การใช้ทุนทางสังคมในการพัฒนาเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีตอนล่างเพื่อแก้ไขผลกระทบจากการสร้างเขื่อน

Main Article Content

นิรันดร คำนุ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และผลกระทบจากการสร้างเขื่อนร้อยเอ็ด เขื่อนยโสธร-พนมไพร และเขื่อนธาตุน้อย และเพื่อศึกษารูปแบบการใช้ทุนทางสังคมในการพัฒนาเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีตอนล่าง เพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการสร้างเขื่อนร้อยเอ็ด เขื่อนยโสธร-พนมไพร และเขื่อนธาตุน้อย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีการประยุกต์แนวคิดทุนทางสังคมมาใช้ในการออกแบบขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีตอนล่าง การเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นแกนนำเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีตอนล่าง จำนวน 15 คน และมีสมาชิกเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีตอนล่างเป็นผู้ร่วมกิจกรรม จำนวน 100-300 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) การสร้างเขื่อนร้อยเอ็ด เขื่อนยโสธร-พนมไพร และเขื่อนธาตุน้อย ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อระบบเกษตรกรรม การดำรงชีพ และระบบนิเวศลุ่มน้ำ ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากยาวนานในพื้นที่การเกษตรและที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน ชาวบ้านที่ประสบปัญหาดังกล่าวได้มีการรวมกลุ่มเพื่อเรียกร้องค่าชดเชยการสูญเสียโอกาสกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีนักพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามาสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีตอนล่าง เพื่อเรียกร้องสิทธิในการจัดการทรัพยากรชุมชนและค่าชดเชยการสูญเสียโอกาสในการทำการเกษตร ตลอดจนการหาแนวทางการฟื้นฟูระบบนิเวศลุ่มน้ำชีตอนล่าง 2) รูปแบบการใช้ทุนทางสังคมในการดำเนินงานของเครือข่ายชาวบ้าน เป็นการประยุกต์นำทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้พัฒนาการดำเนินงานของเครือข่ายชาวบ้าน โดยผสมผสานกันระหว่างงานพัฒนาในมิติทางวัฒนธรรมกับการเคลื่อนไหวทางสังคม ยิ่งไปกว่านั้นเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีตอนล่างยังมีการประยุกต์ใช้ทุนทางสังคมในการดำเนินการแก้ไขปัญหาในหลายมิติ ได้แก่ การใช้ทุนทางสังคมกับการเรียกร้องสิทธิ์กับภาครัฐ การใช้ทุนทางสังคมกับการฟื้นฟูทรัพยากร การใช้ทุนทางสังคมกับการสร้างเครือข่าย การใช้ทุนทางสังคมในการจัดการองค์กรชาวบ้าน และการใช้ทุนทางสังคมในการพัฒนาอุดมการณ์ร่วมของชาวบ้านลุ่มน้ำชีตอนล่าง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bourdieu, P. (1986). “The Forms of Capital”. In Imre, S. & Timothy, K., editor. Cultural Theory: An Anthology. (p. 81-93). New Jersey: Wiley-Blackwell.

Bourdieu, P. (1994). L’économie des biens symboliques, extrait de raisons pratiques: Sur la théorie de l’sction. Sa-ngiamphaisalsuk, C. Trans. (2005). [in Thai]. Bangkok: Kobfai.

Chantavanich, S. (2011). Sociological Theory (4th eds.). [in Thai]. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Department of Energy Development and Promotion. (2001). Study of Additional Impact Details and Formulation of an Action Plan to Reduce Environmental Impact According to the Mekong-Chi-Moon Project Development Plan, Phase 1. [in Thai]. Bangkok: Tara Consultants Company Limited.

Ganjanapan, A. (2001). Community Dimensions: A Local Way of Thinking about Rights, Powers, and Resource Management. [in Thai]. Bangkok: National Research Support Office.

Kaewthep, K. & Hinwiman, S. (2008). Political Economic Theories with Communication Studies. Bangkok: Phappim.

Kata, P. (2004). The Study on Social Capital and the Role of Social Capital in Social Movement: Case Study of Healthy Civil Society in One Village in North-eastern Region of Thailand (Research Report). [in Thai]. Bangkok: Office of the National Culture Commission.