การศึกษากิจกรรมเพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว โดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ตำบลเขาคราม อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่

Main Article Content

Kanyapat Pattanapokinsakul

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


            งานวิจัยฉบับนี้ศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมเพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ตำบลเขาคราม อำเภอเมือง  จังหวัดกระบี่ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูลกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนของตำบลเขาครามและพัฒนาเครือข่ายเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนของตำบลเขาคราม จังหวัดกระบี่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กำหนดขอบเขตของการศึกษาในพื้นที่ตำบลเขาคราม อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ซึ่งมีประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 25 คน ได้แก่ ผู้นำชุมชน 4 คน ตัวแทนผู้ประกอบวิสาหกิจชุมชนของตำบลเขาคราม 8 คน ตัวแทนภาครัฐส่วนท้องถิ่น 3 และนักท่องเที่ยวร่วมทดลองเส้นทาง 10 คน โดยใช้การคัดเลือกแบบตามสะดวก (Convenience Selection) และใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาตามทฤษฎีเกี่ยวกับองค์ประกอบการท่องเที่ยว (5A) ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมในแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพพัฒนาเพื่อบรรจุในเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนของตำบลเขาคราม ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 11 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมสานตะกร้าไม้ไผ่ 2) กิจกรรมทำพวงกุญแจไม้รูปสัตว์ทะเล 3) กิจกรรมชิมน้ำผึ้งธรรมชาติและชมการเลี้ยงผึ้งโพรง 4) กิจกรรมทำขนมโรตีกรอบพื้นถิ่น 5) กิจกรรมพายคายักชมเขากาโรส 6) กิจกรรมชมพรรณไม้ป่าชายเลนและท่าปอมคลองสองน้ำ 7) กิจกรรมชมเขื่อนและป่าพรุ ณ เขื่อนเขาค้อม และ 8) กิจกรรมชมถ้ำธรรมชาติหินงอดหินย้อยและอ่างเก็บน้ำธรรมชาติ ณ วังน้ำเขียว 9) กิจกรรมทำขนมบ้าบิ่นจากข้าวสายพันธ์ท้องถิ่น 10) กิจกรรมทำผ้าบาติก ซึ่งทุกกิจกรรมเน้นให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างใกล้ชิด 11) กิจกรรมชมบ้านโบราณ จากผลการวิเคราะห์กิจกรรมสามารถสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมใน 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านทุ่ง หมู่ที่ 2 หนองจิก หมู่ที่ 3 บ้านไหนหนัง และหมู่ที่ 6 เขาค้อม พัฒนาออกมาเป็นเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ 1 เส้นทาง ระยะเวลา 2 วัน  งานวิจัยฉบับนี้สามารถนำไปใช้ในการต่อยอดพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวใหม่และเพิ่มมูลค่าทรัพยากรการท่องเที่ยวในชุมชนและส่งเสริมสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จัก ตลอดจนเกิดการกระจายรายได้และสร้างอาชีพใหม่ให้แก่ชุมชนอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จังหวัดกระบี่. (2557). วิสัยทัศน์กระบี่ 2020 สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2563, เข้าถึง ได้จาก http://www.krabi.go.th/krabi2015/m_file/KrabiVision2020.pdf
แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง สตูล) พ.ศ.2562-2565 สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2563, เข้าถึง ได้จาก http://www.osmsouth-w.moi.go.th/main/page/28
พจนา สวนศรีและสมภพ ยี่จอหอ. (2556). คู่มือมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.
วีระพล ทองมา. 2559. การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism: CBT) สำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนในเขตที่ดินป่าไม้. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2563, เข้าถึง ได้จากwww.dnp.go.th/fca16/file/i49xy4ghqzsh3j1.doc
Kampetch, P and Jitpakdee, R. (lecturer). (November 24, 2017). Success factors for management by community based tourism to sustainable. in Proceeding of The 7th STOU National Research Conference (pp. 564-575). Bangkok: Sukhothai Thammathirat University – Thailand
Pimlapas Pongsakornrungsilp. (2014). The Management of Sustainable Community-Based
Tourism: The Case of Ban Kokekrai, Phang Nga Province. Veridian E-Journal, 7 (3), 650-665.