สื่อประชาสัมพันธ์เส้นทางสำหรับ ปั่นจักรยานท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เทศบาลนครอุบลราชธานี

Main Article Content

พนิดา บุญชัย

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสื่อประชาสัมพันธ์สำหรับเส้นทางปั่นจักรยานท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เทศบาลนครอุบลราชธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ นักปั่นจักรยานท่องเที่ยวจำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอนุมาน t-test และ F-test (One-way Anova)  ผลการวิจัยพบว่า


(1) นักท่องเที่ยวมีระดับการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยรับรู้ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์มากที่สุด รองลงมาคือ สื่อบุคคล สื่อออนไลน์ และสื่ออื่น ๆ


(2) นักท่องเที่ยวที่มีอายุที่แตกต่างกันมีการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ต่อเส้นทางปั่นจักรยานท่องเที่ยวที่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ส่วนคู่อื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน


(3) รายละเอียดของสื่อแผ่นพับควรประกอบด้วย (1) ด้านนอกแผ่นพับ เป็นหน้าปกที่มีรูปภาพแหล่งท่องเที่ยว และหลังปกเป็นข้อมูลการติดต่อกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ข้อมูลการติดต่อร้านอาหารและที่พัก ข้อมูลสัญญาณมือพื้นฐานสำหรับการปั่นจักรยาน และ (2) ด้านในแผ่นพับ เป็นข้อมูลแสดงแผนที่เส้นทางปั่นจักรยานท่องเที่ยว


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เว็บไซต์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. “กิจกรรมนำร่องในโครงการ TOUR OF ISAN”, โครงการ TOUR OF ISAN. https://www.tat.or.th. 20 พฤศจิกายน, 2561.
จิราภรณ์ พรหมเทพ. (2561). แนวทางการพัฒนาการตลาดเส้นทางจักรยานท่องเที่ยวริมฝั่งโขงอำเภอเมือง นครพนม.วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่ง
ประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี,7 (ฉบับพิเศษ): 10-17; มกราคม – มิถุนายน, 2561.
เว็บไซต์ ชมรมจักรยานท่องเที่ยวทั่วไทย. “การปั่นจักรยานท่องเที่ยว”, การปั่นจักรยานท่องเที่ยวชมรมจักรยานท่องเที่ยวทั่วไทย.
https://www.facebook.com/groups/1074638782632031/. 20 พฤศจิกายน, 2561.
ชนกพล ชัยรัตนศักดิ์. (2556). ประสิทธิภาพของสื่อประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารการบริการและการท่องเที่ยว ไทย,13 (2): 190-220; กรกฎาคม-ธันวาคม. .
ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2543). สถิติพื้นฐานพร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Minitab SPSS และ SAS. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทองใบ สุดชาลี. (2549). การวิจัยธุรกิจ:ปฏิบัติการวิจัยนอกตำรา. อุบลราชธานี: คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
เว็บไซต์ เทศบาลนครอุบลราชธานี. “สถิติการเข้าร่วมปั่นจักรยาน กิจกรรม ปั่นจักรยาน”, Bike อุ่นไอรัก 2561. http://www.cityub.go.th/. 20 กันยายน, 2562.
เว็บไซต์ เทศบาลนครอุบลราชธานี. “ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวเทศบาลนคร อุบลราชธานี”, แหล่งท่องเที่ยวเทศบาลนครอุบลราชธานี. http://www.cityub.go.th/. 20 กันยายน, 2562.
ธิราภรณ์ กลิ่นสุคนธ์ และศุภรดา กิจพจน์. (2559). การสร้างสรรค์สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์อุทยานราชภักดิ์ของหน่วยงานกองทัพบก. วิทยานิพนธ์ (ปริญญานิเทศศาสตรบัณฑิต),
มหาวิทยาลัยรังสิต
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ไพศาล กาญจนวงศ์. “การประยุกต์ใช้ไอซีทีในบริบทธุรกิจท่องเที่ยว”, บริบทธุรกิจท่องเที่ยว. https://td260.wordpress.com/category/06-.pdf. 20 กันยายน, 2562.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2543). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
เสรี วงษ์มณฑา. (2550). ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
เสมอ นิ่มเงิน. “Generation กับพฤติกรรมการรับข่าวสารผ่านสื่อต่างๆ”, Generation. http://www.prd.go.th/download/article/article_20180904 112336.pdf. 20 มกราคม, 2563.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. New York : McGraw-Hill.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis.3rd ed. New York. Harper and Row Publications.