ไก่ฝอยและสมันสเตอริไลส์ : นวัตกรรมอาหารในการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

Main Article Content

อลิสา หะสาเมาะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างนวัตกรรมอาหารในการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติธรรมชาติ 2) สร้างความตระหนักในการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติในการตอบสนองความต้องการของชุมชนบางปู การวิจัยนี้มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 19 คน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและมีรูปแบบการวิจัยเพื่อการพัฒนาโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามกึ่งโครงสร้างและแบบเจาะลึก การสังเกต และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักการพิจารณาสร้างประเด็นหลัก แล้วมาวิเคราะห์รวมกัน ผลการวิจัยพบว่า การวิจัยนี้สามามารถสร้างนวัตกรรมอาหารเพื่อใช้ในสถานการณ์ภัยพิบัติ คือ ไก่ฝอยและสมันสเตอริไลส์ที่สามารถเก็บได้นานถึง 1 ปี ลักษณะอาหารเหมาะสมกับวัฒนธรรมในท้องถิ่น กระบวนการพัฒนายังสามารถสร้างความตระหนักในการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติธรรมชาติ ทำให้ชาวบ้านเข้าใจถึงการเตรียมความพร้อมที่จะต้องมีอาหารสำรองก่อนเกิดภัยพิบัติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

NATIONAL GEOGRAPHIC ASIA. (17 ตุลาคม 2561). เข้าถึงได้จาก 10 อันดับสึนามิร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์: สืบค้น 11 ตุลาคม 2562. จาก https://shorturl.asia/h2oEi.
Thai PBS. (18 กันยายน 2563). เปิดความเสียหาย “โนอึล” หลังถล่มไทย. เข้าถึงได้จาก https://news.thaipbs.or.th/content/296583.
กรมประชาสัมพันธ์. (2562). รอบรู้อาเซียนทั่วไป. สืบค้น 11 ตุลาคม 2562. จาก https://shorturl.asia/drMGl
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2557). การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ : สู่การพัฒนาทียั่งยืน. กรุงเทพ: สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ.
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2558). แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. สืบค้น 11 ตุลาคม 2562 จาก กระทรวงมหาดไทย: https://shorturl.asia/Gxf6K.
เครือข่ายข้อมูลภัยพิบัติอาเซียน (ADInet) AHA Centre. (2562). สถิติภัยพิบัติทางธรรมชาติในอาเซียน ปี 2562. สืบค้น 24 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://gg.gg/hwgbn.
พิชณิชา นิปุณะ. (ม.ป.ป.). นวัตกรรมเพื่อชุมชน สู่การพัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/mA6l9.
ไพโรจน์ ภัทรนรากุล เอกราช บุญเริง. (2560). การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในการจัดการอุทกภัยและภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภางค์ จันทวานิช. (2547). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศศิมา สุขสว่าง. (2551). นวัตกรรม. บทความด้าน Innovation. https://www.sasimasuk.com.
เอกราช บุญเริงและไพโรจน์ ภัทรนรากุล. (2560). การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในการจัดการอุทกภัยและภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารการเมืองการปกครอง.