แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่มีผลต่อความสำเร็จในการทำงาน ของบุคลากรคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Main Article Content

อุทัย อันพิมพ์*
ภาวิน ชินะโชติ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงานของบุคลากร คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (2) ระดับปัจจัยความสำเร็จในการทำงานของบุคลากร คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ (3) ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำงานของบุคลากรคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้มาจากการใช้วิธีการสุ่มแบบมีระบบ จำนวน 90 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า T การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ


                  ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงานของบุคลากรคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ส่วนใหญ่มีความต้องการจริยธรรมในการทำงานมากที่สุด สำหรับด้านที่น้อยที่สุดคือ ความต้องการที่จะมีสถานภาพที่สูงขึ้น (2) ระดับความสำเร็จในการทำงานส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านบทบาทการทำงานเป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด สำหรับด้านที่น้อยที่สุดคือด้านการเงิน 3) ผลการทดสอบเกี่ยวกับปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ อันประกอบด้วย ด้านความต้องการจริยธรรมในการทำงาน ด้านความต้องการค่าตอบแทน ด้านความต้องการแสวงหามาตรฐานที่ดีเลิศ ด้านความต้องการแข่งขันในการทำงาน ด้านความต้องการที่จะมีสถานภาพที่สูงขึ้น และด้านความต้องการที่จะเอาชนะปัญหาต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำงานของบุคลากรคณะบริหารศาสตร์ พบว่ามีเพียง 2 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญ คือ ด้านความต้องการจริยธรรมในการทำงานและด้านความต้องการที่จะมีสถานภาพที่สูงขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรองกาญจน์ ด่านรัตนะ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณภาพชีวิตในการทำงาน การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการรับรู้ความสำเร็จในอาชีพของกลุ่มชายรักชาย ที่เป็นบุคลากรในหน่วยงานรัฐบาลในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์.

คณะบริหารศาสตร์. (2561). แผนยุทธศาสตร์ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พ.ศ. 2560 – 2564 (ฉบับปรับปรุงปี พ.ศ.2561). มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

โชติกา ระโส. (2555). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย.

ณัฏฐิกา บูรณกูล. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และค่านิยมในการทำงานกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครูโรงเรียนเอกชน ในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ.

ธงชัย สันติวงษ์. (2550). การบริหารงานบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

ธานี สีสด และ นนทิรัตน์ พัฒนภักดี. (2560). แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การรับรู้ การสนับสนุนจากองค์การที่พยากรณ์พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีในองค์การ ของพนักงานสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัย. ใน, การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8 (น. 2236-2246). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ราชภัฎสวนสุนันทา.

นรา หัตถสิน และ วิริญญา ชูราษี. (2650). การวิเคราะห์ปัจจัยจูงใจในการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการของอาจารย์: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(2), 19-36.

นิ่มนวล โยคิน. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของพยาบาลวิชาชีพ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับประสิทธิผลของหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชนเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 10. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประสิทธิ์ ทองอุ่น.(2542). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพฯ: เธิร์ดเวฟ เอ็ด ดูเคชั่น.

ปวีณา คำพุกกะ. (2557). สถิติธุรกิจ. คณะบริหารศาสตร์, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

พชร สุลักษณ์อนวัช. (2560). ความสำเร็จในอาชีพ เชาวน์อารมณ์ และความพึงพอใจในชีวิต โดยมีความภาคภูมิใจในตนเองเป็นตัวแปรสื่อของพนักงานระดับปฏิบัติการ กรณีศึกษา: บริษัทโทรคมนาคมแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์.

ไพโรจน์ กาธรรมณี. (2547). การรับรู้บรรยากาศองค์การและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของพนักงานบริษัท ทศท.คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก, สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม.

มาลิณี จุโฑปะมา. (2554). จิตวิทยาการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, คณะครุศาสตร์.

วัลลีย์ ศรีประภาภรณ์, วันดี ทองพรม, อรอุษา กามลคร และ อุษณีย์ ผ่องใส. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน กรณีศึกษาคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล. วารสารเวชบันทึกศิริราช, 10(2), 74-82.

วิริญญา ชูราษี และ สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2554). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 6(1), 60-74.

สุชาดา สุขบำรุงศิลป์. (2553). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนวิศวกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี. (งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะศึกษาศาสตร์.

สุดารัตน์ ธีรธรรมธาดา. (2558). ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ พฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ และความฉลาดทางอารมณ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, บัณฑิตวิทยาลัย.

สุนีภร เปรมศรี. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันในงาน การรับรู้ความสำเร็จในอาชีพ และบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการพัฒนาตนเองของพยาบาลสภาบันจิตเวชศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, คณะศึกษาศาสตร์.

สุรัตนา จงรักษ์. (2556).แรงจูงใจในการพัฒนาตนเองของพนักงานบริษัท ABC. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, คณะบริหารธุรกิจ.

Cassidy, T., & Lynn, R. (1989). A multifactorial approach to achievement motivation: The development of a comprehensive measure. Journal of Occupational Psychology, 62(4), 301-312.

Gattiker, U. E., & Larwood, L. (1989). Career success, mobility and extrinsic satisfaction of corporate managers. The Social Science Journal, 26(1), 75-92.

Herzberg, F. (2005). Motivation-Hygiene Theory. Organizational Behavior One: Essential Theories of Motivation and Leadership. In JB Miner (Ed.), ME Sharpe Inc, New York, 61-74.

Lau, V. P., & Shaffer, M. A. (1999). Career success: the effects of personality. Career Development International, 4(4), 225 – 231.

Likert, R. A. (1932). A Technique for the Measurement of Attitude. Archives of Psychological. In R. S. Woodworth (Ed.) ,140, New York.

McClelland, D. C., Atkinson, J. W., Clark, R. A., & Lowell, E. L. (1953). The Achievement Motive. New York: Appleton Centurycrofts.

Walton, R. E. (1973). Quality of working life: What is it? Sloan Management Review, 15(1), 11-21.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row.