การศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติ อิทธิพลทางสังคม และการตัดสินใจซื้อสินค้ามูเตลู ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้ซื้อที่มีพื้นฐานการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์

Main Article Content

เจนจิรา มะลาศรี
ภิญรดา เมธารมณ์*

บทคัดย่อ

         งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ ทัศนคติ อิทธิพลทางสังคม และการตัดสินใจซื้อสินค้ามูเตลูประเภทอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ซื้อที่มีพื้นฐานการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ และผู้ซื้อที่มีพื้นฐานการศึกษาทางสังคมศาสตร์ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง 10 คน ได้แก่ กลุ่มผู้ซื้อที่มีพื้นฐานการศึกษาในระดับปริญญาตรีในสาขาทางวิทยาศาสตร์ 5 คน และในสาขาทางสังคมศาสตร์ 5 คน


         ผลการวิจัยพบว่า ทัศนคติและอิทธิพลทางสังคมส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้ามูเตลูประเภทอิเล็กทรอนิกส์ โดยทัศนคติที่ทำให้เกิดความต้องการต่อสินค้าจะสอดคล้องกับความต้องการของแต่ละบุคคล และจุดเริ่มต้นของความต้องการต่อสินค้าของกลุ่มตัวอย่างเกิดจากอิทธิพลทางสังคม นอกจากนี้ยังพบว่าในขั้นตอนการประเมินทางเลือก กลุ่มตัวอย่างจะพิจารณาจากตราสินค้าและส่วนประสมทางการตลาดเป็นหลัก โดยสิ่งที่นำมาพิจารณามากที่สุดคือความเหมาะสมของราคาเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าภายใต้ความยินดีจ่ายของกลุ่มตัวอย่างแต่ละคน นอกจากนี้ ยังพบว่าในกลุ่มผู้ซื้อที่มีพื้นฐานการศึกษาทางสังคมศาสตร์จะมีความอ่อนไหวต่อการส่งเสริมการขาย สามารถเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจซื้อได้ ณ จุดซื้อ หากมีสิ่งกระตุ้นจูงใจให้คล้อยตาม


         กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม มีทัศนคติด้านความรู้ความเข้าใจต่อสินค้ามูเตลูอิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างกัน โดยในกลุ่มตัวอย่างที่มีพื้นฐานการศึกษาในระดับปริญญาตรีในสาขาทางวิทยาศาสตร์เข้าใจว่าเป็นสินค้าทางด้านความเชื่อที่ถูกประยุกต์เข้ากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะมีความเชื่อมโยงกับความเชื่อทางศาสนา เรื่องเล่า และวัฒนธรรม ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีพื้นฐานการศึกษาในระดับปริญญาตรีในสาขาทางสังคมศาสตร์มีทัศนคติต่อสินค้ามูเตลูอิเล็กทรอนิกส์ว่าเป็นสินค้าเกี่ยวกับความเชื่อที่ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับรูปแบบการบริโภคของคนในยุคปัจจุบัน ซึ่งสินค้าเหล่านี้จะถูกออกแบบให้กับผู้ซื้อในรายบุคคล จึงทำให้มีผลโดยตรงต่อดวงชะตาของผู้ใช้งาน


        ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์ในเชิงธุรกิจ อาทิ เนื่องจากจุดเริ่มต้นของความต้องการต่อสินค้ามูเตลูเล็กทรอนิกส์มาจากอิทธิพลจากคนรอบข้าง ดังนั้น นักการตลาดสามารถทำตลาดแบบปากต่อปาก โดยการเลือกใช้สื่อและเนื้อหาให้ตรงกลับกลุ่มเป้าหมายได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา. (2565). เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.ops.go.th/th/ches-downloads/edu-standard/item/6942-2022-07-22-03-17-22

จุฑาทิพย์ ปิติวิทยากุล. (2562). การศึกษาพฤติกรรมการซื้อหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เป็นเลขหมายสวยหรือเลขหมายมงคล และปัจจัยทางสังคม ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.

ซีเอ็มเอ็มยู อินไซต์. (2564). เจาะอินไซต์ 52 ล้านคนไทยสายมูกับ 5 อันดับความเชื่อ โอกาส แบรนด์ชูกลยุทธ์การตลาด ของคนอยู่เป็น. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.brandbuffet.in.th /2021/01/cmmu-suggest-marketing-in-the-uncertain-world/

ณัชชา สีแก้วน้ำใส. (2563). การตัดสินใจซื้อวอลเปเปอร์ยันต์เสริมดวงหน้าจอโทรศัพท์มือถือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, คณะบริหารธุรกิจ.

เดอะ วัน ทูเดย์ อิดิเตอร์. (2565). Lucky color เสื้อสีมงคลเสริมความ cool สำหรับหนุ่มสาวออฟฟิศ! สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.the1.co.th/en/the1today/articles/3625

ธนูศักดิ์ อินทร์ราช และ อรชร มณีสงฆ์. (2566). พฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยต่อการเช่าบูชาวัตถุมงคล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 19(1), 88-105.

พรรณปพร จันทร์ฉาย, ธัญญรัตน์ ศรีพัฒนะโชติ, และ วรางคณา ประภาวงศ์. (2566). พฤติกรรมและทัศนคติด้านความเชื่อในการเช่าซื้อเครื่องรางประเภทกำไลหินมงคลของกลุ่มผู้หญิงในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 9(2), 196-204.

ศิระประภา จีระเดชาธรรม, วิชชากร วณิชเดโชชัย, สุวิภา ครุปิติ, อภิรัฐกุญช์ หลวงหล้า, และ อริสรา คชายุทธเดช. (2563). เจาะอินไซต์ วอลเปเปอร์มือถือเสริมดวง แจกฟรี-ไพ่ยิปซี-เรียกทรัพย์โดนใจสายมู โอกาสแบรนด์ต่อยอดทำตลาด. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.brandbuffet.in.th/2022/06/chula-mbm-present-mutelu-mobile-wallpaper-research/

ศุภจิรา ศรีมีธรรม และ รัตนวดี เศรษฐจิตร. (2566). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดด้วยความเชื่อมูเตลูในยุคดิจิทัล. วารสารนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร, 2(1), 41-59.

สุภาพร แซ่ลิ้ม. (2562). ปัจจัยด้านทัศนคติและการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมคอลลาเจนของผู้บริโภคในพื้นที่กรุงเทพมหานครผ่านช่องทางออนไลน์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, คณะบริหารธุรกิจ.

เอกวสา สุขส่ง. (2565). เปิดใจสายมู ยุคดิจิทัลมาแรง แต่ทำไมคนยุคใหม่ยังอินเรื่องดวง. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2294431

เอกอนันต์ อินทร์ทอง และ สุชาติ ปรักทยานนท์. (2564). การพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดออนไลน์ ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจสั่งวัตถุมงคลบูชาของผู้บริโภคในประเทศไทย. สยามวิชาการ, 22(1), 23-32.

เอ็มจีอาร์ ออนไลน์. (2565). Internet Data Center (IDC) สรุปตลาดสมาร์ทโฟนไทยปี 2021 อยู่ที่ 20.9 ล้านเครื่อง เติบโตสุดในภูมิภาค. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2565, จาก https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9650000023378

Berkowitz, A. D., & Perkins, H. W. (1986). Perceiving the community norms of alcohol use among students: Some research implications for campus alcohol education programming. International Journal of the Addictions, 21(9-10), 961–976.

Bozaci, I., & Durukan T. (2020). Investigation of superstitious belief based purchasing behavior with the perspective of the theory of planned behavior: A research on young consumers. Social Mentality and Researcher Thinkers Journal, 6(32), 892-901.

Cox, A. G., Granbois, D., & Summers J. (1983). Planning, search, certainty and satisfaction among durables buyers: A longitudinal study. Association for Consumer Research, 10(1), 394-399.

Datareportal (2022). Digital 2022: Thailand. Retrieved November 2, 2023, from https://datareportal.com/reports/digital-2022-thailand

Dewanto, K. N., & Belgiawan, P. F. (2020). The influence of social norms and attitude in sustainable fashion product purchase behaviour. American International Journal of Business Management, 3(7), 64-75.

Eagly, A. H., & Chaiken, S. (1998). Attitude structure and function. In Gilbert, D. T., Fiske, S. T., & Lindzey, G. (Eds). The Handbook of Social Psychology. Boston: McGraw-Hill.

Kendra, C. (2022). The components of attitude: Definition, formation, changes. Retrieved November 3, 2023, from https://www.verywellmind.com/attitudes-how-they-form-change-shape-behavior-2795897

Kotler, P., Keller, K., & Chernev, A. (2021). Marketing Management. New York: Pearson Education.

LaMorte, W. W. (2019). Social norms theory. Retrieved November 2, 2023, from https://sphweb.bumc.bu.edu/otlt/mph-modules/sb/behavioralchangetheories/BehavioralChangeTheories7.html

Peck, B. (2023). What are social norms in psychology? Retrieved November 1, 2023, from https://www.livingbyexample.org/what-are-social-norms-in-psychology/

Punjaporn Chinchanachokchai, & Sydney Chinchanachokchai. (2021). Write your own luck campaign: Pentel’s successful advertising strategy based on superstitious beliefs in Thailand. Journal of Advertising Education, 25(2), 96-120.

Ramli, Y., & Maysari. D. P. (2020). The influence of customer attitude towards customer purchase decision by implementing green marketing. International Journal of Emerging Trends in Social Sciences, 8(2), 42-50.

Smith, E. R., Mackie, D. M., & Claypool, H. M. (2015). Social Psychology. New York: Psychology Press.

Van den Berg, H., Manstead, A. S. R., Van der Pligt, J., & Wigboldus, D. H. J. (2006). The impact of affective and cognitive focus on attitude formation. Journal of Experimental Social Psychology, 42(3), 373-379.

Wang, L., Su, X., & You, Y. (2021). Purchasing luck: The impact of scarcity cues on superstitious behavior. Journal of Consumer Behaviour, 20(3), 577-589.

Warayuanti, W., & Suyanto, A. M. A. (2015). The influence of lifestyles and consumers attitudes on product purchasing decision via online shopping in Indonesia. European Journal of Business and Management, 7(8), 66-73.

Wiseman, R. (2003). UK superstition survey. Retrieved November 1, 2023, from http://richardwiseman.com/resources/superstition_report.pdf