ข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาลาวเบื้องต้นในฐานะวิชาเลือก ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ระหว่างปีการศึกษา 2560-2562

Main Article Content

ลอยลุนันท์ อุดมญาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาลาวเบื้องต้นฐานะวิชาเลือกของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ระหว่างปีการศึกษา 2560-2562 ตามหลักการสะกดคำตามอักขรวิธีลาว การใช้คำลาวและการวิเคราะห์ข้อผิดพลาด ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากชิ้นงานการเขียนบรรยายเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาที่เรียนในรายวิชาภาษาลาวเบื้องต้น กลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง 372 ชิ้นงาน ใน 3 หัวข้อ คือ การเขียนเรื่องความประทับใจ  เรื่องตลกและเรื่องอวยพร วิเคราะห์และหาค่าความถี่แล้วจัดลำดับความมากน้อย ผลการศึกษาพบว่า ข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาลาวเบื้องต้นฐานะวิชาเลือก มีข้อผิดพลาดทั้งหมดจำนวน 1,759 จุด ปรากฏ 4 ลักษณะ ซึ่งลักษณะที่มีข้อผิดพลาดมากที่สุดคือ การสะกดคำ รองลงมาคือ การเขียนภาษาลาวโดยใช้ถ้อยคำเป็นภาษาไทย ระดับปานกลางคือ การเขียนภาษาลาวโดยสะกดตามอักขรวิธีของภาษาไทย และน้อยที่สุดคือข้อผิดพลาดในการใช้คำ ด้านการสะกดคำมี 3 ลักษณะ ซึ่งมีข้อผิดพลาดมากที่สุดคือ การเขียนสระ รองลงมาคือ พยัญชนะ และน้อยที่สุดคือวรรณยุกต์ ด้านการเขียนพยัญชนะ การเขียนรูปพยัญชนะต้นผิดพลาดมากกว่าการเขียนรูปพยัญชนะท้าย พยัญชนะต้นที่มักเขียนผิดมี 24 ตัว เขียนผิดพลาดมากที่สุดคือ ລ  รองลงมาคือ ຮ  ระดับปานกลาง ได้แก่ ຂ ມ ຢ  ອ ຊ ຍ ໜ ຫຼ ໝ ຖ ທ น้อยที่สุด คือ ສ ຫງ ส่วนพยัญชนะท้ายเขียนผิดพลาดมากที่สุดคือ ນ รองลงมา คือ ງ  ปานกลาง ได้แก่ ມ ກ ດ ບ น้อยสุดคือ ວ ด้านการเขียนสระ เขียนผิดมากที่สุด คือ  ເອົາ รองลงมาคือ  ອໍ ອື ระดับปานกลาง ได้แก่  ອີ ເອີ ໄອ ໃອ ເອຍ ອົວ ອິ ອະ น้อยที่สุด คือ ອຶ และ ເອາະ  ด้านการเขียนวรรณยุกต์  มีข้อผิดพลาดมากที่สุดคือ การเขียนคำโดยใช้รูปวรรณยุกต์ผิด ด้านการเขียนภาษาลาวโดยใช้ถ้อยคำเป็นภาษาไทย ใช้มากที่สุดคือ วลี  การเขียนภาษาลาวโดยสะกดตามอักขรวิธีของภาษาไทย คำที่มักสะกดผิด คือ คำที่มีสระ เอีย เอยและอักษรควบกล้ำ ส่วนข้อผิดพลาดในการใช้คำ คำที่มักใช้ผิด คือคำว่า ​ປີ້ (ตั๋ว)  ຂ້ອຍ (ฉัน)  ​ເລື່ອງ (เรื่อง)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bumroongthai, G. (2010). An Error Analysis in English Paragraph Writing by Students of the Faculty of Liberal Arts, Rajamangala University

of Technology Phra Nakhon. [in Thai] Rajamangala University of Technology Phra Nakhon, Bangkok.

Chuchuen, K. (1999). Thai-Lao writing-reading system, Phetchaburi Rajabhat Institute, the use of Thai language by Lao students at Kasetsart University. [in Thai]. Kasetsart University.

Chanprakhon, W. (2007). Thai Language for Communication, 2nd edition. [in Thai]. Bangkok: Triple Krung Por, Bangkok: Triple Group.

Chanthao, R. & Unthanon, P. (2013). Written Errors in Lao Language of Students at Khon Kaen University. [in Thai]. Journal of Mekong

Societies, Khon Kaen University, 3 (2), 123-145.

Duangpetch, S. (1990). A Comparison of Spelling ability and Permanence.Thai Language of Students in Mathayom 3 who were taught using the Skill Model Write and Spell Words using Exercises according to the Teacher's Manual. Master of Education.

[in Thai]. Thesis. Branch Curriculum and Teaching, Srinakharinwirot University.

Junsooksri, P. (2008). A Manual for Teaching the Thai Language. Think and Write Creatively: Essay Summary and Summary Year 2- Year 4. [in Thai]. Bangkok: Trade Organization of Office of the Board of Directors OTEP.

Klueakon, P. (2007). A Study of the Spelling Ability of Students with Learning Disabilities of Matthayom Sueksa 2-3 using

Computer-assisted Teaching Lessons. [in Thai]. Thesis. Master of Education degree in Special Education. Bangkok, Srinakharinwirot University.

Kwanput, S. (2010). Comparing Prathom Sueksa 3 Student Achievement in Spelling Written Thai Words with the (◌์) mark over Silent

Final Consonants after Studying by Means of the Four-Skill Integration and Cooperative Learning.http://202.44.68.33/node/85955

Manok, P. (2021). A Lexical Error Analysis of English Paragraph Writing of First Year Students, Silpakorn University. Sanamchandra

Campus. [in Thai]. Thesis. Master of Education (English Language Teaching). Silpakorn University, Bangkok.

Purintrapibal, S. (2010). L1 and Foreign Language Learning. [in Thai]. Journal of Faculty of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 6 (2),53-55.

Somprayoon, W. (1996). Teaching the Thai language at the Primary Level. [in Thai]. Bangkok. Thai Wattana Panich

Yoo-Yen, W. (1997). A Constructive Study of Thai and Lao Languages as well as the Errors in Thai Usage of Lao Students at Kasetsart

University. [in Thai]. Faculty of Humanities Kasetsart University. Bangkok.