งานวิจัย ศักยภาพการท่องเที่ยววิถีคลองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศักยภาพการท่องเที่ยววิถีคลองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

ประจวบ จันทร์หมื่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยววิถีคลองในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) วิเคราะห์และประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยววิถีคลองในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) สังเคราะห์แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยววิถีคลองในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้แนวคิดองค์ประกอบด้านการท่องเที่ยว 6 As ในการศึกษา คือ ด้านแหล่งท่องเที่ยว (Attraction) การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว (Accessibility) สิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities) ที่พักในแหล่งท่องเที่ยว (Accommodations) กิจกรรมการท่องเที่ยว (Activities) และบริการเสริม (Ancillary Services) การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ใช้วิธีการศึกษาแนวคิดทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการลงพื้นที่วิจัยจัดเก็บข้อมูลโดยการสำรวจ การสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 60 คน ประเมินและสังเกตการณ์ในพื้นที่ชุมชนท่องเที่ยว 15 แห่ง ใน 2 ลำน้ำ คือ ลำน้ำชีและลำน้ำมูล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาประกอบด้วยผู้นำชุมชนท่องเที่ยวและสมาชิก กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว กลุ่มเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาวิจัยในพื้นที่ลำน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


     ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยววิถีคลองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่า ภาคอีสานมีทรัพยากรกรท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเป็นส่วนใหญ่ มีทรัพยากรลำน้ำที่สัมพันธ์กับการท่องเที่ยว 2 สาย คือ  ลำน้ำมูลและลำน้ำชี 2) การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยววิถีคลองในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากจำนวน 15 แห่ง พบว่า มีชุมชนท่องเที่ยวที่ผ่านการประเมินใน 2 จังหวัด คือ ชุมชนบ้านบุ่งสิบสี่ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ และ ชุมชนบ้านหว้าน เทศบาลตำบลน้ำคำ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ 3) แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยววิถีคลองในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย การพัฒนาคน การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การสร้างมาตรฐานการท่องเที่ยวและการสร้างการรับรู้ในแหล่งท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ประจวบ จันทร์หมื่น, วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

การศึกษา : ไทศึกษา

References

Comnu,N (2018) Patterns for using social capital to address development impacts Of the network of villagers in the Lower Chi River Basin Case studies of the affected areas from the Roi Et Dam, Yasothon-Phanom Phrai Dam and That Noi Dam. Bangkok: Thailand Research Fund (TRF).
Suwan,P (2019) People Participation in Conservation of Water Resources: A Case Study of Damnoen Saduak Floating Market Community, Damnoen Saduak Sub-district, Damnoen Saduak District Ratchaburi Province. Journal of Interdisciplinary Studies Mahidol University, 19 (2), 42-54.
Siwanna,Y (2013) The process of building cooperation between communities and municipalities to conserve, restore and manage the central Mun River. Bangkok: Thailand Research Fund (TRF).
Aiemprasertgul,S (2017) Community water management to raise agricultural income .Journal of Rangsit Graduate Studies in Business and Social Sciences, 6(1), 235-249.
Patpan,S (2019) The participation of civil society in the administration of cultural tourism using Local wisdom. Journal of Management and Innovation, 7 (3), 1-11. College of Management Innovation Rajamangala University of Technology Rattanakosin
Auntong,A (2016) The dynamics and stability of the resilience of long-term Thai tourism demand in the Chinese tourist market. Journal of Economics and Management Strategy, 3 (2), 1-16.