พฤติกรรมการบริโภคอาหาร “ฮาลาล” ของผู้บริโภค ในจังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ชมพูนุท นรินทรางกูล ณ อยุธยา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

พฤติกรรมผู้บริโภค, อาหารฮาลาล, ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์, ปัจจัยด้านราคา, ปัจจัยด้านค่านิยม

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหาร “ฮาลาล” ของผู้บริโภคในจังหวัดพิษณุโลก โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างเป็นชาวมุสลิม อายุ 20 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา และปัจจัยด้านค่านิยมในวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความถี่และค่าใช้จ่ายในการบริโภคอาหารฮาลาลของผู้บริโภคชาวมุสลิมในจังหวัดพิษณุโลก

References

นิชาภัทร อันนันนับ . (2559). คุณภาพการบริการและส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการร้านอาหารอิสลามในเขตกรุงเทพมหานคร.

พีระกานต์ วสุธรพิพัฒน์. (2553). พฤติกรรมการบริโภคอาหาร “ฮาลาล” ของผู้บริโภคคนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร.

วิริยา บุญมาเลิศ และ คมสัน โสมณวัตร. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์ และศุภรเสรีรัตน์. (2552). การบริหารตลาดยุคใหม่.กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

สราวรรณ์ เรืองกัลปปวงศ์ และอรรนพ เรืองกัลปปวงศ์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุงพร้อมทานแช่แข็งภายใต้เครื่องหมายรับรองฮาลาลของผู้บริโภคมุสลิมในกรุงเทพมหานคร.

สุดาพร กุณฑลบุตร. (2557). หลักการตลาดสมัยใหม่. สำนักพิมพ์จุฬาลงภรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพ.

อดุลย์ จาตุรงคกุล และดลยา จาตุรงคกุล. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค.. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-01

How to Cite