การพัฒนารูปแบบเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนระหว่าง ชุมชนบ้านทรายมูล และชุมชนบ้านโพธิ์ศรี อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ปริวรรต สมนึก

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัญหาและศักยภาพของ
การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ผ่านมาของชุมชนการท่องเที่ยวทั้งสอง (2) พัฒนา
และประเมินความเข้มแข็งของรูปแบบเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของ
สองชุมชนอย่างมีส่วนร่วม และ (3) เสนอรูปแบบเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวโดย
ชุมชนที่เหมาะสมของสองชุมชน โดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา ซึ่งกำหนดกลุ่ม
ตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเป็น 2 กลุ่มคือ ตัวแทนกลุ่มการท่องเที่ยว
โดยชุมชน 2แห่ง จำนวน 30 คนและกลุ่มนักท่องเที่ยวทดลองจำนวน 30 คน ซึ่ง
เก็บรวบรวมข้อมูลจากการประชุมกลุ่มย่อย การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การศึกษา
ดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายชุมชนการท่องเที่ยวอื่นที่ประสบผลสำเร็จ
ผลการวิจัยพบว่า
(1) ชุมชนการท่องเที่ยวเครือข่ายทั้ง 2แห่ง มีจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ
อุปสรรคต่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในลักษณะที่แตกต่างกันตามอัตลักษณ์และ
วิถีชีวิตตลอดจนแหล่งท่องเที่ยวของแต่ละพื้นที่ ซึ่งสามารถนำมาใช้ร่วมกันในการเป็น
ทรัพยากรการท่องเที่ยวแบบเครือข่ายได้อย่างลงตัวโดยชุมชนแต่ละแห่งสามารถ
นำเอาจุดเด่นของกิจกรรมคาท่องเที่ยวแต่ละชุมชนมาจัดเป็นโปรแกรมการท่องเที่ยว
แบบเครือข่ายอย่างมีส่วนร่วมได้อย่างเหมาะสม
(2) การพัฒนารูปแบบเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของสอง
ชุมชนอย่างมีส่วนร่วมได้ใช้แนวคิดการจัดการเครือข่ายในระดับชุมชนผ่านวิธีการ
ต่างๆ เช่น การศึกษาชุมชนและสภาพการณ์ภายในชุมชน ตลอดจนการสรุปบทเรียน
และการขยายกระบวนการเครือข่าย สำหรับการประเมินความเข้มแข็งรูปแบบ
เครือข่ายในด้านการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวและการเปรียบเทียบระหว่างวิธีการ
ดำเนินการแบบเดิมและวิธีดำเนินการแบบสร้างเครือข่ายพบว่า วิธีการแบบเดิม
ชุมชนดำเนินการแบบต่างคนต่างบริหารจัดการกันเอง มีข้อเสียคือ ชุมชนแต่ละแห่ง
จะไม่มีพลังอำนาจในการเสนอรูปแบบการท่องเที่ยวแบบหลากหลายและน่าสนใจ
ให้กับนักท่องเที่ยว สำหรับแบบพัฒนาเครือข่ายพบว่า เครือข่ายชุมชนมีองค์กรหรือ
กลไกในการทำงานเพื่อจัดการท่องเที่ยวและสามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับ
การพัฒนาชุมชนโดยรวมได้ โดยมีศูนย์กลางของข้อมูลเครือข่าย และชุมชนได้ใช้
ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีจุดเด่นของแต่ละแห่งในการให้บริการทางการท่องเที่ยว
ให้กับนักท่องเที่ยวให้มีผลประโยชน์ในด้านมูลค่าที่เพิ่มขึ้น
(3) รูปแบบเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เหมาะสมของสอง
ชุมชนการท่องเที่ยวประกอบด้วย การสร้างการเรียนรู้ระหว่างชุมชน การแลกเปลี่ยน
ความรู้ ประสบการณ์ ทักษะการทำงาน ใช้ทรัพยากรการท่องเที่ยวร่วมกันหรือเป็น
เส้นทางท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกัน ร่วมมือกันเพื่อวางแผนในการใช้ทรัพยากรและสร้าง
ความหลากหลายของรูปแบบและกิจกรรมการท่องเที่ยว ทำการตลาดร่วมกันเพื่อเป็น
การลดต้นทุนและกระจายผลตอบแทนอย่างทั่วถึง

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ปริวรรต สมนึก

ประธานหลักสูตรนวัตกรรมการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

References

จิตศักดิ์ พุฒจร และคณะ. (2552) การสร้างเครือข่ยการท่องเที่ยวโดยชุมชนใน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย.
ชุมชนการท่องเที่ยวบ้านทรายมูลและบ้านโพธิ์ศรี. (2558). สมุดเยี่ยมของชุมชนการ
ท่องเที่ยวบ้านทรายมูล และบ้านโพธิ์ศรี. (วันที่ 8สิงหาคม 2559]
ณัฐนาฎวีไลรัตน์ และวรรณกานต์ บุญสะอาด. (2557). การศึกษาความเป็นไปได้ใน
การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านทรายมูล. การศึกษาอิสระสาขาการ
ท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยลัยอุบลราชธานี.
ที่ทำการปกครองจังหวัดอุบลราชธานี. (2547). สถิติจำนวนประชากรและบ้านราย
ตำบล. อุบลราชธานี: ศลากลางจังหวัดอุบลราชธานี.
ทองใบ สุดชารี. (2549). การวิจัยธุรกิจ: ปฏิบัติการวิจัยนอกตำรา. อุบลราชธานี:
คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
นฤมล นิราทร. (2543). การสร้างเครื่อข่ายการทำงาน: ข้อควรพิจารณาบาง
ประการ. กรุงเทพฯ: โครงการระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดปัญหาการใช้
แรงงานเด็ก องค์การแรงงานระหว่างประเทศ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องน.พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุวีริยา
สาส์น.
บุญรักษ์ สมเทพ. (2559). ข้อมูลชุมชนบ้านทรายมูลและสมุดคู่มือเยี่ยมหมู่บ้าน.
บ้านทรายมูล ตำบลทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี.
ปริวรรต สมนึก. (2550). รูปแบบและแนวทางการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิง
นิเวศบนกาะภูกระแต ของชุมชนบ้านโดมประดิษฐ์ ชุมชนบ้านหนอง
มะเกลือ และชุมชนบ้านโนนกลาง ตำบลโนนกลาง อำเภอพิบูล
มังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงาน
กองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ปริวรรต สมนึก และคณะ. (2559) การสร้างรูปแบบเครีอข่ายการจัดการท่องเที่ยว
โดยชุมชนอย่งมีส่วนร่วมในเส้นทางการท่องเที่ยวตามริมน้ำโขงของ
จังหวัดอุบลราชธานี. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ประจำปีงบประมาณ
2558. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัย
อุบลราชธานี.
ปาริชาติ สถาปิตานนท์ และชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์. (2546). "สื่อสารกับสังคม
เครือข่าย," ใน เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตร 3 "การสร้าง
เครือข่ายที่มีพลัง" สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา. กรุงเทพฯ : สถาบันการ
เรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม.
พจนา สวนศรี. (2546. คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: โครงการ
ท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.
(2546). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. เอกสารประกอบการ
สอนวิชาการจัดการนั้นทนาการและการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ หน่วยที่
1-8. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ยุทธ์ ไกยวรณ์. (2545) พื้นฐานการวิจัย, พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯะ สุรริยาสาสน์
ระพี่พรรณ ทองห่อและคณะ. (2551). การสร้างเครีอข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน
ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในกลุ่มจังหวัดภาค
กลาง, รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วีระพล ทองมา และประเจต อำนาจ. (2547). ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการ
ท่องเที่ยวต่อประชาชนในพื้นที่ ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัด
เชียงใหม่. เชียงใหม่: ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
สินธุ์ สโรบล และคณะ. (2546). การท่องเที่ยวโดยชุมชน แนวคิดและ
ประสบการณ์พื้นที่ภาคเหนือ. เชียงใหม่ วนิดา เพรส.
สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2546) การท่องเที่ยวโดยชุมชน. เชียงใหม่:
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม. (2548). คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชนและ
บ้านพักโฮมสเตย์. เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์.
สุภางค์ ฉันทวนิช. (2550) ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี. (2559). โครงการช่วยเหลือในการ
พัฒนากลุ่มอาชีพของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี.
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี.
Nunnally, Jum C. (1978). Psychometric Theory. 2nd ed. New York:
McGraw-Hill.
Yamane Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Tokyo:
Harper International Edition.