การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม หมู่บ้านห้วยเฮี้ย ตำบลห้วยเฮี้ย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ณพัชรพรรณ กี่อย่างรุ่งเรือง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • รัตนา สิทธิอ่วม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ณัฐการนต์ ณัฐธัญสกุล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ณัฐนี แซ่โง้ว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ณีรนุช ทิมเทศ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • พุทธิชา สิงห์ทอง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ศิริพร นาคทรัพย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ศุภรักษ์ เทศมหา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • สุนิสา เจริญจิตต์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

ต้นทุน, ผลตอบแทน, การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของกลุ่มเกษตรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม หมู่บ้านห้วยเฮี้ย ตำบลห้วยเฮี้ย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก เก็บรวบรวมข้อมูลจากสัมภาษณ์เชิงลึกเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง  จำนวน 10 คน จากประธานกลุ่ม เลขานุการ และสมาชิก เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะการดำเนินงาน  ค่าใช้จ่ายในการลงทุน  ค่าใช้จ่ายในการผลิต  และรายได้จากการผลิตผลรังไหม  ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาใช้วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา  และวิเคราะห์เชิงปริมาณด้วยเครื่องมือทางการเงิน ผลการศึกษาพบว่า หมู่บ้านห้วยเฮี้ย  มีจำนวนเกษตรที่มีอาชีพเลี้ยงไหม จำนวน 75 ราย  ส่วนใหญ่เกษตรหนึ่งรายมีพื้นที่ในการปลูกหม่อน 15 ไร่ แหล่งเงินทุนมาจากการกู้ยืมธนาคาร  จากการศึกษาพบว่า 1) ค่าใช้จ่ายในการเริ่มลงทุนครั้งแรกเท่ากับ 874,711.80 บาท  และต้นทุนรวมในการปลูกหม่อน  22,399 บาท/ปี ประกอบด้วยค่าวัตถุดิบทางตรง 7,500 บาท/ปี  ค่าแรงงานทางตรง 400 บาท/ปี  และค่าใช้จ่ายในการผลิต 14,499 บาท/ปี   2) ผลตอบแทน/รายได้ 196,849.20 บาท/ปี  ส่งผลให้เกษตรได้รับการคืนทุนภายใน 11 ปี  4 เดือน  มูลค่าปัจจุบัน (NPV) จำนวน (325,510.66) บาท  และอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ร้อยละ 0.85 

References

กรมหม่อนไหม. (2560). ทิศทางและแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2561. สืบค้น 12 ธันวาคม 2560, จาก http://122.154.22.188/newqsds/file_upload/1118compressed-.pdf

กรมหม่อนไหม. (2561). ข่าวในแวดวงหม่อนไหม. สืบค้น 31 มีนาคม 2561, จาก https://qsds.go.th/newqsds/newsround_showall.php

จตุพร พินิจนึก. (2559). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตเส้นไหมกลุ่มผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม บ้านโคก ตำบลเนินยาง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสังคมมนุษย์.4(2),350-367.

จักรพันธ์ ประดับกูล. (2553). ต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตหัตถกรรมตีลายแผ่นแร่ ของบ้านป่าสักขวาง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงไหม่.

ฐาปนา ฉินไพศาล. (2560). การเงินธุรกิจ.พิมพิ์ครั้งที่ 29. นนทบุรี:ธนธัชการพิมพ์.

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. (2561). อัตราดอกเบี้ยเงินกู้. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2561,จาก https://www.baac.or.th/content-rate.php?content_group_sub=2

ธานินทร์ ไชยเยชน์. (2558). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของที่ระลึกกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหนองตาไก้ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี.9(19),51-61.

บัวเรียม สิงห์ทอง. ประธานกลุ่ม. (30 กันยายน 2560). การส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม.

ภัทรพงษ์ วงศ์สุวัฒน์, พิษณุวัฒน์ ทวีวัมน์, และฑนัทนันท์ ทวีวัฒน์. (2558). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโรงงานแปรรูปไม้ยางพาราในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ,2(1), 71-81.

วราภรณ์ สุทธิสา. (2554). การถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปใบหม่อนและผลหม่อนเป็นอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ. (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2552). การบัญชีบริหาร. กรุงเทพ:แมคกรอ-ฮิล.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). GDP ไตรามาสที่สี่ทั้งปี 2560 และแนวโน้มปี 2561. สืบค้น 19 กุมภาพันธ์ 2561, จาก http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=5165

สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีหม่อนไหม. (2561). คู่มือปฏิบัติปีงบประมาณ 2561 สืบค้น 31 มีนาคม 2561, จาก http://122.154.22.188/odt_new/file_upload/2017-11-08-1.pdf

สุพัฒตรา วังกาวรรณ, พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ และบำเพ็ญ เขียวหวาน. (2557). การจัดการแปลงหม่อนเพื่อการเลี้ยงไหมอุตสาหกรรมของเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก. ใน การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 4 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์. (2555). การบัญชีต้นทุนเพื่อการบริหาร. ขอนแก่น:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อภิญญา เชื้อช่างเขียน, อุทุมพร ไชยวงษ์ และอนุพงศ์ วงศ์ไชย. (2561) ต้นทุนและผลตอบแทนในการเพาะปลูกข้าวโพดหวานฝักสด ของเกษตรกรภายใต้ระบบพันธะสัญญากับศูนย์วิจัยข้าวโพดและ ข้าวฟ่างแห่งชาติ. แก่นเกษตร,46(1:2561),683-689.

อุกฤษฎ์ พงษ์วานิชอบอนันต์. (2552). การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทน การผลิตอ้อยโรงงาน ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอพนมทวน

จังหวัดกาญจนบุรี ปีการเพาะปลูก2550/2551. (สาระนิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-01

How to Cite