ความเป็นอื่นของชาวลาวที่ใช้วัฒนธรรมล้านช้างสองฝั่งแม่น้ำของ ช่วงปี ค.ศ.1713-1954

Main Article Content

สุธิดา ตันเลิศ

บทคัดย่อ

 


บทความวิชาการนี้ศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นอื่นของชาวลาวร่วมวัฒนธรรมล้านช้างสองฝั่งแม่น้ำของ ระหว่างปีค.ศ. 1713-1953 โดยใช้มุมมองทางประวัติศาสตร์ ใช้การวิเคราะห์เอกสารลายลักษณ์อักษรที่เกี่ยวข้องกับประเด็นศึกษา ผู้เขียนยึดนิยามความเป็นอื่นจากมุมมองนักคิดสังคมนิยมที่ตั้งข้อสังเกตว่า ความขัดแย้งของมนุษยชาติมีพื้นฐานมาจากการรังเกียจเดียดฉันท์ทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม  แบ่งประเด็นการศึกษาออกเป็น 4 ประเด็นหลัก คือ  ชุมชนสองฝั่งของ จุดกำเนิดความเป็นอื่นระหว่างกัน รัฐชาติแบบใหม่ ภราดรภาพของคนสองฝั่งของ ผลการศึกษาพบว่า ชาวลาวร่วมวัฒนธรรมล้านช้างสองฝั่งของมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นในสมัยจารีตที่เติบโตมาจากหน่วยการเมืองขนาดเล็กไม่มีเอกภาพทางการเมือง คนล้านช้างมีจุดร่วมทางวัฒนธรรมการเมืองที่สำคัญอย่างน้อย 4 ประการ คือ การนับถือสิ่งเหนือธรรมชาติ สื่อสารภาษาลาว นับถือพุทธศาสนา และมีจารีตปฏิบัติในประเพณีฮีต 12 คอง 14 คนล้านช้างสองฝั่งของเริ่มเกิดความรู้สึกเป็นอื่นระหว่างกันในช่วงการก่อตัวของรัฐชาติแบบใหม่ (ค.ศ. 1893-1953) เมื่อ รัฐบาลสองฝั่งของใช้การขัดเกลาพลเมืองแบบใหม่ให้จงรักภักดีต่อรัฐที่ต้องเลื่อมใสในพุทธศาสนา และระบอบราชาธิปไตย  ในเวลาเดียวกัน กลุ่มเคลื่อนไหวแบบสังคมนิยมได้เผยแพร่ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยประชาชนกับการปกครองด้วยระบบพรรคเดียวต่อคนในพื้นที่ปกครองของตนเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงมหาดไทย.(ม.ป.ป.). หนังสือปึก 1ล 1/32 เรื่องผีบุญ,รศ.112. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารไม่
ตีพิมพ์.
Goscha, Christopher E. (2013). Going Indochinese Contesting Space and Place in French
Indochina. Copenhagen: Nias Press.
Dommen, Arthur J. (2001). The Indochinese Experience of the French and the Americans
Nationalism and Communism in Cambodia, Laos, and Vietnam 1-7. Indianapolis:
Indiana University Press.
ทองสา ไชยะวงคำดี และคณะ.(1989). ประวัติศาสตร์ลาวเล่ม III 1893 ถึงปัจจุบัน. เวียงจันทน์: กระทรวง
ศึกษาและกีฬา สถาบันวิทยาศาสตร์สังคม,
ทงสะหวาด ปะเสิด.(2017).ประวัติการต่อสู้ของประชาชนเวียดนาม เพื่อเอกราช และเสรีภาพ ยืนยง.
ฮานอย: สำนักพิมพ์จำหน่ายการเมืองแห่งชาติซือเทิด.
เทอร์วีล, บี เจ.;ดิลเลอร์, แอนโทนี และ ชลธิรา สัตยาวัฒนา. (2533). คนไท (เดิม) ไม่ได้อยู่ที่นี่.กรุงเทพฯ:
เมืองโบราณ.
นงลักษณ์ ลิ้มศิริ.(2524). “ความสำคัญของกบฏหัวเมืองอีสาน พ.ศ.2325-2445.”วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.
Brown, Archie. (2009). The Rise and the Fall of the Communism. London: the Bodley Head.
Boulanger, Paul le. (1931). Histoire du Laos Française. Paris: Edition Plon.
ผลา ณ อุบล. 2556.บ้านสิงหัษฐิต ถนน พิชิตรังสรรค์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี.พูดคุย
แบบไม่เป็นทางการ .
Fistie, P.(1968). “Communisme et Indépendence Nationales: le Cas Thailandais (1928-1968).”
Revue Française de Science Politique 18:658-714. Quoted from Gunn, Geffrey C.
(1988). Political Struggle in Laos (1930-1945). Bangkok: Duangkamol.P.175.
Ministère de Europe et des Affaires Des’ Etrangères. France Diplomacy: “Liberté ,éqalité, et
fraternité.”https://www.diplomatie.gouv.fr/en/coming-to-france/france-
facts/symbols-of-the-republic/article/liberty-equality-fraternity. Viewed on 7 April 2021.
สจ๊วต-ฟ็อกซ์,มาร์ติน.(2553).ประวัติศาสตร์ลาว. กาญจนา ละอองศรี และปรียา แววหงส์. กองบรรณาธิการ.
จิราภรณ์ วิญญรัตน์.แปล. กรุงเทพมหานคร: มูลนิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
สมมาตร์ ผลเกิด.(มกราคม-มิถุนายน 2552). “กบฏผีบุญ: กระจกสะท้อนสังคมไทย.” วารสารวิชาการ
มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ 1(1):20-30.
สมทอน ลอบลิยาว.(2017).ท่านไฟด่าง ลอบลิยาว ในขบวนวิวัฒน์การปฏิวัติลาว.เวียงจันทน์: สถาบัน
วิทยาศาสตร์สังคมแห่งชาติ.
Sila Vilavong. (1964). History of Laos. New York: Paragon.
สิลา วีระวงส์. (2539). ประวัติศาสตร์ลาว. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ มติชน.
สุธิดา ตันเลิศ. (กรกฎาคม – ธันวาคม 2561). “ความรับรูเกี่ยวกับพระวอและพระตา ในงานเขียนของทายาท
อาญาสี่เมืองอุบล.” วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยุบลราชธานี 9 (2): 194-
212.
สุธิดา ตันเลิศ และ เมธี เมธาสิทธิ สุขสำเร็จ.(กรกฎาคม - ธันวาคม 2556). “การสร้างประวัติศาสตร์พระครู
โพนสะเม็กในดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง.” วารสารวิจิตรศิลป์ 4 (2:) 306-366.
สุธิดา ตันเลิศ. (2558). “ข้าโอกาสพระธาตุพนมสองฝั่งโขงกับการปรับมโนทัศน์ทางประวัติศาสตร์.”
วารสารภาษาและวัฒนธรรม 34 ( 1): 29-59.
สุธิดา ตันเลิศ.(กรกฎาคม- ธันวาคม 2555).“ข่า: ทาสในมณฑลลาวตะวันออกและมณฑลลาว
ตะวันออกเฉียงเหนือระหว่าง ค.ศ. 1779-1904.” วารสารวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3 (2):
229-262.
สุธิดา ตันเลิศ. (พ.ค.-ส.ค. 2554) “ประวัติศาสตร์นครจำปาศักดิ์และเมืองอุบลราชธานีในสายตาของเอเจียน
แอมอนิเย Etienne Francois Aymonier, ค.ศ. 1883-1884.” วารสารคณะมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 28 ( 2): 46-66.
สุวิทย์ ธีรสาศวัตร. (2543).ประวัติศาสตร์ลาว 1779-1975. กรุงเทพฯ : สกว. สร้างสรรค์บุ๊คส์.
หวัง จี้ หมิน. (2532). “ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองเชอลี่กับเมืองปาไป่ซีฟู ในพุทธศตวรรษที่ 19.” วิทยานิพนธ์
ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรรถ นันท์จักร.(2529). “ประวัติศาสตร์นิพนธ์อีสาน การศึกษาเชิงวิเคราะห์ประเพณี การจดบันทึกทาง
ประวัติศาสตร์อีสาน ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.
อรรถพล ธรรมรังษี.(กันยายน-ธันวาคม 2563).”พระวอ-พระตา: ลักษณะวีรบุรุษในวรรณกรรมใบลานฉบับ
หอสมุดแห่งชาติลาว.” วิวิธวรรณสาร 4(3):165-186.
อรอินทร์ ภูริพัฒน์. (2556).โรงเรียนศรีทองวิไล ถนนปทุมมาลัย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัด
อุบลราชธานี.พูดคุยแบบไม่เป็นทางการ.
อุราลักษณ์ สิถิรบุตร. (2526). “มณฑลอีสานและความสำคัญในทางประวัติศาสตร์.” วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์
มหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Holy Man’s Rebellions. (22 December 2020).
https://en.wikipedia.org/wiki/Holy_Man% 27s_Rebellion. Viewed on 4 April 2021.