คำเรียกข้าวและโลกทัศน์เกี่ยวกับข้าวในภาษาเวียดนาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
คำ เรียกข้าวในภาษาเวียดนามสามารถแบ่งประเภท
ตามลำดับความสัมพันธ์ทางความหมายออกเป็นคำเรียกข้าวบอก
หมวดและคำเรียกข้าวเฉพาะเจาะจง โดยพบคำเรียกข้าวบอกหมวด
5 คำ ได้แก่ คำเรียกข้าวที่หมายถึงพืช (lúa) คำเรียกข้าวที่หมายถึง
อาหาร (cơm) คำเรียกข้าวที่ไม่ใช่พืชไม่ใช่อาหาร (gạo) คำเรียก
ข้าวที่หมายถึงข้าวต้มสุก (cháo) และคำเรียกข้าวที่หมายถึง ข้าว
เหนียวนึ่งสุก (xôi) เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางความหมายแล้ว
พบว่า มีการแยกความแตกต่างทางความหมายของคำเรียกข้าวโดย
มิติแห่งความแตกต่างที่สำคัญ คือ มิติเรื่องความเป็นพืช และมิติ
เรื่องความเป็นอาหาร ซึ่งสะท้อนโลกทัศน์ของผู้พูดภาษาเวียดนาม
ที่มองว่า ข้าวที่มีรูปร่างลักษณะแตกต่างกัน เป็นสิ่งของคนละสิ่ง
กัน เห็นได้จากการที่มีคำเรียกข้าวบอกหมวดหลายคำ แตกต่างไป
จากภาษาไทยที่มองข้าวที่มีรูปลักษณ์แตกต่างกันเป็นสิ่งเดียวกัน
โดยใช้คำเรียกข้าวบอกหมวดเพียงคำเดียวในภาษาไทย ภาษา
เวียดนามยังมีการจำแนกคำเรียกข้าวเป็นประเภทย่อยอีกหลายคำ
ความหลากหลายของคำเรียกข้าวนี้ถือเป็นลักษณะร่วมของภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Article Details
References
เวียดนาม: วัฒนธรรมแห่งกลุ่มชาติพันธุ์อันหลากหลาย”
วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง 6,3 (ก.ย.-ธ.ค. 2553), หน้า 31-
46. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง คณะ
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พรลัดดา เมฆบัณฑูรย์. 2548. การศึกษาคำเรียกรสและทัศนคติ
เกี่ยวกับรสในภาษาจีนแต้จิ๋วตามแนวอรรถศาสตร์ชาติ
พันธุ์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะ
อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิจิตรา พาณิชย์กุล. 2547. การศึกษาชื่อและระบบการทอซิ่น
มัดหมี่ดั้งเดิมของคนไทพวน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัด
ลพบุรี ตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. วิทยานิพนธ์
มหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วาทิต พุ่มอยู่. 2548. การศึกษาคำเรียกข้าวและระบบมโนทัศน์
เรื่องข้าวในภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามแนว
อรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ภาควิชา
ภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เหงียน, จิ ธง. 2544. พจนานุกรมไทย-เวียดนาม = Tu Dien
Thai Lan-Viet. ก รุงเท พ ฯ : ส ถ าบัน เอ เชีย ศึก ษ า
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2538. คำเรียกสีและการรับรู้สีของชาว
จ้วงและชาวไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
อัญชลิกา ผาสุขกิจ. 2543. คำเรียกรสในภาษาไทยถิ่นตามแนว
อรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต
ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
Berlin, Brent. 1992. Ethnobiological Classification.
Princeton: Princeton University Press.
Berlin, Brent and Kay, Paul. 1969. Basic Color Terms:
their Universality and Evolution. Stanford, CA:
CLSI Publication.
Frake, Charles O. 1980. Language and Cultural
Description. Standford, CA: Stanford University
Press.
Nguyen, Nhu Y. 1999. Dai Tu Dien Tiean Viet. Ho Chi
Minh City: Nha Xuat Ban Van Hoa Thong Tin.
Nida, Eugene A. 1979. Componential Analysis of
Meaning: an Introduction to Semantic
Structures. The Hague: Mouton Publishing.
Prasithrathsint, Amara. 2001. A Componential Analysis
of Kinship Terms in Thai. Essays in Thai
Linguistics, edited by M.R. Kalaya
Tingsabadh and Arthur S. Abramson.
Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Slikkeveer, Darrell Addison. 1999. Cultural and Spiritual
Values of Biodiversity. London: United Nations
Environment Programme.