จริยศาสตร์การพัฒนา : องค์ประกอบ เกณฑ์ชี้วัด เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • สัญญา สดประเสริฐ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

จริยศาสตร์การพัฒนา, องค์ประกอบและเกณฑ์ชี้วัด, การพัฒนาที่ยั่งยืน

บทคัดย่อ

ความสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการพัฒนานั้น ต้องอยู่บนหลักคุณธรรมจริยธรรม โดยเฉพาะหลักธรรมภิบาล การประยุกต์ใช้แนวคิดจริยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาชุมชนและสังคมจึงเป็นการเสริมสร้างการทำงานที่เป็นระบบในเชิงจริยธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในการวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งศึกษาถึงจริยศาสตร์การพัฒนา : องค์ประกอบ เกณฑ์ชี้วัด เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่คัดเลือกแบบเจาะจง 35 คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและนำเสนอพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ จังหวัดกำแพงเพชร และองค์การบริหารส่วนตำบลยางซ้าย จังหวัดสุโขทัย มีการวางแผนที่เหมาะสมกับงบประมาณ มีการให้ความเป็นอิสระทางการคลัง มีความรับผิดชอบและความเสมอภาคทางการคลัง มีการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมโดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน 2) องค์ประกอบ และเกณฑ์ชี้วัดในการพัฒนาตามหลักจริยศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มี 5 ด้าน คือ ด้านวิธีคิดและระบบคุณค่า เป็นการมีทัศนคติที่ดีต่อชุมชน เห็นคุณค่าภูมิปัญญา ให้ความสำคัญกับประโยชน์ส่วนรวม ด้านความรู้ เป็นการเรียนรู้การทำงานกับชุมชนแบบมีส่วนร่วม ด้านพฤติกรรม เป็นการทำงานเป็นทีม มีความรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นร่วมกัน ด้านทักษะการดำรงชีวิต มีความมุ่งมั่นทำงานจนบรรลุเป้าหมาย และด้านความสุข มีความความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและสังคมร่วมกัน และ 3) การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักจริยศาสตร์การพัฒนา มีการบริหารตามหลักความโปร่งใส ความยุติธรรม ความไม่เหลื่อมล้ำ ความดีงามของส่วนรวม ความสมดุลทางสังคม มีการเรียนรู้ร่วมกัน มีการสื่อสารที่ดี มีมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมถึงมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อองค์กรและส่วนร่วม

References

Eawsriwong, N. (2005). Read Political Culture. Bangkok : Matichon.

Hayes, J. (2002). The Theory and Practice of Change Management, Palgrave : Wiltshire.

Ministry of Natural Resources and Environment. (2013). Introduction to Sustainable Development. Bangkok: Amarin Printing and Publishing.

Nuremram, D. (2016). What is ethics : Definition and content scope of ethics. Retrieved from. http://www.thaicadet.org/ Philosophy Religious/whatisethics.html.

Powpan, C. (2017). The Development of Local Administrative Organizations to Become Learning Organizations : A Case Study of Song Nuea Municipality, Namon District, Kalasin Province. Chiang Mai : San Phak Wan Subdistrict Municipality.

Rosenthal, M. P. (1987). Yudin, A Dictionary of Philosophy. Moscow: Progress Publishers.

Thai Philosophy Dictionary. (2011). Royal Institute Edition 2011. Bangkok : Royal Institute.

Thepsittha, S. (2004). 60 years of the Royal Institute. Bangkok: Royal Society.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2023

How to Cite

สดประเสริฐ ส. (2023). จริยศาสตร์การพัฒนา : องค์ประกอบ เกณฑ์ชี้วัด เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 8(2), 185–194. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/256141

ฉบับ

บท

บทความวิจัย