โครงสร้างรายจ่ายและผลกระทบของขนาดครัวเรือนต่อรายจ่ายของครัวเรือนไทย

ผู้แต่ง

  • อรกช เก็จพิรุฬห์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • พรนภา ศรีแก้ว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

รายจ่ายของครัวเรือน, รายได้ของครัวเรือน, ขนาดครัวเรือน

บทคัดย่อ

     ภาวะเศรษฐกิจ สังคม และโครงสร้างประชากรไทย ได้เปลี่ยนแปลงไป ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปลี่ยนแปลงจากครอบครัวใหญ่เป็นครอบครัวเล็ก รวมถึงการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต และมาตรฐานการครองชีพของประชากรไทย บทความวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบโครงสร้างรายจ่ายของครัวเรือนที่มีขนาดต่างกัน และวิเคราะห์ผลกระทบของขนาดครัวเรือนต่อรายจ่ายของครัวเรือน โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2562 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสมการถดถอยอย่างง่าย ผลการเปรียบเทียบโครงสร้างรายจ่ายของครัวเรือนที่มีขนาดแตกต่างกัน พบว่า โดยเฉลี่ยรายจ่ายส่วนใหญ่ของครัวเรือนทุกขนาด คือ ค่าอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ อันดับที่สอง สำหรับผู้ที่อยู่คนเดียวมีรายจ่ายส่วนใหญ่ในการอุปโภคบริโภค คือ ค่าที่อยู่อาศัย ส่วนครัวเรือนที่มีสมาชิกตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป คือ ค่าเดินทางและการสื่อสาร ผลการศึกษาผลกระทบของขนาดครัวเรือนต่อรายจ่ายของครัวเรือน พบว่า ระดับรายได้ ขนาดครัวเรือน การเปลี่ยนแปลงของมูลค่ารายได้และการเปลี่ยนแปลงของขนาดครัวเรือน ส่งผลกระทบต่อรายจ่ายทั้งหมดของครัวเรือนในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Author Biographies

อรกช เก็จพิรุฬห์, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินการธนาคาร

พรนภา ศรีแก้ว, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

นักศึกษาสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ

References

ครัวเรือนไทย. (มปป.). สำมะโนประชากรและเคหะ: นานาสาระ ข้อมูลประชากร. สืบค้น 26 มิถุนายน 2564, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/pop/ครัวเรือนไทย.aspx

เจาะลึกระบบสุขภาพ. (2556, 27 เมษายน). ห่วงผู้สูงอายุไทยส่อขาดคนดูแลเหตุอัตราเกิดลด. กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้น 4 มิถุนายน 2564, จาก https://www.hfocus.org/content/2013/04/2929

ณัฐมธุรา ภูริเทเวศร์. (2547). การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในการบริโภคผลไม้ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย ปี 2562. สืบค้น 26 มิถุนายน 2564, จากhttps://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/AnnualReport/AnnualReport/AanualReport2562.pdf

ภัทรพร กิจชัยนุกูล และพาชิตชนัญ ศิริพานิช. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าใช้จ่ายของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารจันทรเกษมสาร, 20(38), 97-105.

เยาวลักษณ์ สมคำ. (2552). การวิเคราะห์โครงสร้างค่าใช้จ่ายของภาคครัวเรือนในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วาทิตร รักษ์ธรรม. (2548). การวิเคราะห์ภาคตัดขวางของพฤติกรรมและฟังก์ชันการบริโภคของครัวเรือนไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. ISBN: 974-677-539-1.

สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน. (2564, 14 กุมภาพันธ์). เด็กเกิดน้อย ต้องเพิ่มคุณภาพไม่ใช่ปริมาณ. ผู้จัดการออนไลน์.สืบค้น 15 มีนาคม 2564, จาก https://mgronline.com/qol/detail/9640000015703

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2553). สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553. สืบค้น 26 มิถุนายน 2564, จาก https://broadcast.nbtc.go.th/data/training/doc/570200000023.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2543, 2553, 2563). รายงานผลการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือน 2563 ทั่วราชอาณาจักร. สืบค้น 11 มีนาคม 2564, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขาประชากร/ข้อมูลพื้นฐานครัวเรือน/2563/full_ report.pdf

Banerjee, A. V., & Duflo, E. (2007). The Economic Lives of the Poor. The Journal of Economic Perspectives, 21(1), 141-167. doi: 10.1257/089533007780095556

Bils, M., & Klenow, P. J. (2001). Quantifying Quality Growth. The American Economic Review, 91(4), 1006-1030. doi: 10.1257/aer.91.4.1006

Carsten, S., Katrin, R., Daiju, N., & Toishihiro, O. (2015). The decline in average family size and its implications for the average benefits of within-household sharing, Oxford Economic papers, 67(3), 760-780.

Chai, A. (2018). Household consumption patterns and the sectorial composition of growing economies: A review of the interlinkages. Vienna: United Nations Industrial Development Organization.

Houthakker, H. S. (1957). An international comparison of household expenditure patterns. Econometrica, 25, 532-551.

Jackson, L. F. (1984). Hierarchic Demand and the Engel Curve for Variety. The Review of Economics and Statistics, 66(1), 8-15.

Jain, L. R. (1983). Effect of household size on household expenditure pattern: Application of an addilog Engel model. The Indian Journal of Statistics, 45(3), 431-446.

Keynes, J. M. (1936). The general theory of employment, interest, and money. New York: Harcourt, Brace, and Company.

Kim, K. S., & Kim, D. Y. (1975). The effect of household size, structure and income on expenditure patterns. Geneva: International Labor organization.

Kuznetz, S. (1946). National product since 1869. New York: National Bureau of Economics Research Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-14

How to Cite

เก็จพิรุฬห์ อ. ., & ศรีแก้ว พ. . . . (2021). โครงสร้างรายจ่ายและผลกระทบของขนาดครัวเรือนต่อรายจ่ายของครัวเรือนไทย. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 3(1), 17–31. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/253372