ระดับการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษา: กลุ่มทรัพยากร

ผู้แต่ง

  • สุมินทร เบ้าธรรม คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • อัยรฎา สัพโส คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • สุดารัตน์ ไชยโสตร คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • เสาวณี ภิรมย์จิตร คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • สุภัทรา กาญบุตร คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

คำสำคัญ:

การเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคม, บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, กลุ่มทรัพยากร

บทคัดย่อ

    งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มทรัพยากร ประจำปี 2563 โดยมีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 56 บริษัท โดยใช้กระดาษทำการแบบตรวจรายการเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากรายงานประจำปีและรายงานเพื่อความยั่งยืนประจำปี 2562 กำหนดหัวข้อการประเมินตามเกณฑ์และคู่มือการเข้าร่วมการประเมินความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน โดยแบ่งออกเป็น 3 มิติ ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม จำแนกเป็น 19 หมวด การวัดระดับการเปิดเผยข้อมูลเลือกใช้ดัชนีการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR Disclosure index) อยู่ในรูปอัตราส่วนของคะแนนรวมที่แต่ละบริษัทได้รับจริงกับคะแนนรวมสูงสุดที่คาดว่าจะได้รับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ

     ผลการวิจัยพบว่า บริษัทในกลุ่มทรัพยากร 56 บริษัท ส่วนใหญ่มีการเปิดเผยข้อมูลอยู่ในระดับสูงอยู่ในช่วงร้อยละ (0.68 - 1.00) จำนวน 27 บริษัท มีการเปิดเผยข้อมูลอยู่ในระดับปานกลางอยู่ในช่วงร้อยละ (0.34 - 0.67) จำนวน 28 บริษัท และมีการเปิดเผยข้อมูลอยู่ในระดับต่ำอยู่ในช่วงร้อยละ (0 - 0.33) จำนวน 1 บริษัท โดยบริษัทมีการเปิดเผยข้อมูลด้านเศรษฐกิจมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 70 รองลงมาคือด้านสังคมคิดเป็นร้อยละ 63 และด้านสิ่งแวดล้อมคิดเป็นร้อยละ 47 ตามลำดับ

Author Biographies

สุมินทร เบ้าธรรม, คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี

อัยรฎา สัพโส, คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

นักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี

สุดารัตน์ ไชยโสตร, คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

นักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี

เสาวณี ภิรมย์จิตร, คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

นักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี

สุภัทรา กาญบุตร, คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

นักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี

References

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2563). ข้อมูลรายบริษัท/หลักทรัพย์. สืบค้น 30 มิถุนายน 2563, จาก https://www.set.or.th/set/commonslookup.do?language=th&country=TH

ทัศนีย์ กล้ามาก จอมใจ แซมเร และภูริทัต อินยา. (2561). การเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทในหมวดธุรกิจการแพทย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 13(2), 63-76.

นิตยา โยธาจันทร์, ศศิวิมล มีอำพล, และไพบูลย์ ผจงวงศ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืนกับผลการดำเนินงานของบริษัทในกลุ่ม ESG100. วารสารบรรณศาสตร์ มศว., 13(2): 12-26.

ปทุมพร หิรัญสาลี. (2557). การรายงานความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการใน 56-1: กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์), สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เพชราพร เทพาคำ. (2563). การเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 6(2), 130-136.

วิภา จงรักษ์สัตย์. (2559). การเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการในประเทศไทย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา, 8(15), 128-144.

สภาวิชาชีพบัญชี. (2555). ข่าวสารสภาวิชาชีพบัญชี. สืบค้น 30 มิถุนายน 2560, จาก http://www.fap.or.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539623096&Ntype=30

สันนุดี เสลารัตน์. (2560). ความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านการเปิดเผยข้อมูลในรายงานประจำปี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 37(3). 125-142.

สิรินทร์ ศรีมงคลพิทักษ์ และมนวิกา ผดุงสิทธิ์. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปิดเผยข้อมูลพนักงานตามความสมัครใจ. วารสารวิชาชีพบัญชี, 8(21), 41-57.

สิรีนาฏ นาคเลิศ และมัทนชัย สุทธิพันธุ์. (2559). อิทธิพลของการกำกับดูแลกิจการต่อการเปิดเผยข้อมูลสิ่งแวดล้อมของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 38(149), 1-37.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2564). แบบ 56-1 One Report. สืบค้น 9 กันยายน 2564, จาก https://www.sec.or.th/onereport.

อนันตชัย ยูรประถม. (2559). แนวปฏิบัติด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรม:ทรัพยากร, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพนมหานคร : ศูนย์พัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

Abbott, W. F., and Monsen, R. J. (1979). On the Measurement of Corporate Social Responsibility: Self-reported Disclosures as a Method of Measuring Corporate Social Involvement. Academy of Management Journal, 22(3), 501-515.

Bhattacharyya, A. (2014). Factors Associated with the Social and Environmental Reporting of Australian companies. Australasian Accounting Business and Finance Journal, 8(1), 25-50.

Gamerschlag, R., Moller, K. and Verbeeten, F. (2011). Determinants of Voluntary CSR Disclosure: Empirical Evidence from Germany. Review of Managerial Science, 5, 233-262.

Mohd Ghazali, N. A. (2007). Ownership Structure and Corporate Social Responsibility Disclosure: Some Malaysian evidence. Corporate Governance, 7(3), 251-266.

Rouf, Md. A. (2011). The Corporate Social Responsibility Disclosure: A study of Listed Companies in Bangladesh. Business and Economics Research Journal, 2(3), 19-32.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-05

How to Cite