การประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารในการจัดการธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • อุษณีย์ เส็งพานิช คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การบัญชีบริหาร, วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, การบริหารกิจการ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้บัญชีบริหารในการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก และเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารในการวางแผน การสั่งการ การควบคุม และการตัดสินใจ จำแนกตามลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้แก่ รูปแบบธุรกิจ มูลค่าสินทรัพย์ถาวร จำนวนพนักงาน ระยะเวลาดำเนินงาน กำหนดขนาดตัวอย่างด้วยตาราง Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้จำนวนตัวอย่าง 395 ราย ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (simple random sampling) เพื่อเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ F-test ผลการวิจัยพบว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดพิษณุโลกมีการประยุกต์ใช้การบัญชีเพื่อการจัดการโดยภาพรวมในระดับมาก นอกจากนี้ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีรูปแบบกิจการ มูลค่าสินทรัพย์ถาวร และระยะเวลาในการดำเนินการต่างกัน มีการประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารด้านการวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจแตกต่างกัน ส่วนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีจำนวนพนักงานต่างกัน มีการประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารด้านการสั่งการ และการควบคุมแตกต่างกัน

References

กชกร เฉลิมกาญจนา. (2557). การบัญชีบริหาร (การบัญชีต้นทุน 2). กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2545). กาหนดจำนวนการจ้างงานและมูลค่าสินทรัพย์ถาวรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. กรุงเทพ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). หลักสถิติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คมกฤช ภาวศุทธินนท์ และสุภาภรณ์ คงสวัสดิ์ . (2554). การบัญชีบริหาร: บทบาทสำคัญในฐานะเครื่องมือสำหรับผู้นำองค์กรยุคใหม่. วารสารนักบริหาร, 31(3), หน้า 125-129.

วราภรณ์ นาคใหม่ และสมยศ อวเกียรติ. (2558). การประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจในเขตภาคกลาง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 7(1), 39-53.

วีระวรรณ ศิริพงษ์. (มกราคม -มิถุนายน 2560). การใช้บัญชีบริหารของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการหาดใหญ่, 15(1), หน้า 59-72.

สมเจตต์ ปันแก้ว. (2556). ความต้องการใช้ข้อมูลทางบัญชีบริหารของผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้างในอำเภอเมืองเชียงใหม่ . เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ และพนารัตน์ ปานมณี. (2561). การบัญชีบริหาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยลัยเกษมบัณฑิต.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2560). การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่เมืองเล็ก (Hinterland): การส่งเสริม SME ในจังหวัดพิษณุโลก. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.

สิน พันธุ์พินิจ. (2554). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์ = Research techniques in social science . กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สุชาติ เหล่าปรีดา. (2554). หลักการบัญชี 1. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

หยาดพิรุฬห์ สิงหาด และประเวศ เพ็ญวุฒิกุล . (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้ข้อมูลการบัญชีบริหารกับความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคใต้. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(2), 373-383.

อุษณีย์ เส็งพานิช. (2558). การบัญชีและการใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการบริหารจัดการของ SMEs ในเขตภาคเหนือ. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 8(2), 101-113.

อุษณีย์ เส็งพานิช. (2560). การบัญชีต้นทุน 2. พิษณุโลก: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-27

How to Cite