การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ้าย้อมคราม

Main Article Content

ชัยโรจน์ ธนสันติ
มาลี ไชยเสนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการ
ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าย้อมครามใน 4 จังหวัดภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และ
อุบลราชธานีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม
แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูล ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพ
การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าย้อมคราม โดยใช้แบบสอบถามกับ
กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คนสัมภาษณ์เชิงลึกสมาชิกกลุ่มทอผ้าย้อมคราม 4 คน
ขั้นตอนที่ 2 ร่างและทดลองใช้รูปแบบ โดยจัดสนทนากลุ่มแล้วนำร่างรูปแบบไป
ทดลองในกลุ่มที่เริ่มก่อตั้ง ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้
จากผู้ทรงคุณวุฒิ18 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐานส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าย้อมคราม
พบว่า มีการรวบรวมและจัดแสดงความรู้ที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชน การวิเคราะห์
องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าย้อมคราม
1) หลักการ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ อย่างเป็นระบบ 2) วัตถุประสงค์
เพื่อให้สมาชิกกลุ่มพัฒนาตนเองในการจัดการความรู้ 3) มีกระบวนการ
จัดการความรู้ 5 ขั้นตอน คือ (1) การบ่งชี้ความรู้ (2) การแสวงหาความรู้ (3)
การจัดเก็บความรู้ (4) การแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดความรู้ (5) การ
ประยุกต์ใช้ความรู้ และ 4) มีเงื่อนไขความสำเร็จ คือ (1) การมีภาวะผู้นำ (2)
วัฒนธรรมองค์กร ผลของการทดลองรูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญา
ท้องถิ่นผ้าย้อมคราม ในกลุ่มที่เริ่มก่อตั้ง จำนวน 16 คน มีความพึงพอใจใน
ระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.56 ผลการการประเมิน ความเหมาะสมและ
ความเป็นไปได้ ของผู้ทรงคุณวุฒิ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.81 และ
4.77 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ชัยโรจน์ ธนสันติ

นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

มาลี ไชยเสนา

รองศาสตราจารย์ประจำสาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2555). การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่ง
ผลิตภัณฑ์ไทย. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
กรมการพัฒนาชุมชน. (2555). โครงการสร้างนักธุรกิจ OTOP.
กรุงเทพฯ: ม.ท.ป.
นันทน อินทนนท์. (2546). ความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยทรัพย์สิน
ทางปัญญาและผลกระทบต่อภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสาร
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ.
142-180. กรุงเทพฯ: ม.ท.ป.
ประเวศ วะสี. (2530). การสร้างภูมิปัญญาไทยเพื่อการพัฒนา.
กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ฟ.
พัสราณี ทนุจันทร์. (2553). การบริหารจัดการกลุ่มอาชีพผ้าย้อมคร้าม
เทศบาลตำบลกุดบาก อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร.
การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พูนสุข หิงคานนท์. (2540). การพัฒนาการจัดรูปแบบการจัดองค์การ
ของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
วลัยลักษณ์ อริยสัจเวคิน. (2555). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
กรณีศึกษา: ผ้าจกคูบัว ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี.
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศิลปกร.
วัฒนา พุฒิชาติ. (2557). รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพ
ติดในหมู่บ้านชายแดนไทย-ลาว. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ศิริสุภา เอมหยวก และคณะ. (2550). รายงานการวิจัยการจัดการ
ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอผ้า บ้านคลองเตย ตำบลบึง
กอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. มหาวิทยาลัย
ราชภัฏพิบูลสงคราม.
สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
(2546). คู่มือย้อมสีธรรมชาติ ฉบับผู้รู้ท้องถิ่น โครงการฝ้าย
แกมไหม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมาน อัศวภูมิ. (2537). การพัฒนารูปแบบการบริหารการ
ประถมศึกษาระดับจังหวัด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงาน ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2548). คู่มือการ
จัดทำแผนการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ก.พ.ร.
และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
สุดารัตน์ ภัทรดุลพิทักษ์ และคณะ. (2548). รายงานการวิจัยเรื่อง
การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ้าฝ้ายย้อมสีเปลือกไม้
บ้านโนนศึกษา ตำ บลนาอุดม อำ เภอโพนทอง จังหวัด
ร้อยเอ็ด. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.