceptance and corporate transparency. Journal of International Finance and Economics, 9(3), 1-23.
Jensen, M.C. (1986). Agency cost of free cash flow, corporate finance, and takeovers. American Economic Review, 76(2), 323–329.
Jensen, M.C. and Meckling, W.H. (1976). Theory of the firm: managerial behavior, agency costs and ownership structure. Journal of Financial Economics, 4(3), 305-360.
Lilling, M.S. (2006). The link between CEO compensation and firm performance: Does simultaneity matter?. Atlantic Economic Journal, 34(1), 101–114.
Mazadu, S.A., and Yusha’u, K.S. (2020). Earnings predictability and adoption of international financial reporting standard in the nigerian deposit money banks. Accounting and Taxation Review, 4(2): 57-74.
Mccolgan, P. (2001). Agency theory and corporate governance: A review of the literature from a UK perspective. Retrieved June 24, 2021, from http://www.ppge.ufrgs.br/giacomo/arquivos/gov-corp/mccolgan-2001.pdf
Mollah,S., Farooque, O.A., Mobarek, A., & Molynuex, P. (2019). Bank corporate governance and future earnings predictability. Journal of Financial Services Research, 56(3), 369–394
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง