การเปลี่ยนแปลงการรับรู้เรื่องพรรณไม้ใน อักขราภิธานศรับท์ของหมอบรัดเลย์: วิถีชีวิตชาวสยามที่สัมพันธ์กับพืชพรรณไม้

Main Article Content

สมศรี ชัยวณิชยา
มิตต ทรัพย์ผุด
วรรณภา ชำนาญกิจ

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการนำเสนอผลการวิจัยเอกสารโดยใช้ระเบียบวิธีการศึกษาทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาเรื่องการรับรู้ของชาวสยามเรื่องพรรณไม้จากหนังสือชื่อ      อักขราภิธานศรับท์[1] ของหมอบรัดเลย์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ กล่าวคือ ประการแรก การนำเสนอผลวิจัยการจำแนกพรรณไม้ในอักขราภิธานศรับท์ ประการที่สอง การนำเสนอคุณค่าของหนังสืออักขราภิธานศรับท์ในฐานะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมสยามในคริสต์ศตวรรษที่ 19 กับการรับรู้เรื่องพืชพรรณไม้     ผลการศึกษาพบว่า ประการแรก ชาวสยามแบ่งประเภทพรรณไม้เป็น 4 ประเภท ได้แก่  พืชอาหาร สมุนไพร การใช้สอย และพืชป่า ประการที่สอง หนังสืออักขราภิธานศรับท์ ของหมอบรัดเลย์ มีคุณค่าในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชาวสยามคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่สัมพันธ์กับพืชพรรณไม้ในลักษณะการพึ่งพาธรรมชาติทางด้านการดำรงชีวิต วัฒนธรรม และการค้าต่างภูมิภาคตามบริบทการค้าหลังสนธิสัญญาเบาริง พ.ศ. 2398 การสร้างคำอธิบายคำศัพท์พรรณไม้สะท้อนให้เห็นโลกทัศน์เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสังคมสยามในคริสต์ศตวรรษที่ 19 กับพืชพรรณไม้ในสมัยนั้นและการรับรู้ด้านพื้นที่ของชาวสยาม ได้แก่ พื้นที่ภูมิศาสตร์ พื้นที่เพาะปลูกพรรณไม้ และพื้นที่ภูมิรัฐ  


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bradley, D.B. (1971). Dictionary of the Siamese Language by D.B. Bradley. (2nd Ed.). [in Thai]. Phra Nakhon: Khurusapha Ladprao Printing House.

Buretbumrungkan, L. (1984). Trees in Thai Literature. [in Thai]. Bangkok: n.p.

Chartier, R. (1987). Lectures et lecteur dans la France d’Ancien Regime. Paris: Editions du Seuil, coll.

Crosby, Alfred W. (1972). The Columbian Exchange: Biological and Cultural Consequences of 1492. Westport, Connecticut: Praeger Publishers (2003). Available in Spanish, Italian, and Korean translations.

Dilokanopparat, Prince. (2022). Agriculture in Siam. Loto, Praiwan, trans. [in Thai]. Chiangmai: Chiangmai University Press. Gervaise, N. (1963). The Natural and Political History of the Kingdom of Siam (in the Land of King Narai the Great). Komolabutra, Sata T., trans. [in Thai]. Phra Nakhon: Kaona Publishing.

Intasuwan, P. (2005). Plant Taxonomy. [in Thai]. Songkhla: Department of Biology, Faculty of Science, Thaksin University.

La Loubère, S. de. (2009). The Kingdom of Siam. Komolabutra, Sata T., trans. [in Thai]. Nonthaburi: Sripanya Publishing.

Luangthongkum, T. (1991). Thai-Thai Dictionaries: Past-Present (1846-1990), Research Report. [in Thai]. Bangkok: Research Division, Chulalongkorn University.

Pallegoix, M. (2006). Telling the Story of Krung Siam. Komolabutra, Sata T., trans. [in Thai]. (3rd Ed.). Nonthaburi: Sripanya Publishing.

Piampongsan, S. (1989). Plants in Sunthorn Phu’s Literature. as cited in Ruengruglikit, Cholada. (2021). Plants and Roles of Plants in Sunthorn Phu’s Literature. [in Thai]. pp.10-17. Bangkok: Thana Press.

Ruengruglikit, C. (2021). Plants and Roles of Plants in Sunthorn Phu’s Literature. [in Thai]. Bangkok: Thana Press.

Sangkaphanthanon, T. (2013). Green Literature Paradigm and Natural Discourse in Thai Literature (Ecocriticism in Thai Literature). [in Thai]. Bangkok: Nakhon Publishing.

Theerasasawat, S. (2011). Book Review: The Kingdom of Siam Simon de La Lubere. [in Thai]. Journal of Mekong Societies, 7 (2), 145-153.

Worster, D. ed. (1988). The Ends of the Earth: Perspectives on Modern Environmental History. Cambridge: Cambridge University Press.