การศึกษาแนวทางพัฒนาการสอนภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานผ่านการแก้ไขข้อผิดพลาดของการใช้ภาษาในชั้นเรียน: กรณีศึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Main Article Content

วลี รุ่งรัตน์ธวัชชัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาหาข้อมูลเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหากิจกรรมและวิธีการสอนวิชาภาษาญี่ปุ่นระดับพื้นฐานเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและนำความรู้พื้นฐานต่อยอดในวิชาทักษะทางด้านต่างๆ ต่อไป โดยสำรวจปัญหาและอุปสรรคภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนระดับพื้นฐาน  สำรวจการแก้ไขข้อผิดพลาดในการใช้ภาษาในชั้นเรียนที่มีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน และศึกษาความถี่ของการใช้การแก้ไขข้อผิดพลาดในการใช้ภาษาของผู้สอนจากมุมมองผู้เรียน โดยใช้แบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นกลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาชั้นปี 1 ที่เรียนภาษาญี่ปุ่นระดับพื้นฐาน จำนวน 51 คน


ผลสำรวจพบว่าการจำตัวอักษรคันจินั้นเป็นอุปสรรคและปัญหาของผู้เรียนมากที่สุดตามด้วยการเรียงประโยคแบบ S O V คำช่วยในภาษาญี่ปุ่นและการผันรูปของคำประเภทต่างๆ ในภาษาญี่ปุ่นตามลำดับ ในส่วนของการแก้ไขข้อผิดพลาดประเภทที่มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของผู้เรียนและประเภทที่ผู้สอนใช้มากที่สุดคือ Explicit correction เนื่องจากเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดของการใช้ภาษาในชั้นเรียนแบบ Input ในแง่มุมของผู้เรียนนั้นเป็นวิธีที่รับรู้ข้อมูลได้ทันทีว่าตนเองได้รับการแก้ไขจากผู้สอนและยังมีข้อมูลที่ผู้สอนอธิบายเพิ่มเติมในส่วนที่พูดผิด ประเภทที่มีผลต่อการเรียนรู้น้อยที่สุดคือ Clarification request ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาของผู้เรียนพบว่าผู้ที่ไม่มีพื้นฐานภาษาญี่ปุ่นจะเกิดปัญหาและอุปสรรคด้านการเรียงประโยคของภาษาญี่ปุ่นมากกว่าผู้ที่มีพื้นฐานภาษาญี่ปุ่น และยังพบว่าการแก้ไขข้อผิดพลาดแบบ 'Elicitation' เป็นประเภทที่มีผลต่อการเรียนรู้มากที่สุดสำหรับกลุ่มผู้ที่ไม่มีพื้นฐานภาษาญี่ปุ่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Besse, H. & Porquier, R. (1991). Grammaire et didactique des langues. Paris: Hatier/Didier.

Ellis, R. (2015). “Form-Focused Approaches to Learning, Teaching, and Researching Grammar.” In Christison, M. st. al., editor. Teaching and Learning English Grammar: Research Findings and Future Directions (Global Research on Teaching and Learning English). (p. 194-214). New York: Routledge.

Gaonac’h, D. (1991). Théories d'apprentissage et acquisition d'une Langue étrangère. Paris: Credif-Hatier.

Giacobbe, J. (1990) “Le Recours à la Langue Première: une approche cognitive”, in Gaonac’h, D., editor. Acquisition et utilisation d’une langue étrangère. (p. 115-123). Paris: Hachette.

Hatasa, Y. & Fujiwara, Y. (2012). Effects of Corrective Feedback in JFL Classroom. [in Japanese]. Bulletin of the Graduate School of Education, Hiroshima University, 61 (2), 229-237.

Krashen, S.D. (1982). Principles and Practice in Second Language Acquisition. Oxford: Pergamon Press.

Krashen, S.D. (1985). The Input Hypothesis: Issues and Implications. (p. 120). London & New York: Longman.

Long, M.H. (1981). Input, Interaction, and Second-Language Acquisition. Annals of the New York Academy of Sciences, 379, 259–278.

Lyster, R. & Mori, H. (2006) Interactional Feedback and Instructional Counterbalance. Studies in Second Language Acquisition, 28 (2), p. 269-300.

Lyster, R., & Ranta, L. (1997). Corrective Feedback and Learner Uptake: Negotiation of Form in Communicative Classrooms. Studies in Second Language Acquisition, 19, 37­66.

Nabei, T. (2015).「ウァーバル・インタラクションと訂正フィードバック」, Oozeki, H., editor.『フ ィードバック研究への招待』. (p. 42-46). Japan: Kurosio Publishers.

Purinthrapibal, S. (2010). L1 and Foreign Learning. [in Thai]. Journal of Humanities and Social Sciences, 6 (2), 48-77.

Swain, M. (1985). Communicative Competence: Some Roles of Comprehensible Input and Comprehensible Output in Its Development. In Gass, S. & Madden, C., editor. Input in Second Language Acquisition. (p. 235-253). Rowley, MA: Newbury House.