การศึกษาพฤติกรรมการดำรงชีวิต (Lifestyles) และความพึงพอใจ ในการดำรงชีวิตของกลุ่ม LGBTQ+ ในจังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • เสกสรร สายสีสด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • ดสพร เกิดทิม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • ปรัญชัย จำปาศักดิ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • ลลิตา ศรีตะทา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • พลอยชมภู บุญมา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • ภารณีรักษ์ อุตรักษ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, การดำรงชีวิต, ความพึงพอใจ, ความต้องการ, LGBTQ, อุดรธานี

บทคัดย่อ

      งานวิจัยเรื่อง “การศึกษาพฤติกรรมการดำรงชีวิต (Lifestyles) และความพึงพอใจในการดำรงชีวิตของกลุ่ม LGBTQ+ ในจังหวัดอุดรธานี” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้ชีวิตของกลุ่ม LGBTQ+ ในจังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการดำรงชีวิตของกลุ่ม LGBTQ+ ในจังหวัดอุดรธานี 3) เพื่อศึกษาความต้องการของกลุ่ม LGBTQ+ ในจังหวัดอุดรธานี เครื่องมือในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม จากกลุ่มประชากรกลุ่มตัวอย่าง (เพศทางเลือก) ที่มีอายุระหว่าง 15-60 ปี ขึ้นไป จำนวน 100 คน การสุ่มตัวอย่างเลือกใช้วิธีแบบบอลหิมะ (Snowball sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม จำนวน 4 ตอน ผลการวิจัยพบว่า

     1. พฤติกรรมการใช้ชีวิตของกลุ่ม LGBTQ+ ในจังหวัดอุดรธานี พบว่าส่วนใหญ่ ผู้ตอบแบบสอบถามชื่นชอบการแต่งตัวลุคแมน คิดเป็นร้อยละ 29.0 ส่วนใหญ่จะเลือกซื้อเสื้อผ้า คิดเป็นร้อยละ 59.0 สถานที่เลือกซื้อสินค้าที่ตลาด คิดเป็นร้อยละ 47.0 สิ่งที่คำนึงถึงในการเลือกซื้อสินค้าคือความสวยงาม คิดเป็นร้อยละ 27.89

     2. ด้านความพึงพอใจของกลุ่ม LGBTQ+ ในจังหวัดอุดรธานี พบว่าสามารถอยู่ในสังคมได้โดยไม่มีปัญหา อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.42) ยอมรับกับสิ่งที่คุณกำลังเป็นอยู่ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.35) มีความสุขกับการเป็นอยู่ในการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน (gif.latex?\bar{x} = 3.81) พึงพอใจต่อนโยบายของรัฐที่มีต่อกลุ่มเพศทางเลือก อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 3.10) และความลำบากมากกับการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบัน (gif.latex?\bar{x} = 2.91)

     3. ด้านความต้องการของกลุ่ม LGBTQ+ ในจังหวัดอุดรธานี พบว่ากลุ่ม LGBTQ+ มีความต้องการใช้สิทธิมนุษยชนที่เป็นสากล อยู่ในเกณฑ์มาก (gif.latex?\bar{x} = 4.42) ความเสมอภาค และการห้ามเลือกปฏิบัติ (gif.latex?\bar{x} = 4.32) การรับรองทางกฎหมายในการคุ้มครอง (gif.latex?\bar{x} = 4.32) ด้านความพึงพอใจเกี่ยวกลุ่ม LGBTQ+ พบว่ายอมรับกับสิ่งที่คุณกำลังเป็นอยู่ ระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.35) บุคคลเพศที่ 3 อยู่ในสังคมได้โดยไม่มีปัญหา อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.42) ความพอใจกับการเบี่ยงเบนทางเพศของตนเอง อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.72) มีความสุขกับการเป็นอยู่ในการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.81)

Author Biographies

เสกสรร สายสีสด, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

สาขาวิชานิเทศศาสตร์

ดสพร เกิดทิม , คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

สาขาวิชานิเทศศาสตร์

References

กฤตยา อาชวนิจกุล. (2554). เพศวิถีที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในสังคมไทย. วารสารประชากรและสังคม, 15(1), 43-66.

เคท ครั้งพิบูลย์. (2562). สิทธิเพศหลากหลายในฐานะพลเมืองและความต้องการสวัสดิการสังคมในประเทศกำลังพัฒนา. ใน การสัมมนาวิชาการเนื่องในโอกาสการสถาปนาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 65. (น. 222-234). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชมพูนุท นรินทรางกูล ณ อยุธยา และประณีต ใจหนัก. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างโชเชียลมีเดียและการตอบสนองของผู้บริโภคในการเข้าถึงข้อมูลทางการตลาด. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2(2), 11-25.

ชุติภาส อุดมสุด. (2560). การศึกษาทัศนคติของกลุ่มชายรักชาย (เกย์) ที่มีผลต่อการเลือกซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมเพื่อการส่งเสริมสถานะทางสังคม. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธาดา สืบหลินวงศ์ และคณะ. (2551). แนวทางจริยธรรมการทำวิจัยในคนในประเทศไทย พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญเทพ ไกรศรี และภควดี พัฒน์มณี. (2562). บรรยากาศภายในองค์การและความพึงพอใจในงานของกลุ่มพนักงานสํานักงานที่มีอัตลักษณ์หลากหลายทางเพศในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง, 2(3), 73-87.

นุชเนตร กาฬสมุทร์ และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2560). กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางเพศของกลุ่มชายรักชาย : กรณีศึกษา นักศึกษาสาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย, 9(1), 56-67.

พิมพ์ชนก เขมพิลา. (2561). LGBTQ คืออะไร สำคัญอย่างไร มหาวิทยาลัยต่างประเทศจัดการกับประเด็นนี้อย่างไร. สืบคืน 1 พฤษภาคม 2564, จาก: https://www.hotcourses.in.th/study-abroad-info/before-you-leave/what-is-lgbtq/.

รังสิมา วิวัฒน์วงศ์วนา. (2560). เพศวิถีกับการสร้างอัตลักษณ์ในพื้นที่โรงเรียน. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติและนานาชาติ 2560. (น. 63-73). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สายฝน พุดประกอบ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์กับพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางของผู้บริโภคกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ(LGBT). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สุมิตรา วงภักดี. (2564). อสังหาฯ เจาะอำนาจซื้อ LGBT ‘พร้อมจ่าย’ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์. สืบค้น 1 พฤษภาคม 2564, จาก: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/933909.

อรุณี นุสิทธิ์ และณฐกร สมสงวน. (2562). คุณภาพชีวิตการทำงานและพฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดีของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์เขต 4 นครสวรรค์. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 1(1), 71-81.

อุษณีย์ เส็งพานิช. (2562). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางสมุนไพรของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 1(2), 103-117.

อเนก สุวรรณบัณฑิต และภาสกร อดุลพัฒนกิจ. (2550). จิตวิทยาบริการ. กรุงเทพฯ: อดุลพัฒนกิจ.

Hatchel, T., Espelage, D. L., & Huang, Y. (2018). Sexual harassment victimization, school belonging, and depressive symptoms among LGBTQ adolescents: Temporal insights. American Journal of Orthopsychiatry, 88(4), 422-430.

Kotler, Philip. (2000). Marketing Management. The Millennium edition. New Jersey : Prentic – Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-13

How to Cite