แนวทางการพัฒนาตนเองของนักศึกษาสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
คำสำคัญ:
การพัฒนาตนเอง, นักศึกษา, ความต้องการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาตนเองของนักศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาตนเองของนักศึกษา เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาตนเองของนักศึกษาสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ นักศึกษาสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ชั้นปีที่ 2 – 4 ปีการศึกษาที่ 1/2563 จำนวน 105 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ตัวแทนนักศึกษาชั้นปีที่ 2 – 4 จำนวน 50 คน ที่มีลักษณะเป็นผู้นำกลุ่ม หรือมีความสนใจในการพัฒนาตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบที (t – test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – way ANOVA) สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์โดยจำแนกประเภทของข้อมูล (Typological Analysis)
ผลการศึกษา พบว่า สภาพปัญหาการพัฒนาตนเองของนักศึกษา พบว่ามีระดับปัญหาปานกลาง (x ̅ = 2.60) ความต้องการพัฒนาตนเองของนักศึกษาด้านวิชาการ ด้านความสัมพันธ์ และ ด้านความก้าวหน้า พบว่ามีความต้องการพัฒนาตนเองในระดับปานกลาง โดยให้ความสำคัญในด้านความสัมพันธ์ (x ̅ = 3.36) ด้านความก้าวหน้า (x ̅ = 3.32) และด้านวิชาการ (x ̅ = 3.28) ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาตนเองของนักศึกษาเมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ และ ชั้นปี พบว่า ทั้งด้านวิชาการ ด้านความสัมพันธ์ และ ด้านความก้าวหน้า เมื่อจำแนกตาม เพศ ด้วยค่าสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวน พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนผลการเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาตนเองของนักศึกษาด้านวิชาการ เมื่อจำแนกตามชั้นปีด้วยค่าสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวน พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ความรู้ที่ลึกซึ้งเฉพาะสาขา และ การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนการพัฒนาตนเองด้านความสัมพันธ์ และด้านความก้าวหน้า จำแนกตามชั้นปีด้วยค่าสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวน พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน และผลการวิเคราะห์หาแนวทางในการพัฒนาตนเองของนักศึกษา พบว่า ทางคณะวิทยาการจัดการ/สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์จะต้องมีการกระตุ้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์ตนเองเพื่อได้รู้ข้อบกพร่อง เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิด ออกแบบ และดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาตนเอง สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษา ทางอาจารย์ควรมีบทบาทเป็นที่ปรึกษา และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้กับนักศึกษาในกิจกรรมพัฒนาตนเอง ในเบื้องต้นควรจัดกิจกรรมพัฒนาตนเอง ด้านวิชาการ ควรจัดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเข้าใจลึกซึ้งเฉพาะสาขา ด้านความสัมพันธ์ ควรจัดกิจกรรมการพัฒนาบุคลิกภาพและมารยาททางสังคม และด้านความก้าวหน้าควรจัดกิจกรรมการพัฒนาทักษะทางการสื่อสาร โดยเฉพาะทางภาษาต่างประเทศ
References
กองบริการการศึกษา. (2563). สถิตินักศึกษาที่ลงทะเบียน. สืบค้น 3 มิถุนายน 2563, จาก https://reg.psru.ac.th/PSRU_W1/Form_PS_S1_Register.html.
กานดา เข็มศร และภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2559). แนวทางการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์ ตำบลคลองขลุง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 (น. 337-350).กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
คณะวิทยาการจัดการ. (2561). หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2556. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
จิราธร โหมดสุวรรณ และ จันทนา แสนสุข. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการพัฒนาตนเองและความสามารถในการเผชิญฝ่าฟันอุปสรรคของบุคลากรครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา. Veridian E-Journal Silpakorn University, 10(3), 270-285.
พรพิตรา ธรรมชาติ. (2560). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการทำงานและความตั้งใจในการลาออกของผู้แทนขายระดับบังคับบัญชาของกลุ่มบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2548). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
วิโรชน์ หมื่นเทพ และ วรรณพิศา พฤกษมาศ. (2556). ความต้องการพัฒนาศักยภาพตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขต จังหวัดปทุมธานี เพื่อเข้าสู่การแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
สมิต อาชวนิจกุล. (2550). การพัฒนาตนเอง. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.
สรัญญา พันธุ์แก้ว และ วรนารถ แสงมณี. (2562). ความต้องการพัฒนาสมรรถนะของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการสอบเทียบ. วารสารบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 9(2), 220-237.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนานิสิต นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา.
Alderfer, C. P. (1969). An empirical test of a new theory of human needs. Organizational Behavior and Human Performance, 4(2), 142–75. doi:10.1016/0030-5073(69)90004-X
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง