วิธีวิทยาว่าด้วย “โชคดีที่บังเอิญค้นพบ”: กรณีศึกษาประเด็นความยากจนในจังหวัดอำนาจเจริญ Poverty…Serendipity

Main Article Content

Phongthep Bunkla

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ “แนวคิดโชคดีที่บังเอิญค้นพบ” ในการวิเคราะห์ประเด็นความยากจนจากการวิจัยในจังหวัดอำนาจเจริญ ผู้เขียนใช้วิธีการศึกษาข้อมูลจากการลงพื้นที่ภาคสนาม ได้แก่ การสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth interview) การสนทนากลุ่ม (Focus group) การแลกเปลี่ยนหลังลงภาคสนาม (After Action Review: AAR) และการสังเกตการณ์ รวมทั้งศึกษาข้อมูลจากวรรณกรรมต่าง ๆ แนวคิดโชคดีที่บังเอิญค้นพบ มีรากฐานมาจากการสังเกตการณ์และการใช้หลักฐานวิเคราะห์ประกอบที่นำไปสู่การค้นพบ 2 ประการ คือ ความบังเอิญที่ไม่ได้คาดการณ์หรือล่วงรู้มาก่อน และความฉลาดเฉลียวที่สัมพันธ์กับความอยากรู้อยากเห็น การนำแนวคิดโชคดีที่บังเอิญค้นพบมาใช้อธิบายการทำงานภาคสนามเกี่ยวกับ “ความยากจน” และ “ปัญหาความยากจน” และอยู่ในความเป็นเหตุเป็นผลไม่ใช่การค้นพบทั่วไปแบบโชคช่วย เพราะการค้นพบดังกล่าวอาศัยความช่างสังเกต ความอยากรู้อยากเห็น และการตั้งคำถามต่อความยากจนและการแก้ไขปัญหาความยากจน ผู้เขียนเห็นว่าแนวคิดโชคดีที่บังเอิญค้นพบเป็นสิ่งที่นักสังคมวิทยาและมานุษยวิทยารุ่นใหม่สามารถนำมาใช้ควบคู่กับวิธีวิทยาที่ถูกออกแบบในการวิจัยภาคสนามในประเด็นความยากจนทางวิชาการได้อย่างน่าสนใจ


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กนกวรรณ มะโนรมย์. 2562. “เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนอีสาน” ภายใต้เสรีนิยมใหม่ และ รัฐในฐานะ
“นายหน้าที่ดิน” กรณีศึกษาเขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร. ว. สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 45,1 หน้า 269-299
กนกวรรณ มะโนรมย์ และนักวิจัย. 2564. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่และแก้ไข
ปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ จังหวัดอำนาจเจริญ.
กฤษฎา สุขพัฒน์. 2564. ผลกระทบจากการระบาด COVID-19 ต่อความยากจน บทบาทขององค์กร
นานาชาติ และข้อเสนอในการขจัดความยากจนของประเทศไทย. วารสารสังคมภิวัฒน์ 12, 1 หน้า 68-89.
ฐานิดา บุญวรรโณ. 2562. ความสำคัญของ ‘Serendipity (โชคดีที่บังเอิญค้นพบ)’ ในการทำงาน
ภาคสนามทางมานุษยวิทยา. วารสารมานุษยวิทยา 2, 2 หน้า 6-48.
ฐิตินาถ ภูมิถาวร. 2021. วิกฤติการณ์ของโลกในศตวรรษที่ 21: กรณีความยากจนและความเหลื่อมล้ำใน
สังคม. วารสารสังคมภิวัฒน์ 12, 2 หน้า 68-85.
ธนพล สราญจิตร์. 2015. ปัญหาความยากจนในสังคมไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเขีย ฉบับ
สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 5,2 หน้า 12-22.
นิภา จีรภัทร์. (2551). วาทกรรมการเมือง : การเมืองเรื่องความยากจนในสังคมไทย. วารสารพัฒนบริหาร
ศาสตร์, 48(4); 1-32.
วิบูลย์ รัตนาภรณ์วงศ์ และคณะ. 2020. การพัฒนารูปแบบการแก้ปัญหาความยากจนของชุมชนในประเทศ
ไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 5, 4 หน้า 261-180.