การวางแผนการเงินหลังการเกษียณของประชาชน หมู่บ้านเอื้ออาทร ตำบลปากแคว อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • รัตนา สิทธิอ่วม สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ภัทรสิริ ทิพย์ธนมณี สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • อรวรรณ จิตรค้ำคูณ สาขาการจัดการประยุกต์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การวางแผนการเงิน, การออมและการลงทุน, การเกษียณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาการวางแผนการเงินหลังเกษียณของประชาชนหมู่บ้านเอื้ออาทร ตำบลปากแคว อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเอื้ออาทร ตำบลปากแคว อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย จำนวน 205 ตัวอย่าง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาของการวางแผนการเงินหลังการเกษียณ 5 ด้าน เป็นดังนี้ ด้านการจัดการในเรื่องทรัพย์สินประชาชนส่วนใหญ่มีสินทรัพย์สภาพคล่องไม่เกิน 100,000 บาท ด้านการบริหารสินเชื่อเพื่อการบริโภคนั้นพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีบัตรเครดิต ส่วนด้านการออมการลงทุน พบว่า มีการออมต่อเดือนไม่เกิน 5% ของรายได้ มีวัตถุประสงค์ในการออมเงินเพื่อความจำเป็นและฉุกเฉิน ด้านการบริหารความเสี่ยงและการประกันประชาชนส่วนใหญ่ทำประกันชีวิตเพื่อเป็นการลงทุนและออม ส่วนด้านการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลนั้น พบว่า ส่วนใหญ่ประชาชนมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี สำหรับข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเข้าไปให้ความรู้เทคนิคการวางแผนการเงินก่อนวัยเกษียณ ทักษะในการประกอบอาชีพเสริม การทำบัญชีรายรับรายจ่ายครัวเรือน เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้หลังจากการเกษียณ

References

กมลพร เก้าเอี้ยน. (2556). การจัดการการเงินส่วนบุคคลของข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร. นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

กาญจนา หงษ์ทอง. (2551). เข็มทิศการเงิน. กรุงเทพมหานคร : กรุงเทพธุรกิจ Bizbook.

กิจติพร สิทธิพันธุ์. (2552). การวางแผนการเงินส่วนบุคคลเพื่อวัยเกษียณ กรณีศึกษาเฉพาะครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

กำพล สุทธิพิเชษฐ์. (ม.ป.ป.). ตลาดนัดการเงิน ชีวิตที่ออกแบบได้. สืบค้นเมื่อ15 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://www.khomesmilesclub.com/ KHSC_Article_29.asp.

ณิชาภา กุณวงศ์. (2556). การวางแผนการเงินส่วนบุคคลของประชาชนตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. ลำปาง : มหาวิทยาลัยเนชั่น.

บรรลุ ศิริพานิช. (2557). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2557. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)., กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

พัฒนี ทองพึง. (2555). การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลเพื่อวัยเกษียณอายุ : กรณีศึกษาเฉพาะครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

มุกดา โควหกุล. (2558). การจัดการการเงินส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยรังสิต.

รัชนีกร วงศ์จันทร์. (2553). การบริหารการเงินส่วนบุคคล. กรุงเทพมหานคร, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

ศิรินุช อินละคร. (2556). การเงินบุคคล. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-23

How to Cite

สิทธิอ่วม ร., ทิพย์ธนมณี ภ., & จิตรค้ำคูณ อ. (2019). การวางแผนการเงินหลังการเกษียณของประชาชน หมู่บ้านเอื้ออาทร ตำบลปากแคว อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 1(1), 1–13. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/210840