ว่าด้วยชนชั้นและความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยร่วมสมัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำผ่านการอธิบายโครงสร้างชนชั้นของสังคมไทยในยุคปัจจุบัน และเพื่อทำความเข้าใจความเหลื่อมล้ำทางด้านโอกาสในชีวิตของคนไทยในแต่ละชนชั้น แนวคิดหลักที่ใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างชนชั้นคืองานของ Jodhka, Rehbein, & Souza (2018) และแนวคิดเรื่องทุนของ Pierre Bourdieu ซึ่งประกอบด้วย ทุนเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม ทุนวัฒนธรรม และทุนสัญลักษณ์ เป็นกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ประวัติชีวิต แบบแผนพฤติกรรม ความฝัน ความหวัง ของผู้ให้ข้อมูลหลักรวมทั้งสิ้น 72 คน กระจายไปตามเพศ รุ่น พื้นที่และสถานะทางเศรษฐกิจทางสังคม
ผลการศึกษา พบว่า โครงสร้างชนชั้นในสังคมไทยร่วมสมัยมิได้วิวัฒนาการเป็นเส้นตรงและได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจการเมืองนับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองและการพัฒนาเศรษฐกิจสมัยใหม่ โครงสร้างชนชั้นในสังคมประกอบด้วยชนชั้นย่อย ที่มีโครงสร้างที่สลับซับซ้อน เมื่อวิเคราะห์ผ่านกรอบคิดเรื่องทุน ผู้วิจัยจำแนกชนชั้นในสังคมไทยกว้างๆ ออกเป็น 5 ชนชั้นคือ ชนชั้นชายขอบ ชนชั้นต่อสู้ดิ้นรน ชนชั้นกลาง ชนชั้นมั่นคง และชนชั้นมั่นคงอย่างยั่งยืน คนในแต่ละชนชั้นมีวิธีคิดต่อเรื่องการเปลี่ยนแปลงสถานภาพและบทบาทของตัวเองแตกต่างกันไปตามตำแหน่งที่เป็นอยู่ทำให้สามารถเข้าถึงทุน สะสมทุน ส่งผ่านทุน ขยายโอกาสในชีวิต หรือรักษาผลประโยชน์ให้คงอยู่อย่างมั่นคงไว้ได้ผ่านบริบทช่วงเวลาของชีวิตที่ต่างกัน ซึ่งชนชั้นแต่ละชนชั้นมีแนวโน้มผลิตซ้ำชนชั้นของตนเอง ผ่านการบริหารจัดการและสั่งสมทุนภายใต้ระบบเศรษฐกิจสังคมแต่ละยุค อย่างไรก็ดี เส้นแบ่งชนชั้นของสังคมไทยก็มิได้ตายตัว เพราะยังเปิดโอกาสให้ผู้คนสามารถเลื่อนชนชั้นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโอกาสในการสะสมทุนทางเศรษฐกิจ ความสามารถเฉพาะตัว โอกาสทางการศึกษา และโอกาสในการประกอบอาชีพ ทั้งนี้ คนในแต่ละชนชั้นก็มีขีดจำกัดของโอกาสในการเลื่อนสถานะทางสังคม เพราะมีต้นทุนที่ต้องจ่ายเพื่อรักษาสถานะหรือเลื่อนชนชั้นที่ไม่เท่ากัน และยังมีช่องว่างทั้งระหว่างและภายในชนชั้นที่เปิดโอกาสให้ระบบอุปถัมภ์ยังคงทำงานได้ในทุกระดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
References
Archawanantakul, S. (2017). Inequality, portable edition. [in Thai]. Nonthaburi: Reform Office (NRSA).
Atkinson, A. B. (2015). Inequality: What can be done?. London: Harvard University Press.
Bourdieu, P. (1984). Distinction: A Social Critque of the Judgement of Taste. London: Routledge.
Bourdieu, P. (1985). The Social Space and the Genesis of Groups. Theory and Society, 14: 723-744.
Caillods, F, and Denis, M. (2016). Social Science Challenges Inequalities: General Introduction. In World Social Science Report 2016 Challenging Inequalities: Pathways to a Just Worlds (pp. 18-25). Paris: ISSC, the Institute of Development Studies (IDS) and UNESCO.
ISSC, the Institute of Development Studies (IDS) and UNESCO. (2016). World Social Science Report 2016 Challenging Inequalities: Pathways to a Just Worlds. Paris: UNESCO.
Jodhka, Surinder S., Rehbein, B. and Souza, J. (2018). Inequality in Capitalist Societies. London/New York: Routledge.
Lathapipat, D. (2014). Education Inequality and Wage Structure. In Phongpaichit, P., Editor, Toward Thai Society Equally. (pp. 13-35). [in Thai]. Bangkok: Matichon.
Leach, M. (2016). Towards Equality: Transformative Pathways (an Introduction to Part III). In ISSC and UNESCO, World Social Science Report 2016 Challenging Inequalities: Pathways to a Just World (pp. 184-191). Paris: ISSC and UNESCO.
Pannarunothai, S. et al. (2018). Project Report on Health Justice in Thai Society. [in Thai]. Bangkok: Thai Health Promotion Foundation (ThaiHealth).
Phongpaichit, P. (2014). Wealth, Power, Inequality. In Phongpaichit, P., Editor, Toward Thai Society Equally. (pp. 13-35). [in Thai]. Bangkok: Matichon.
Savage, M. et al. (2015). Social Class in the 21st Century. London: Penguin Random House.
Seabrook, J. (Ketroj, T. & Suputthamongkol, S. trans). (2011). The No-Nonsense Guide to Class, Caste & Hierarchies. [in Thai]. Bangkok: Kopfai Printing Project.
Srisupan, P., Boonwanno, T. and Jumnianpol, S. (2021). Global Inequality Research: An Explanation on Social Class and Inequality in Contemporary Thai Society. [in Thai]. Bangkok: Thailand Science Research and Innovation.
Stiglitz, J. E. (Archawanantakul, S. Trans.) (2013). The Price of Inequality. [in Thai]. Bangkok: Open World Publishing House.
The Matter. (2020, 4 September). Statistics of People Aplying for Government Officials, Only this Year, it has Surged more than 600,000 people until the seats are full. Exceeding the amount that can be applied for almost a hundred thousand people. [in Thai]. The Matter. https://thematter.co/brief/brief-1599231601/122797
Therborn, G. (2013). The Killing Fields of Inequality. Cambridge: Polity Press.
Thongsawang, S., Rehbein, B. and Chantavanich, S. (2020). Inequality, Sociocultures and Habitus in Thailand. SOJOURN, 35(3): 493-524.
Wilkinson, R. and Pickett. (Archawanantakul, S. Trans). (2012). The Spirit Level: Why Equity is better for Everyone. [in Thai]. Bangkok: Pabpim.
Wright, E.O. (1976). Class boundaries in advanced capitalist societies. New Left Review, 98: 3-41.