ความต้องการด้านการรับบริการวิชาการของชุมชนบ้านม่วงหอม ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • นภาภรณ์ อุ่นปรีชาวณิชย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การรับบริการวิชาการ, ชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความต้องการด้านการรับบริการวิชาการของชุมชนบ้านม่วงหอม ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง  จังหวัดพิษณุโลก โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านม่วงหอม ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญทั้งเพศชาย และเพศหญิงจำนวนทั้งสิ้น 274 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติพรรณนาสำหรับข้อมูลปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลวิเคราะห์ด้วยความถี่ ค่าสถิติร้อยละ และข้อมูลความต้องการด้านการรับบริการวิชาการ  รายด้าน ได้แก่ ด้านการจัดฝึกอบรม สัมมนา อภิปราย และบรรยาย การให้คำปรึกษาทางวิชาการและวิชาชีพ และ ด้านการบริการสารสนเทศ โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วย การค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบระดับความต้องการ โดยใช้สถิติทดสอบ t-test และ f-test ผลวิจัยพบว่า ในภาพรวมชุมชนมีความต้องการรับบริการวิชาการของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ด้านการให้คำปรึกษาทางวิชาการและวิชาชีพ มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการจัดฝึกอบรมสัมมนา อภิปราย และบรรยาย ส่วนลำดับต่ำสุด ได้แก่ ด้านบริการสารสนเทศ และเมื่อจำแนกความต้องการตามเพศ พบว่าภาพรวมความต้องการรับบริการวิชาการของชุมชนในเพศชายโดยเฉลี่ยไม่แตกต่างจากเพศหญิง อย่างมีนัยสำคัญที่สถิติที่ระดับ .05 

References

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. แผนยุทธศาสตร์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ฉบับปี 2559). มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ภาควิชามนุษย์ศาสตร์ คณะศิลปะศาสตร์ประยุกต์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. สรุปผลการสำรวจปัญหาและความต้องการการบริการวิชาการด้านสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ ปีการศึกษา 2554, 2554.

จินตนา มังคละกนก. ความต้องการการรับบริการวิชาการของชุมชนและสังคม ในเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร และเขตจังหวัดปราจีนบุรี. กองแผนงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ 2554.

ประเสริฐ อิ่มใจ. ความต้องการอาชีพเสริมของประชาชนในตำบลห้วยท่าช้าง พ.ศ. 2553. วรสารสมาคมนักวิจัย ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2557. กรุงเทพ.

พีรศักดิ์ เสรีกุล, ชูชีพ เขียวอุดม และจงรักษ์ สมใจ. การสำรวจเชิงวิเคราะห์ความต้องของชุมชนในภาคตะวันออก กลุ่มจังหวัดปราจีนบุรี นครนายกและสระแก้ว. งานวิจัยทุนวิจัย สนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา, 2551.

สายัณห์ ปานบุตร และนายโกศล ตึกขาว. การศึกษาความต้องการของชุมชนในจังหวัดพังงากรณีศึกษาอำเภอคุระบุรี. 2553. บทคัดย่อรายงานวิจัย สืบค้นจาก http://sayansblogs.blogspot.com/2010/09/blog-post.html. เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2561

สำราญ บุญชิต. การบริการจัดการที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนของสำนักงานเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร.

วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552.

สวิชญา ศุภอุดมฤกษ์ ตรีรัตน์ และภัทราภรณ์ ดีสลิด, รายงานผลการดำเนินโครงการสำรวจความต้องการบริการวิชาการ ด้านการท่องเที่ยวในท้องถิ่น, คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่, 2558.

Kotler, P. & Armstrong, G., (2014). Principles of Marketing. (15th ed.). United States of America: Courier / Kendallville.Prentice - Hall, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-01

How to Cite