การตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ผู้แต่ง

  • อรุณี นุสิทธิ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • รัตนา สิทธิอ่วม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • จิราพร ลำเจียก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ, สาขาวิชาการบัญชี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับความคิดเห็นของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากนักเรียนชั้นปีที่ 1 ภาคปกติ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ประจำปีการศึกษา 2560 จำนวน 148 คน ตามวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม พ.ศ. 2561 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน   ผลการศึกษาพบว่า โดยภาพรวมระดับความคิดเห็นในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาการบัญชีอยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่า ระดับความคิดเห็นมากเป็นลำดับแรก คือ ปัจจัยด้านหลักสูตร รองลงมาคือ ปัจจัยด้านความถนัด/ความสนใจ และรองลงมาคือ ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการเลือกเข้าศึกษา ตามลำดับ ขณะที่ระดับความคิดเห็นในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อที่อยู่ในระดับต่ำที่สุดคือ ปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์ ดังนั้น ข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้คือ ในปีการศึกษาต่อไป สาขาวิชาควรปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน นอกจากนี้ สาขา คณะ และมหาวิทยาลัยควรเพิ่มความสำคัญในด้านการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับหลักสูตรให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์ หรือประชาสัมพันธ์และการแนะแนวเคลื่อนที่ของมหาวิทยาลัย

Author Biography

อรุณี นุสิทธิ์ , คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

References

ฉัตรยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ณัชชา สุวรรณวงศ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานนครราชศรีมา(ระบบโควตา) มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน นครราชศรีมา, เข้าถึงเมื่อ 24 พฤษภาคม 2561. จาก https://www.rmuti.ac.th/news/attash/.

ดวงฤทัย แก้วคำ และวิมลพรรณ อาภาเวท. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตดุสิต. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร. พระนคร. 1(2). หน้า 42-49.

ธงชัย สันติวงศ์. (2538). หลักการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สิทธิพันธ์ ยศยอดยิ่ง. (2547). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยของนิสิตปริญญา มหาบัณฑิตทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์. ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิสิทธิ์ ไชยยงค์ และจุฑาสินี ชนะศึก. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. เข้าถึงเมื่อ 30 พฤษภาคม 2561. จาก http://qa.sskru.ac.th/research/sys/research/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-13

How to Cite

นุสิทธิ์ อ., สิทธิอ่วม ร. ., & ลำเจียก จ. . (2021). การตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2(2), 74–84. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/253024