คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้เขียน    

         ผลงานที่ขอรับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้นิพนธ์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของวารสาร และรูปแบบการเขียนบทความวิชาการ บทความวิจัย เพื่อตีพิมพ์ในวารสารอย่างเคร่งครัด โดยผู้นิพนธ์จะต้องลงทะเบียนในระบบของวารสาร และส่งบทความพร้อมจ่ายค่าธรรมเนียมมาในระบบ โดยผู้เขียนจะต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของบทความตามรูปแบบของวารสาร 

        อัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์เผยแพร่ต่อ 1 ผลงาน ดังนี้ 1) บทความวิจัย (Research Article)  4,500 บาท 2) บทความวิชาการ (Academic Article) 5,000 บาท 3) บทความปริทัศน์ (Review Article) 5,000 บาท โดยโอนเงินทางบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาสามพราน ชื่อบัญชี วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ เลขที่ 734-0-64147-5 โดยแนบบทความที่สมบูรณ์ในรูปแบบเเอกสาร word พร้อมหลักฐานการชำระเงินมามาทางระบบ

       ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป วารสารจะทำการปรับรูปแบบการเผยแพร่ใหม่คือ 1) ทำการเผยแพร่เป็นราย 2 เดือน ปีละ 6 ฉบับ ( ฉบับที่ 1 มกราคม-กุมภาพันธ์, ฉบับที่ 2 มีนาคม-เมษายน, ฉบับที่ 3 พฤษภาคม-มิถุนายน, ฉบับที่ 4 กรกฏาคม-สิงหาคม, ฉบับที่ 5 กันยายน-ตุลาคม, ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน-ธันวาคม) 2) เปิดรับบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  3) ทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน โดยการปกปิดสองทาง (Double-blind) 4) รูปแบบการอ้างอิงท้ายเรื่องจะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด 5) และบทความทีได้รับการตอบรับต้องมีค่าความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับไม่เกิน 20% และบทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นใด

          กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการตีพิมพ์ และไม่คืนเงินค่าธรรมเนียม ในกรณีดังต่อไปนี้ 1) บทความมีความซ้ำซ้อนมากกว่า 20%  หรือ 2) ผู้นิพนธ์ไม่ปฏิบัติตามรูปแบบของผลงานตามที่วารสารกำหนด หรือ 3) ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาแล้วเห็นไม่ควรตีพิมพ์ โดยถือมติผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด หรือ 4) ไม่แก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะตามระยะเวลาที่กำหนด (ไม่เกิน 1 เดือน หลังจากกองบรรณาธิการได้แจ้งให้ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ) หรือ 5) เจ้าของผลงานขอยกเลิกการตีพิมพ์หลังจากกองบรรณาธิการได้กดรับในระบบแล้ว

การส่งบทความเข้าระบบ Thaijo เพื่อส่งบทความเข้าระบบ
         การส่งในระบบ (Online Submission) สามารถส่งเข้าระบบออนไลน์ได้เว็บไซต์ของวารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์  ได้ที่ https://www.tci-thaijo.org/index.php/jmbr
โดยปฏิบัติดังนี้ 1. ลงทะเบียน  2. เข้าสู่ระบบ  3. ส่งผลงานที่เมนู บทความ/บทความเรื่องใหม่ (หากไม่ปรากฎเมนูนี้ ให้ท่านไปปรับแก้ข้อมูลส่วนตัว/เปลี่ยนสถานะเป็น ผู้แต่ง)

การจัดเตรียมต้นฉบับ
          1) ต้นฉบับบทความต้อง เป็นไฟล Word มีความยาว ระหว่าง 12 - 15 หน้ากระดาษ ขนาด  A4  (รวมเอกสารอ้างอิง) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว ภาษาไทยใช้ตัวอักษรแบบ THSarabunPSK ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นระยะขอบทุกด้าน  2.5 เซ็นติเมตร ระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับ 1 เซ็นติเมตร และเว้นบรรทัดระหว่างแต่ละย่อหน้า การนำเสนอรูปภาพและตาราง ต้องนำเสนอรูปภาพและตารางที่มีความคมชัดพร้อมระบุหมายเลขกำกับรูปภาพไว้ด้านล่าง พิมพ์เป็นตัวหนาเช่นตาราง 1 หรือ Table 1 และ รูป 1 หรือ Figure 1 รูปภาพที่นำเสนอต้องมีรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วนและเข้าใจได้โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปอ่านที่เนื้อความอีก ระบุลำดับของรูปภาพทุกรูปให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่อยู่ในต้นฉบับ โดยคำอธิบายต้องกระชับและสอดคล้องกับรูปภาพที่นำเสนอ
          2) ชื่อเรื่องต้องมีภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ไว้หน้าแรกตรงกลาง
          3) ชื่อผู้เขียน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ระบุวุฒิการศึกษาสูงสุด พร้อมระบุ ตำแหน่งทางวิชาการพิมพ์ด้วยตัวอักษรปกติอยู่ใต้ชื่อเรื่องโดยเยื้องมาทางด้านขวา และให้ตัวเลขเป็นตัวยกท้ายชื่อผู้เขียนเพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการและชื่อหน่วยงาน
          4) มีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 320 คำต่อบทคัดย่อ
          5) กำหนดคำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (3 - 5 คำ)
          6) การเรียงหัวข้อ หัวข้อใหญ่สุด ให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้าย หัวข้อย่อยเว้นห่างจากหัวข้อใหญ่ 3-5 ตัวอักษร เมื่อขึ้นหัวข้อใหญ่ควรเว้นระยะพิมพ์เพิ่มอีก 0.5 ช่วงบรรทัด ก่อนขึ้นหัวข้อย่อย
          7) การใช้ตัวเลขคำย่อ และวงเล็บ ควรใช้ตัวเลขอารบิกทั้งหมดและใช้คำย่อที่เป็นสากลเท่านั้น  
          8) การอ้างอิง ใช้การอ้างอิงระบบ APA6 โดยในเนื้อหามีรูปแบบเป็นทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ส่วนเอกสารอ้างอิงท้ายเรื่อง (References) ต้องเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น โดยจัดรูปแบบเป็น APA (โปรดดูรายละเอียดจากระบบการอ้างอิง)

บทความวิจัย ให้เรียงลำดับ ดังนี้  (แบบฟอร์มบทความวิจัย)                

          1) บทคัดย่อ (Abstract) 
          2) บทนำ (Introduction) 
          3) วัตถุประสงค์การวิจัย (Research Methodology) 
          4) การทบทวนวรรณกรรม (Review Literature) 
          5) วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) 
          6) ผลการวิจัย/ผลการทดลอง (Results) 
          7) อภิปรายผล/วิจารณ์ (Discussion) 
          8) สรุปองค์ความรู้ (Conclusion) 
          9) ข้อเสนอแนะ (Suggestion) 
         10) เอกสารอ้างอิง (References) 

บทความวิชาการ   บทความพิเศษ บทความปริทรรศน์  ให้เรียงลำดับ ดังนี้(แบบฟอร์มบทความวิชาการ)       

          1) บทคัดย่อ (Abstract)
          2) บทนำ (Introduction)
          3) เนื้อเรื่อง (Content) 
          4) สรุป (Conclusion)
          5) ข้อเสนอแนะ (Suggestion)
          6) เอกสารอ้างอิง (Reference)

ระบบการอ้างอิง (แบบ APA (6th Edition) ) (คลิกดูตัวอย่าง)

          เอกสารที่นำมาอ้างอิงควรได้มาจากแหล่งที่มีการตีพิมพ์ชัดเจน อาจเป็นวารสาร หนังสือหรือข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตก็ได้ ทั้งนี้ผู้เขียนบทความต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งหมด ก่อนส่งต้นฉบับผู้เขียนบทความควรตรวจสอบถึงความถูกต้องของการอ้างอิงเอกสาร เพื่อป้องกันความล่าช้าในการตีพิมพ์บทความ เนื่องจากบทความที่การอ้างอิงไม่ถูกต้องจะไม่ได้รับการส่งต่อเพื่อพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจนกว่าการอ้างอิงเอกสารจะได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง สำหรับการอ้างอิงเอกสารในบทความนั้น ใช้ระบบ APA ให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยใช้วงเล็บ เปิด-ปิด แล้วระบุชื่อ-นามสกุล ของผู้เขียนและเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง กำกับท้ายเนื้อความที่ได้อ้างอิง เอกสารที่อ้างอิงในบทความจะต้องปรากฏในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกรายการ และเจ้าของบทความต้องรับผิดชอบถึงความถูกต้องของเอกสารที่นำมาอ้างอิงทั้งหมด โดยรูปแบบของการอ้างอิงเอกสาร ระบบการอ้างอิง (แบบ APA (6th Edition) ) (คลิกดูตัวอย่าง)

กระบวนการของวารสาร
          ต้นฉบับบทความที่เสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์เอกสาร *.docx ของ Microsoft Word Version 2010 หรือมากกว่า ต้นฉบบขนาด A4 ความยาวของต้นฉบับต้องไม่เกิน 14 หน้า (รวมบทคัดย่อ ภาพ ตารางและเอกสารอ้างอิง) โดยกองบรรณาธิการจะพิจารณาเบื้องต้นเกี่ยวกับความถูกต้องของรูปแบบผลงาน หากไม่ถูกต้องสมบูรณ์จะส่งกลับไปแก้ไข เมื่อรูปแบบผลงานถูกต้องสมบูรณ์จึงนำเข้าสู่กระบวนการส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมิน เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้แจงผลการประเมิน ผ่าน/ไม่ผ่านหรือให้ปรับปรุงแก้ไข กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนได้ทราบและปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรร์ แล้วส่งกลับในระบบภายในระยะเวลา 1 เดือน เมื่อกองบรรณาธิการได้ตรวจสอบความสมบูรณ์ของผลงานแล้วจึงดำเนินการออกหนังสือตอบรับต่อไป โดยลำดับการตีพิมพ์เผยแพร่จะพิจารณาจากความสมบูรณ์ของผลงานและลำดับการส่งผลงานเป็นเบื้องต้น  ทั้งนี้ การพิจารณาของกองบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

สิทธิของบรรณาธิการ
          เมื่อกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งทำหน้าที่ประเมินบทความมีความเห็นว่าควรปรับปรุงแก้ไขและกองบรรณาธิการได้ส่งคืนในระบบเพื่อให้ผู้นิพนธ์ได้ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีกำหนดปรับแก้และส่งฉบับสมบูรณ์กลับในระบบภายใน 1 เดือน เพื่อดำเนินการจัดรอบตีพิมพ์ต่อไป หากปรากฎว่าผู้นิพนธ์ไม่ได้ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ตามข้อเสนอ กองบรรณาธิการจะทำการเลื่อนรอบตีพิมพ์ออกไปจนกว่าผู้นิพนธ์จะปรับปรุงให้เรียนร้อยและส่งกลับภายในระบบเรียบร้อยแล้ว

          ทั้งนี้ กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ตีพิมพ์บทความนั้นๆ ในกรณีที่ไม่สอดคล้องกับแนวทางของวารสาร หรือไม่ผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิ หรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของวารสาร เมื่อบทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ผู้นิพนธ์จะได้รับลิ้งค์เผยแพร่ผลงานฉบับที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์