การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลทับยายเชียง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • พัชรา วงศ์แสงเทียน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • สกุณา พัฒนเวช คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การบริหารจัดการ, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลทับยายเชียง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ประชากรได้แก่ ประชาชนใน 6 หมู่บ้าน ทั้งหมดจำนวน 5,444 คน มีขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 361 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบคือ Independent Sample T-Test และ One way Anova ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลทับยายเชียง ในภาพรวมทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมาก แต่เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากสุด คือด้านการปฏิบัติประชาชน รองลงมาคือ การมีส่วนร่วมการรับผลประโยชน์ ด้านการวางแผน การร่วมคิดและตัดสินใจ และด้านการร่วมประเมินผล ตามลำดับ ส่วนผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลทับยายเชียง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ทั้ง 4 ด้านจำแนกตามเพศและการศึกษาไม่แตกต่างกัน ยกเว้นจำแนกตามอายุและอาชีพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

References

กนกพร แสงศรี. (2553) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทาแผนพัฒนาตำบลของ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะปันหยี อำเภอเมือง จังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์ : รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชานโยบายสาธารณะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

กิตติชัย รัตนะ.(2552) ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและภาคีเครือข่ายด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม. เอกสารประกอบการสัมมนา. วันที่ 12-13 พฤศจิกายน พ.ศ.2552. โรงแรมมณเฑียรจังหวัดชลบุรี.

จงรักษ์ วงษ์สิงห์.(2549) การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของบ้านปากคลองบางคู้ ตำบลบางคู้ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. ลพบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ชาติชาย ทองสง. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

เชียรทอง ทองนุ่น. (2550) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลผาจุก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ : ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ธีระยุทธ สุดเสมอใจ. (2550) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์ : ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ภัชรินทร์ กอบตระกูล. (2550) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล กรณีศึกษาในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปริด อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี. ขอนแก่น: รายงานการศึกษาอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รจนา น้อยปลูก. (2557) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทาแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหาร
ส่วนตำบลแจ้ห่ม อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง. กรุงเทพฯ: รายงานค้นคว้าอิสระ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตมหาบัณฑิต (การบริหารท้องถิ่น) มหาวิทยาลัยเนชั่น.

เรวัตร กนกวิรุฬห์. (2550) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. ขอนแก่น: รายงานการศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เสนาะ ติเยาว์. (2546) หลักการบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). พิมพ์ลักษณ์ , กรุงเทพฯ : คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรรถพล เสือแท้ (2560) บทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะพยาม อำเภอเมือง จังหวัดระนอง. วิทยานิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-27

How to Cite