การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรแปรรูปจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา สู่ธุรกิจค้าปลีกที่มีประสิทธิภาพ

Main Article Content

อรนุช กฤตยขจรสกุล
ภาวิณีย์ มาตแม้น*
ทัศนวรรณ ทัศนะพงษ์

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าเกษตรแปรรูปของผู้บริโภค (2) ศึกษาสถานการณ์ช่องทางการจัดจำหน่ายในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกของสินค้าเกษตรแปรรูป (3) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ในช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรแปรรูปจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา (4) เพื่อกำหนดแนวทางช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรแปรรูปจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลคลองเขื่อน ใช้การวิจัยเชิงปริมาณสำหรับวัตถุประสงค์ข้อ 1 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 400 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพสำหรับวัตถุประสงค์ข้อ 2 ,ข้อ 3 และ ข้อ 4  โดยการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจากผู้ผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปตำบลคลองเขื่อน จำนวน 35 คน และจากตัวแทนร้านค้าปลีก จำนวน 10  คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก
         ผลการศึกษา พบว่า ผู้บริโภคซื้อสินค้าเกษตรแปรรูปจากร้านขายของฝากมีจุดแข็ง คือ สินค้าเกษตรแปรรูปมีความโดดเด่นด้านรสชาติ  ส่วนจุดอ่อน คือ กระจายสินค้าไปร้านค้าปลีกยังไม่ทั่วถึง ไม่มีตัวแทนในการติดต่อกับร้านค้าปลีกในการจัดจำหน่าย  โอกาส คือมีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก และภาครัฐรณรงค์สนับสนุนสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น  อุปสรรค คือ มีร้านค้าปลีกจำนวนมาก การแข่งขันสูง แนวทางในการพัฒนาควรมีการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสู่ร้านค้าปลีกให้ครอบคลุมพื้นที่ในจังหวัดฉะเชิงเทราให้มากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (2564). 'กรมพัฒนาธุรกิจการค้า' เปิดบริการออนไลน์ ช่วงโควิด-19 ผ่าน www.dbd.go.th. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/933173

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2563). กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2564, จาก https://www.dip.go.th/th/category/news/2020-09-13-15-44-13

ชนาธิป จันทร์เรือง, นพคุณ บัวมณี และ พิทักษ์ ศิริวงศ์. (2560). การสร้างมูลค่าเพิ่มและช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำตาล โตนดผง กรณีศึกษาน้ำตาลโตนดผง เสน่ห์เมืองเพชร อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 2 (น.287-291). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, ฐิติวรรณ สินธุ์นอก, สุธรรม ศิวาวุธ และ สมพงษ์ อัศวริยธิปัติ. (2562). การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์และช่องทางการจัดจำหน่ายน้ำสับปะรดแปรรูปที่ทันสมัย กลุ่มสับปะรดหวานแปรรูป หมู่บ้านโป่งกระทิงบน. วารสารวิชาการและงานวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 9(3), 80-91.

ประจักษ์ กึกก้อง, สกาวเดือน เปลี่ยนแซ, ธัญลักษณ์ ทิมทัย, พิมวิไล ธรรมขันทูน, และ นภาพร พุ่มน้อย. (2562). แนวทางการพัฒนาการตลาดของผลิตภัณฑ์กระยาสารทแม่สนอง ตำบลลาน ดอกไม้ อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร. ใน การประชุมวิชาการระดับครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร (น. 1016-1026). กำแพงเพชร: สถาบันวิจัยและพัฒนา.

ประสิทธิ์ รัตนพันธ์, มณีรัตน์ รัตนพันธ์ และ จาริณี แซ่ว่อง (2561). การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทอาหารในจังหวัดสงขลา. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 11(4), 42-51.

ภัทราวรรณ สุขพันธุ์. (2562). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจค้าปลีก. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2563. จาก http://www.lampangvc.ac.th/DVT/e-book.pdf

วิจัยกรุงศรี. (2564). แนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรมปี 2564-2566: ธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2565, จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/wholesale-retail/modern-trade/io/io-modern-trade-21

สรรเพชร เพียรจัด, จตุพัฒน์ สมัปปิโต, จินตนา วัชรโพธิกร และ จารินี ม้าแก้ว. (2564). รูปแบบการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์พื้นถิ่นข้าวเม่า แบบบูรณาการ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 6(1), 105-119.

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร. (2560). ความรู้เกษตรแบบง่าย. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2562, จาก http://www.arda.or.th/easyknowledge/

สิทธิศักดิ์ ทองเกร็ด และ ชมภูนุช หุ่นนาค. (2564). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทำน้ำตาลมะพร้าวของชุมชนตำบลบางกระบือ จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารนวัตกรรมธุรกิจ การจัดการ และสังคมศาสตร์, 2(2), 61-97.

สิรภัทร พุตติ. (2562). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านค้าปลีกสมัยใหม่ของประชาชน ในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, บัณฑิตวิทยาลัย.

สุเมธ พิลึก, จิตาพัชญ์ ไชยสิทธิ์, และ ลฎาภา แผนสุวรรณ์. (2563). การพัฒนาช่องทางจัดจาหน่ายสินค้าเกษตรแปรรูปในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ด้วยระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ . บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. 8(2), 217-228.

สุวภัภร ดีอุดม และ จรีพร ศรีทอง (2561). การสำรวจทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคในเขตบางกะปิกรุงเทพมหานครเพื่อการออกแบบและผลิตอาหารที่แปรรูปจากจิ้งหรีด. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2564, จาก http://www.ba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2561-3-1_1564654991.pdf

หยู หลี่เจีย (2562). เรื่องการตัดสินใจเลือกซื้อผลไม้แปรรูปของนักท่องเที่ยวจีนในจังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, บัณฑิตวิทยาลัย.

อัปสร อีซอ, ปวีณา เจะอารง, ศุภมาศ รัตนพิพัฒน์ และ รอมซี แตมาสา. (2563). การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์โอทอป จังหวัดยะลา ตามโครงการพระบรมราโชบายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา, วิทยาการจัดการ. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2565, จาก https://wb.yru.ac.th/bitstream/yru/4776/1/5.%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%AA%E0%B8%A3%20%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%8B%E0%B8%AD.pdf

Armawan. I., & Sudarmiatin. (2021). Marketing Strategy of Local Wisdom SMEs Roti Durian Panglima. Eduvast, 1(5), 329-337.

Barska. A., & Wojciechowska-Solis. J. (2020). E-consumers and local food products: A perspective for developing online shopping for local goods in Poland. Sustainability, 12(12). DOI: 10.3390/su12124958

Grewal, D., Roggeveen, A. L., Runyan, R., Nordfält, J., & Vazquez Lira, M. E. (2017). Retailing in today’s world: Multiple channels and other strategic decisions affecting firm performance. Journal of Retailing and Consumer Services, 34(1), 261-263.

Kotler, P. & Armstrong, G. (2018). Principles of Marketing (17th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Othman, B. A., Harun, A. B., & Nazeer, S. (2018). Issues and challenges faced by Malaysian umrah travel agencies in providing excellent marketing mix services to umrah pilgrims. The Journal of Social Sciences Research, 2, 611-618.

Trihatmoko, R. A., & Mulyani, R. (2018). Distribution strategy for new product marketing success: Fast moving consumer goods (FMCG) business. Management and Human Resource Research Journal. 7(12), 19-32.