ภาพยนตร์คนยาก: การสร้างพื้นที่สื่อสารกับคนไร้บ้าน

Main Article Content

องอาจ หาญชนะวงษ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตสื่อร่วมกับคนไร้บ้านในเมืองที่มียุทธศาสตร์ขับเคลื่อนสู่การเป็นสมาร์ทซิตี้เพื่อถ่ายทอดมุมมองของคนไร้บ้านในรูปแบบภาพยนตร์และนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับคนเมือง โดยผู้วิจัยใช้แนวทางว่าด้วยความคิดทางการเมืองเรื่องความเสมอภาคของฌาคส์ ร็องซีแยร์ (Jacques Ranciére) ในการให้อำนาจผลิตสื่อแก่ผู้ที่ไม่มีพื้นที่ในการออกเสียง ผ่านการจัดอบรมการถ่ายวิดีโอให้กับคนไร้บ้านเพื่อคัดเลือก 12 คนไร้บ้าน ในการบันทึกภาพเทศบาลเมืองขอนแก่นในมุมมองตนเอง จากนั้นจึงรวบรวมวิดีโอมาทำการลำดับภาพเป็นภาพยนตร์ความยาว 60 นาที ก่อนจัดฉายในที่สาธารณะเพื่อเปิดพื้นที่ให้มีการสนทนาและแสดงความคิดเห็น


ผลการศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การผลิตสื่อของคนไร้บ้าน และการสร้างพื้นที่สื่อสารกับคนเมือง โดยส่วนที่ 1 การผลิตสื่อของคนไร้บ้าน แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ทำเพื่อความสนุก กล่าวคือ อุปกรณ์บันทึกภาพเคลื่อนไหวเป็นสิ่งที่เข้าถึงยาก จึงเป็นกิจกรรมที่มีความแปลกใหม่สำหรับคนไร้บ้าน กรณีนี้มีข้อจำกัดในการปฏิบัติงานที่ต้องมีความไม่ซับซ้อน เช่น การฝึกตั้งกล้องนิ่งไว้บนพื้นหรือกำแพง ซึ่งภาพที่ได้จะมีมุมมองที่หลากหลาย ประเภทต่อมาคือทำเพราะมีค่าจ้าง กรณีนี้ภาพที่ได้จะมีจำนวนน้อยและมีมุมมองที่ซ้ำ เนื่องจากบันทึกอย่างเร่งรีบในรัศมีที่อยู่ใกล้ที่พัก และประเภทที่สามทำเพื่อต้องการถ่ายทอดปัญหาในชีวิต กล่าวคือ คนไร้บ้านมีที่มาจากหลากหลายปัญหาสังคม เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาครอบครัว ปัญหาสุขภาพจิต ไปจนถึงการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ต้องการเปิดเผย ภาพที่บันทึกจึงเป็นเรื่องทั่วไป เช่น การเดินทาง การกิน และการนอน อย่างไรก็ดี ผลการศึกษาส่วนที่ 2 การสร้างพื้นที่สื่อสารกับคนเมือง พบว่า ภาพยนตร์สามารถสร้างประเด็นนำไปสู่การเสวนาใน 2 สิ่งที่ไม่เคยเห็น คือ ภาพเมืองในมุมมองที่ไม่เคยเห็น และภาพคนไร้บ้านที่คนเมืองไม่เคยเห็น ด้วยเหตุนี้ การบันทึกภาพจึงเป็นกิจกรรมทางเลือกที่ทำให้คนไร้บ้านได้ผ่อนคลาย และได้แสดงตัวตนในฐานะพลเมือง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

References

Archawanantakul, S. (2018, 11 June). "People" must come before "Technology" (1) about "Smart City" and the situation of Bangkok. [in Thai]. Thaipublica. Retrieved April 10, 2023, from https://thaipublica.org/2018/06/is-bangkok-smart/

Archawanantakul, S. (2018, 25 June). “People” must come before “Technology” (2) Looking at “Smart City” Singapore. [in Thai]. Thaipublica. Retrieved April 9, 2023, from https://thaipublica.org/2018/06/singapore-smart-city-1/

Charoensinolan, C. (2020). The Political of Jacques Ranciere. Bangkok: Sommadhi Thaipublishing.

Chuaduangpui, K. & Ponthip, A. & Wattananamkul, V. and Prasertsuk, S. (2018). Homeless way of life in Khon Kaen City Municipality, Khon Kaen Province. [in Thai]. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11 (2). 1341-1362.

Krompakdee, N. Homeless Friends Network. Interview. January 25, 2022.

Machares, K. (2021, 14 May). Voice from Khon Kaen “Homeless…not without friends” let's fight against COVID-19 together. [in Thai]. HECITIZEN.PLUS. Retrieved April 10, 2023, from https://thecitizen.plus/node/44264

Srisuphap, T. (2020, 25 December). New Year's Eve welcome new year Send concern to homeless friends. [in Thai]. THECITIZEN.PLUS. Retrieved October 11, 2023, from https://thecitizen.plus/node/38026

Miri, Y. (2023). Tokyo Ueno Station. (Saksamutranun, T. translator). Bangkok: Prism Amarin Printing and Publishing.

Orwell, G. (2017). Down and Out in Paris and London. (Suwannanon, B. translator). Bangkok: Typhoon Studio.

Steinbeck, J. (2006). The Grapes of Wrath. (Chanpen, N. translator). Bangkok: Thai Quality Books.

Thammakaew, T. (2014). Exile. Bangkok: Matichonbook.

Visetpricha, B. (2017). Lok-Kong-Kon Rai-Ban. Nonthaburi: Sameskybooks.

Visetpricha, B. (2018). Street Line: Street Anthropology in Manila. Bangkok: Way of Book.

Visetpricha, B. (2019). The Right to the City. [in Thai]. Research article. Faculty of Sociology and Anthropology, Thammasat University,

Visetpricha, B. (2021). Ban-Tee-Glub Mai-Dai. Bangkok: The Mirror Foundation.