ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานเก็บขยะในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลในเขตจังหวัดพิจิตร

ผู้แต่ง

  • ดนัย ผ่องแผ้ว มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
  • ธนัสถา โรจนตระกูล

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต, การทำงานของพนักงานเก็บขยะ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเก็บขยะ เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเก็บขยะ และเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการทำงานของพนักงานเก็บขยะสังกัดเขตเทศบาลในจังหวัดพิจิตร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ กลุ่มของพนักงานเก็บขยะที่ทำหน้าที่จัดเก็บขยะมูลฝอยตามอาคารบ้านเรือน สถานที่ราชการ ตลาดสด รวมทั้งพนักงานที่ทำหน้าที่ในการกวาดขยะและพนักงานขับรถขยะในสังกัดเทศบาล จำนวน 208 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test และค่า F-test ความแปรปรวนทางเดียว One Way ANOVA  ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมของพนักงานเก็บขยะในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลในเขตจังหวัดพิจิตรทำงาน โดยภาพอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วน พบว่า พนักงานเก็บขยะที่มี อายุ ประสบการณ์ทำงานที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานเก็บขยะสังกัดเขตเทศบาลในจังหวัดพิจิตร แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกัน 3) ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน พบว่า ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหากับการทำงาน แต่อยากให้มีการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ เช่น การตรวจสมรรถภาพการมองเห็น การได้ยิน และสมรรถภาพการทำงานของปอด เนื่องจากไม่เคยได้มีการตรวจสุขภาพประจำปีให้กับพนักงานเก็บขยะ เพราะเป็นลูกจ้างรายวันส่วนใหญ่ จึงไม่ได้รับการตรวจคัดกรอง จึงอยากให้เพิ่มเรื่องของสวัสดิการด้านสุขภาพมากที่สุด

References

กองสวัสดิการแรงงาน. (2547). คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality of Work Life). อนุสารแรงงาน, 11(4), 17 – 22.
Labor Welfare Division. (2004). Quality of Work Life. Workers Book, 11 (4), 17 - 22.
เจตนิพิฐ สุจิระกุล. (2557).“ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”. วารสารบริหารการศึกษา มศว. ปีที่ 11 ฉบับที่ 20 (ม.ค.-มิ.ย. 2557) หน้า 98-109.
Chetnipit Sujirakul. (2014). “Factors Affecting the Quality of Work Life of Teachers Under the Primary Educational Service Area Office. In the Northeast Journal of Educational Administration, SWU Vol. 11, Issue 20 (Jan.-Jun. 2014), pages 98-109.
ณปภัช ตะสิงห์. (2552). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานเทศบาลตำบลในจังหวัดสระบุรี. ปัญหาพิเศษบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระราชูปถัมภ์.
Napat Tasing. (2009). Quality of work life of district municipality employees in Saraburi province. Special Problems Master of Business Administration Business Administration Faculty of Business Administration. Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage.
ทิพวรรณ ศิริคณู . (2542). คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ : กรณีศึกษา บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน. ศิลปศาสตมหาบัณฑิต. สาขารัฐศาสตร. คณะรัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Thippawan Sirikanu (1999). Quality of working life and corporate engagement: a case study of the Financial Institutions Asset Management Corporation. Master of Arts. Political science. Faculty of Political Science. Kasetsart University.
ปรมาพร สิงหสุวิช. (2551). คุณภาพชีวิตในการทำงานตามความคิดเห็นของพนักงานเมืองพัทยา. งานนิพนธการจัดการมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย. คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
Pramaporn Singhasuvich. (2008). Quality of work life according to opinions of employees of Pattaya City. The work of the Master of Management. Department of Human Resource Management. Faculty of Humanities and Social Sciences, Burapha University.
เพทาย สาระชาติ. (2551). การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
Phetai Sarachat. (2008). A Study of the Quality of Work Life of Government Officials Khon Kaen Provincial Administrative Organization Master's Thesis. Department of political science Graduate school Mahamakut Buddhist University
วาริณี โพธิราช. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานของลูกจ้างในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
Warinee Phirat (2015). Quality of work life of employees in Mahamakut Buddhist University Master of Social Work Thesis. Thammasat University.
ศริศักดิ์ สุนทรไชย และ วรรณวดี พูลพอกสิน. (2548). การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและ สภาวะแวดล้อมของแรงงานคุ้ยขยะและแรงงานที่เกี่ยวข้อง. งานวิจัยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
Sarisak Soonthornchai and Wanwadee Poolpoksin. (2005). Environment of scavenging labor and related labor. Research Work from the Health Promotion Foundation.
โสมศิริ เดชารัตน์, ปร.ด. (อายุรศาสตร์เขตร้อน), สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงานของคนงานในร้านรับซื้อของเก่า จังหวัดนครศรีธรรมราช , วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ: ปีที่ 10 ฉบับที่ 35 (2017): มกราคม - เมษายน 2559.
Somsiridecharat, Ph.D. (Tropical Medicine), Environmental Sanitation and Occupational Safety of Workers in Antique Stores Nakhon Si Thammarat Province, Safety and Health Journal: Vol.10 No. 35 (2017): January - April 2016.
อัสนียา สุวรรณศิริกุล. (2549). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่แท่จริงสู่ความภักดีที่ยังยืน. การบริหารสำหรับนักบริหารงานบุคคลมืออาชีพ, 27(4), 81-83.
Atsaniya Suwannasirikul (2006). The true quality of work life leads to lasting loyalty. Administration for Personnel Professionals, 27 (4), 81-83.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-09-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย